คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขอคืนภาษี: การตรวจสอบภาษียังไม่เสร็จสิ้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 และ 2542 ระบุผลการประกอบกิจการขาดทุนสุทธิทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาปฏิบัติดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และตามระบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรฯ ข้อ 21 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันออกหมายเรียก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอคืนภาษีขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาตรวจสอบดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีในการขยายเวลาฟ้องคดี และการหักค่าใช้จ่ายทางภาษีตามหลักเกณฑ์สิทธิ
ระยะเวลา 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าคำร้องของโจทก์ที่ขอขยายระยะเวลามีพฤติการณ์พิเศษ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจที่จะอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องจำเลยออกไปได้
โจทก์สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1220 เมื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนแล้ว โจทก์ยังอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่จะต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อเพิ่มทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1228 ดังนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนเป็นวันที่โจทก์เพิ่มทุนและรับชำระเต็มมูลค่าหุ้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยมิได้หักค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินไม่ชอบ ไม่นำค่าใช้จ่ายมารวมเป็นต้นทุนขายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ส่งหลักฐานรายจ่ายในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่างมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารนั้น จึงเชื่อได้ว่าเอกสารดังกล่าวแสดงรายจ่ายอันแท้จริงของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่นำค่าใช้จ่ายตามรายการดังกล่าวไปหักให้ย่อมเป็นการไม่ชอบ การประเมินภาษีเงินได้และคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การสำแดงราคาสินค้าเท็จ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ในชั้นชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ คือ 1. โจทก์มีอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 3. คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ 5. จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นในข้อ 2. และข้อ 5. เท่านั้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าจะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มที่ได้สำแดงเท็จไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจทำละเมิดให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไปแล้วพิพากษายกฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าต้องชำระค่าภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้น หากฟังได้ว่าจำเลยทราบเหตุดังกล่าว ก็จะมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะมิได้นำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างมาชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ก่อนอันจะถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้น หากจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริง และจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มแก่โจทก์เพียงใดเสียก่อน ถ้าหากมิได้เป็นหนี้ค่าภาษีอากรเพราะได้สำแดงราคาสินค้าถูกต้องตามราคาซื้อขายอันแท้จริงในท้องตลาดแล้ว จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินของห้างไปชำระให้แก่โจทก์ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจทราบแน่ชัดว่าห้างเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์หรือไม่ เพียงใด แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นแล้วอันเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยในประเด็นที่ 1. และประเด็นที่ 3. ที่ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเองได้ก็ตามแต่เพื่อให้คดีมีการตรวจสอบดุลพินิจเป็นไปตามลำดับชั้นศาล จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและผลของคำพิพากษาโมฆะนิติกรรมต่อการฟ้องเรียกค่าภาษี
คดีก่อนจำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปัตตานี ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมเข้าหุ้นส่วนของจำเลยที่ 3 เป็นโมฆะและศาลจังหวัดปัตตานีพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ คำพิพากษาดังกล่าวมิใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล หากแต่เกี่ยวด้วยนิติกรรมที่จำเลยที่ 3 กระทำ คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (1)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะที่เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้ที่จะต้องเสียภาษีอากร ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินมีหน้าที่เพียงแต่หมายเรียก ตรวจสอบไต่สวน และ แจ้งการประเมินจำเลยที่ 1 ไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หาจำต้องส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินไปให้จำเลยที่ 3 และผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นด้วยไม่ เมื่อโจทก์ออกหมายเรียกและแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว การหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรงโจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แต่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์นำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวเหตุอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้
หมายเหตุ ในคดีภาษีอากร ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้แก่คู่ความได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534(ประชุมใหญ่) ระหว่าง นายสนิท วัฒนากรในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจรูญวัฒนากร โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้รับการยอมรับ
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรง โจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แก่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์จึงนำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่พ้นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวของอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันพ้นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9569/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อน จึงจะสามารถฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 ได้วางข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีตามมาตรา 7 (1) ต่อศาลภาษีอากรไว้ซึ่งเป็นการห้ามบุคคลทุกคน หามีข้อยกเว้นให้กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และขณะที่โจทก์ฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์แจ้งการประเมิน ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะต้องร่วมรับผิดด้วยอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลภาษีอากรกลางตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย, คำสั่งศาลที่คลาดเคลื่อน, และการขยายเวลา
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 10
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีไม่แน่นอน โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่ง ของเจ้าพนักงานประเมินได้ หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้วได้ไม่ แม้การที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนี้ยังไม่แน่นอน แม้มีการอุทธรณ์ ไม่ถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินได้หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แม้ว่าการที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 23