พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากร: การนำเงินอายัด/ประกันมาชำระหนี้รายที่ตกหนักที่สุดก่อน
ในการจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อบังคับเอาแก่ประชาชนผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรนั้น หน่วยงานที่จัดเก็บต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายในกรอบแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้ตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อการนี้รวมทั้งในเรื่องลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากรนั้น เมื่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาบังคับใช้และกรณีนี้ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้เสียภาษีอากร อันเป็นความรับผิดต่อรัฐตามกฎหมายภาษีอากรซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนที่มีบทลงโทษทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากรนี้จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฉะนั้นแม้จำเลยมิได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ศาลภาษีอากรกลางย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17
จำเลยเป็นลูกหนี้มีความผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย คือมีทั้งหนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้เบี้ยปรับ หนี้เงินเพิ่ม และหนี้ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ซึ่งมีประกันเท่าๆ กัน จึงต้องให้หนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ภาษีสรรพสามิตเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลย เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย หนี้ภาษีสรรพสามิตย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง จึงต้องนำเงินอายัดและเงินประกันมาหักชำระหนี้ภาษีสรรพสามิตก่อน
จำเลยเป็นลูกหนี้มีความผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย คือมีทั้งหนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้เบี้ยปรับ หนี้เงินเพิ่ม และหนี้ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ซึ่งมีประกันเท่าๆ กัน จึงต้องให้หนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ภาษีสรรพสามิตเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลย เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย หนี้ภาษีสรรพสามิตย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง จึงต้องนำเงินอายัดและเงินประกันมาหักชำระหนี้ภาษีสรรพสามิตก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากร: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นเอง และการให้หนี้ที่ตกหนักที่สุดได้รับการปลดเปลื้องก่อน
ในการจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อบังคับเอาแก่ประชาชนผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรนั้น หน่วยงานที่จัดเก็บต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายในกรอบแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้ตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อการนี้ รวมทั้งในเรื่องลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากรนั้น เมื่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาบังคับใช้ และกรณีนี้ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้เสียภาษีอากรตามกฎหมายภาษีอากรซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนที่มีบทลงโทษทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ลำดับการหักชำระหนี้ภาษีอากรนี้จึงเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การไว้ ศาลภาษีอากรกลางก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ในระหว่างหนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้เบี้ยปรับ หนี้เงินเพิ่ม และหนี้ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ซึ่งมีประกันเท่า ๆ กันนั้น หนี้ภาษีสรรพสามิตเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลย เพราะหนี้ภาษีสรรพสามิตมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย ฉะนั้น จึงต้องนำเงินที่อายัดและเงินประกันมาหักชำระหนี้ภาษีสรรพสามิตก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
ในระหว่างหนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้เบี้ยปรับ หนี้เงินเพิ่ม และหนี้ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ซึ่งมีประกันเท่า ๆ กันนั้น หนี้ภาษีสรรพสามิตเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลย เพราะหนี้ภาษีสรรพสามิตมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย ฉะนั้น จึงต้องนำเงินที่อายัดและเงินประกันมาหักชำระหนี้ภาษีสรรพสามิตก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5961/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีบรรจุสินค้าของการรถไฟฯ การยกเว้นภาษีและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์เป็นบุคคลผู้พึ่งชำระค่าภาษีอากร ตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และคดีของโจทก์มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรที่จะพิจารณาพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 7 (4) (ตามคำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาที่ ภษ.9/2545 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2545)
กิจการบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ได้รับสัมปทาน เป็นกิจการเพื่อรับส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และของอื่นๆ ซึ่งเป็นกิจการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่างๆ ภายในขอบของวัตถุประสงค์ที่ให้ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย มาตรา 6 (2) และ 9 (7) โรงเรือนพิพาท ซึ่งเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องสถานี เอ. ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งโจทก์ได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ประกอบการ เป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรงตามมาตรา 9 (2) แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีดังกล่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย การประเมินของจำเลยและคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 17.
(ซ้ำฎีกาที่ 8174 - 8178/2548(ป))
กิจการบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ได้รับสัมปทาน เป็นกิจการเพื่อรับส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และของอื่นๆ ซึ่งเป็นกิจการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่างๆ ภายในขอบของวัตถุประสงค์ที่ให้ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย มาตรา 6 (2) และ 9 (7) โรงเรือนพิพาท ซึ่งเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องสถานี เอ. ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งโจทก์ได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ประกอบการ เป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรงตามมาตรา 9 (2) แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีดังกล่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย การประเมินของจำเลยและคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 17.
(ซ้ำฎีกาที่ 8174 - 8178/2548(ป))
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการลดเบี้ยปรับเกินกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ลดไว้ โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับ
ในวันชี้สองสถานคู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกัน ศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงจากคำแถลงรับของคู่ความและเอกสารที่คู่ความนำส่งศาลเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับกันดังกล่าวและข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารที่จำเลยนำส่งต่อศาลมาวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันควรงดหรือลดเบี้ยปรับให้มากกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดให้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 20 ประกอบข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ข้อ 16 และ 21
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญญาจ้างทำของและการรับรองใบกำกับภาษี แม้ไม่มีต้นฉบับสัญญา
ต้นฉบับสัญญาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสี่คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ โจทก์จึงต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 และมาตรา 125 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 เมื่อโจทก์ไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง และมิใช่กรณีที่จะนำสำเนามาสืบแทนต้นฉบับได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 สำเนาสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานไม่ได้
สัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์มีสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับเป็นพยาน เมื่อฟังได้เช่นนี้จึงมีเหตุเชื่อได้ว่า โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินค่าจ้างจริง ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้เนื่องจากการรับเงินค่าจ้าง เป็นใบกำกับภาษีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงมิใช่ใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง เมื่อขณะออกใบกำกับภาษีนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับใบกำกับภาษีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์มีสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับเป็นพยาน เมื่อฟังได้เช่นนี้จึงมีเหตุเชื่อได้ว่า โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินค่าจ้างจริง ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้เนื่องจากการรับเงินค่าจ้าง เป็นใบกำกับภาษีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงมิใช่ใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง เมื่อขณะออกใบกำกับภาษีนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับใบกำกับภาษีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้ยื่นฟ้อง ทำให้ขาดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ถอนฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงยุติ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาตัดสินให้ราคาตามท้องตลาดที่โจทก์ฟ้องเป็นเกณฑ์ ชี้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า สินค้าแกนม้วนเส้นด้ายไม่ใช่ของที่ต้องสำแดงเพื่อเสียภาษีศุลกากร โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายที่โจทก์ที่ 1 กำหนดมาว่าไม่ถูกต้องตามราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องในจำนวนเงินราคาของแกนม้วนเส้นด้ายตามที่โจทก์ที่ 1 กำหนดแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับราคาของแกนม้วนเส้นด้ายว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่ เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การและนอกประเด็น และปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางยกปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งการวินิจฉัยโดยไม่ชอบดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งงดสืบพยานเมื่อพยานเอกสารเพียงพอ & การตีราคาสินทรัพย์/สินค้า (หุ้น) ทางภาษี
ในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางได้ตรวจคำฟ้อง คำให้การ คำแถลงของคู่ความตลอดจนพยานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีและให้คู่ความแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวแล้วจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ และเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ คำแถลงของคู่ความ และพยานเอกสารที่คู่ความส่งต่อศาลภาษีอากรกลางนั้นแสดงให้เห็นว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในหนังสือรับรอง และโจทก์บันทึกรายการซื้อหุ้นไว้ตามงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองไว้ จึงเพียงพอที่จะฟังยุติในอันที่จะวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทได้แล้วโดยไม่จำต้องให้พยานบุคคลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวอีก ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในงบดุลหมวดสินทรัพย์ โจทก์ได้บันทึกรายการหุ้นไว้ในเงินลงทุนในสถาบันการเงินอื่น แยกออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน หากโจทก์ต้องการซื้อหุ้นเพื่อขายในระยะสั้นอันถือเป็นสินค้า ก็ต้องบันทึกรายการหุ้นไว้ในสินทรัพย์หมุนเวียนโดยบันทึกเป็นรายการสินค้าคงเหลือด้วยการตีราคาสินค้าคงเหลือในวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แต่โจทก์ก็มิได้บันทึกรายการหุ้นไว้ในสินค้าคงเหลือแต่อย่างใด โจทก์ซื้อหุ้นธนาคาร ศ. มาจากบรรดาผู้มีชื่อแล้วถือไว้จนครบรอบระยะเวลาบัญชีในวันที่ 31 มีนาคม 2541 แสดงว่าโจทก์ซื้อหุ้นธนาคาร ศ. อันเป็นการลงทุนในสถาบันการเงินอื่นหรือเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งโจทก์จะได้รับประโยชน์เป็นเงินปันผลในระยะยาว หุ้นธนาคาร ศ. ที่โจทก์ถือไว้นั้นจึงเป็นสินทรัพย์ โจทก์ต้องตีราคาหุ้นตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์นั้นมาตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) การที่โจทก์ตีราคาหุ้นให้ลดลงจากราคาที่ซื้อครั้งแรกตามผลจากคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย อันมีผลทำให้มูลค่าหุ้นลดลง เข้าลักษณะเป็นค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง โจทก์ไม่สามารถนำมูลค่าหุ้นที่ลดลงมาถือเป็นรายจ่ายได้ เพราะต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (17)
ในงบดุลหมวดสินทรัพย์ โจทก์ได้บันทึกรายการหุ้นไว้ในเงินลงทุนในสถาบันการเงินอื่น แยกออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน หากโจทก์ต้องการซื้อหุ้นเพื่อขายในระยะสั้นอันถือเป็นสินค้า ก็ต้องบันทึกรายการหุ้นไว้ในสินทรัพย์หมุนเวียนโดยบันทึกเป็นรายการสินค้าคงเหลือด้วยการตีราคาสินค้าคงเหลือในวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แต่โจทก์ก็มิได้บันทึกรายการหุ้นไว้ในสินค้าคงเหลือแต่อย่างใด โจทก์ซื้อหุ้นธนาคาร ศ. มาจากบรรดาผู้มีชื่อแล้วถือไว้จนครบรอบระยะเวลาบัญชีในวันที่ 31 มีนาคม 2541 แสดงว่าโจทก์ซื้อหุ้นธนาคาร ศ. อันเป็นการลงทุนในสถาบันการเงินอื่นหรือเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งโจทก์จะได้รับประโยชน์เป็นเงินปันผลในระยะยาว หุ้นธนาคาร ศ. ที่โจทก์ถือไว้นั้นจึงเป็นสินทรัพย์ โจทก์ต้องตีราคาหุ้นตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์นั้นมาตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) การที่โจทก์ตีราคาหุ้นให้ลดลงจากราคาที่ซื้อครั้งแรกตามผลจากคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย อันมีผลทำให้มูลค่าหุ้นลดลง เข้าลักษณะเป็นค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง โจทก์ไม่สามารถนำมูลค่าหุ้นที่ลดลงมาถือเป็นรายจ่ายได้ เพราะต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (17)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้ แม้มิได้มีคำสั่งรับฟ้อง
ในการพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ถือว่าศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
ตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้อง มิได้มีข้อความระบุถึงการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว และกรณีถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเด็ดขาดแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มิใช่สั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ไม่ได้
ตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้อง มิได้มีข้อความระบุถึงการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว และกรณีถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเด็ดขาดแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มิใช่สั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้หากผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การตรวจรับคำฟ้องจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว