คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีภาษี: การฟ้องเรียกหนี้เดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการขาดอำนาจฟ้อง
ฟ้องของกรมสรรพากรโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมว่า จำเลยต้องรับผิดชำระภาษีการค้าพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ ซึ่งในคดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ชำระภาษีการค้าจำนวนเดียวกันพร้อมเงินเพิ่มอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด และผลกระทบต่อการนำสืบพยานในคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถานไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะได้ความว่าทนายโจทก์ติดว่าความจริงจนไม่อาจมาศาลได้ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการชี้สองสถาน จึงชอบแล้ว
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเพราะไม่มีพยานมาสืบ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชอบเนื่องจากเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจตามกฎหมายทนายความและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตหรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลรวมทั้งเรียงคำฟ้องและคำให้การ การที่จำเลยยื่นคำให้การระบุว่า ส. ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แต่มิได้ยื่นใบแต่งทนายความหรือแสดงพยานหลักฐานว่า ส. เป็นทนายความ จึงยังไม่ชัดเจนว่าคำให้การของจำเลยชอบหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้จำเลยแสดงหลักฐานการเป็นทนายความ จึงเป็นการสั่งเพื่อตรวจคำให้การของจำเลยหาใช่สั่งให้ส่งเอกสารที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงหลักฐานการเป็นทนายความของ ส. ภายในเวลาที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนด จึงถือว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจเป็นคำให้การไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
++ เรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมการที่ศาลภาษีอากรเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบ โดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรม จึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบก็ตาม กรณีหาอาจถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปไม่
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับระยะเวลานั้น ป.พ.พ. มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน..." ดังนั้น วันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา39 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษีท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์ แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือนเมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8315/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี เกินกำหนดอายุความ การขายทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด และการหักลดหย่อนภาษีที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2531 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 และยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2531 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2532 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบภาษีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แบบภ.ง.ด.51 และแบบแสดงรายการการค้า ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นและชอบด้วยกฎหมาย
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น และได้บัญญัติอยู่ในหมวด 4 ภาษีการค้าส่วนที่ 7 ว่าด้วยอำนาจเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ คือ (1)ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือ (2) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 ภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 85 ทวิและเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
สิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันยื่นแบบ ภ.ง.ด.50และแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นการแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในอายุความ
โจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่บริษัท ส.ต่ำกว่าราคาตลาดโดย ฉ.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดิน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของโจทก์พิจารณาอนุมัติให้ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่ผู้ซื้อ และเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท ส.พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่ดินพร้อมโรงงานจากโจทก์ โจทก์และผู้ซื้อจึงมีความเกี่ยวพันกัน ทั้งโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องขายที่ดินพร้อมโรงงาน จึงถือว่าโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินในปัญหาว่าโจทก์ขายสบู่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ปัญหานี้ โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินในปัญหานี้ไม่ถูกต้องหาได้ไม่
กรณีที่จะถือว่าการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยมีเหตุอันสมควรนั้น ต้องมีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของผู้ประกอบกิจการเช่นนั้นเกิดขึ้น มิใช่เหตุการณ์ปกติทางการค้าส่งผลให้การประมาณการผิดพลาดไป การที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 สูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว มิใช่เหตุผลจะอ้างได้ว่าโจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปโดยมีเหตุอันสมควร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างปี 2523 ถึงปี 2528 รวม 16แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 319 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา และโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักรเป็นโรงงานผลิตสุรา โจทก์เริ่มผลิตสุราจำหน่ายในปี 2529ต่อมาโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานไปในปี 2531 กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูง โจทก์จึงต้องวางแผนและศึกษาโครงการพร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้วอย่างดี จึงไม่อาจอ้างได้ว่ามีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของน้ำเสียและโจทก์ไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะทำการแก้ปัญหาดังกล่าว พฤติการณ์การซื้อที่ดินของโจทก์และก่อสร้างโรงงานแล้วขายไปดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางการค้า โจทก์จึงต้องนำรายได้มาลงเป็นรายรับเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้า เมื่อโจทก์มิได้นำรายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2531ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภาษีการค้าภายในกำหนดอายุความ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอางมิได้ประกอบกิจการค้าขายที่ดิน จึงมีเหตุให้โจทก์เข้าใจได้ว่า การขายที่ดินพร้อมโรงงานของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ถูกต้องครบถ้วนเว้นแต่รายรับจากการขายที่ดินพร้อมโรงงานเท่านั้น การที่โจทก์มิได้ลงรายรับดังกล่าว จึงมิใช่เพราะโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าให้โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท เป็นภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้และตามแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524ที่โจทก์จ่ายเมื่อปี 2528 ถึงปี 2530 โจทก์นำมาถือจ่ายเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2529 ถึงปี 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จึงปรับปรุงให้ถือจ่ายตามรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายจริง รายจ่ายเหลื่อมปีดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามแต่จำเลยทั้งสี่กลับนำสืบว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี2524 ที่ค้างชำระรวมจำนวน 986,131.36 บาท มาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แต่โจทก์แสดงจำนวนภาษีที่ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531เกินกว่าจำนวนที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 ดังกล่าว เป็นเงิน722,698.58 บาท จึงถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9) แต่ก็คนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำสืบตามประเด็นข้อพิพาท และต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ภาษีเงินได้และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท มิใช่ภาษีที่โจทก์ชำระเหลื่อมปี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
ปรากฏจากคำฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์รวม 3 ฉบับ เป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (ครึ่งปี) 1 ฉบับ ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี) 1 ฉบับ และประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 อีก 1 ฉบับจึงเป็นกรณีที่โจทก์ถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 มีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2531 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (เต็มปี)อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 เป็นการประเมินภาษีคนละประเภทกันและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองประเภทมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8315/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลายประเภท การรวมฟ้อง การงดเบี้ยปรับ และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2531 เมื่อวันที่ 29สิงหาคม 2531 และยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2531 เมื่อวันที่ 2มิถุนายน 2532 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบภาษีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50แบบ ภ.ง.ด.51 และแบบแสดงรายการการค้า ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นและชอบด้วยกฎหมาย
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น และได้บัญญัติอยู่ในหมวด 4 ภาษีการค้าส่วนที่ 7 ว่าด้วยอำนาจเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ คือ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือ (2) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 ภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 85 ทวิ และเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
สิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31 เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันยื่นแบบภ.ง.ด.50 และแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นการแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในอายุความ
โจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่บริษัท ส. ต่ำกว่าราคาตลาดโดย ฉ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดิน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของโจทก์พิจารณาอนุมัติให้ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่ผู้ซื้อ และเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท ส. พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่ดินพร้อมโรงงานจากโจทก์ โจทก์และผู้ซื้อจึงมีความเกี่ยวพันกัน ทั้งโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องขายที่ดินพร้อมโรงงาน จึงถือว่าโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินในปัญหาว่าโจทก์ขายสบู่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ปัญหานี้ โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินในปัญหานี้ไม่ถูกต้องหาได้ไม่
กรณีที่จะถือว่าการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยมีเหตุอันสมควรนั้น ต้องมีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของผู้ประกอบกิจการเช่นนั้นเกิดขึ้นมิใช่เหตุการณ์ปกติทางการค้าส่งผลให้การประมาณการผิดพลาดไปการที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531สูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว มิใช่เหตุผลจะอ้างได้ว่าโจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปโดยมีเหตุอันสมควร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างปี 2523 ถึงปี 2528 รวม16 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 319 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา และโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารโรงงานติดตั้งเครื่องจักรเป็นโรงงานผลิตสุราโจทก์เริ่มผลิตสุราจำหน่ายในปี 2529 ต่อมาโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานไปในปี 2531 กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูง โจทก์จึงต้องวางแผนและศึกษาโครงการพร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้วอย่างดี จึงไม่อาจอ้างได้ว่ามีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของน้ำเสียและโจทก์ไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะทำการแก้ปัญหาดังกล่าว พฤติการณ์การซื้อที่ดินของโจทก์และก่อสร้างโรงงานแล้วขายไปดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางการค้า โจทก์จึงต้องนำรายได้มาลงเป็นรายรับเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าเมื่อโจทก์มิได้นำรายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2531 ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภาษีการค้าภายในกำหนดอายุความตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอางค์มิได้ประกอบกิจการค้าขายที่ดิน จึงมีเหตุให้โจทก์เข้าใจได้ว่า การขายที่ดินพร้อมโรงงานของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ถูกต้องครบถ้วนเว้นแต่รายรับจากการขายที่ดินพร้อมโรงงานเท่านั้น การที่โจทก์มิได้ลงรายรับดังกล่าว จึงมิใช่เพราะโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าให้โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท เป็นภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้และตามแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524 ที่โจทก์จ่ายเมื่อปี 2528 ถึงปี 2530 โจทก์นำมาถือจ่ายเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2529 ถึงปี 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงปรับปรุงให้ถือจ่ายตามรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายจริง รายจ่ายเหลื่อมปีดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่จำเลยทั้งสี่กลับนำสืบว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524 ที่ค้างชำระรวมจำนวน 986,131.36 บาทมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แต่โจทก์แสดงจำนวนภาษีที่ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531เกินกว่าจำนวนที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531ดังกล่าวเป็นเงิน 722,698.58 บาท จึงถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)แต่ก็คนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำสืบตามประเด็นข้อพิพาท และต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ภาษีเงินได้และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท มิใช่ภาษีที่โจทก์ชำระเหลื่อมปี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
ปรากฏจากคำฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์รวม 3 ฉบับ เป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(ครึ่งปี)1 ฉบับประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี)1 ฉบับ และประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 อีก1 ฉบับ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 มีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปีจำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกันส่วนการประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531เป็นการประเมินภาษีคนละประเภทกันและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองประเภทมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การประมาณการรายได้ และเบี้ยปรับตามมาตรา 67 ทวิ และ 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ทำให้เจ้าพนักงานของโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากรมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่ากัน นอกจากนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ตรี
ข้อความในมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร มีความหมายชัดเจนว่า บทมาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ หรือเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 23 แต่ประการใด เมื่อกรณีตามฟ้องมิใช่เรื่องการไม่ยื่นรายการและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และมาตรา 24 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จำเลยรายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมาเป็นคดีเดียว แม้กรณีจะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายหนหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป. รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตามฟ้องของโจทก์จึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชี คือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยดำเนินกิจการและมีผลประกอบการแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7758/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขอเงินชดเชยภาษีอากร, การโอนบัตรภาษีโดยไม่ชอบ, ความรับผิดร่วมกันของจำเลยในการชดใช้เงินและดอกเบี้ย
ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 24 การนับเวลา ยื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 และสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ตามมาตรา 193/5 โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 28 สิงหาคม 2541 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 มิได้ส่งสินค้าตามใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้า 22 ฉบับ ออกไปนอกราชอาณาจักร แต่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการหลอกลวงโจทก์ โดยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่อ้างว่าส่งออกตามใบขนสินค้าขาออกฯ ดังกล่าวจนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของ บัตรภาษี จำเลยที่ 3 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน จำเลยที่ 3 จึงได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชย ค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 3 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
จำเลยที่ 3 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทน โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 แต่ฟ้องคดีวันที่ 5 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึง ขาดอายุความ จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมูลละเมิดหรือไม่เท่านั้น เมื่อคดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ฟังได้ว่าเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ลาภมิควรได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ลาภมิควรได้สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยที่ 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17, 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า เอกสารชุดคำขอที่โจทก์อ้างส่งเป็นเอกสารที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับบัตรภาษีและนำบัตรภาษีของโจทก์ไปใช้แล้วนั้น เป็นคำแก้อุทธรณ์ที่ขัดกับคำให้การของจำเลยที่ 3 จึงเป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 รับไปจากโจทก์ จึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาตามที่กำหนดไว้ในบัตรภาษีให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น และโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็น ผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนบัตรภาษีดังกล่าว หากคืนไม่ได้ก็ต้องชดใช้ราคาและตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่รับบัตรภาษี
แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษีเพราะมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นมูลหนี้ลาภมิควรได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ให้คืนบัตรภาษีเมื่อใด ถือว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 คืนบัตรภาษีนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการไม่โต้แย้งการประเมินตามกำหนด
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การประเมินราคาที่ดิน, รายได้จากการขายหุ้น, และการหลีกเลี่ยงภาษี
ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าทนายความคนก่อนขอถอนตัวยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ จำเลยแถลงคัดค้านว่าได้เตรียมพยานมาพร้อมแล้วไม่ควรให้เลื่อน ศาลภาษีอากรกลางให้เลื่อนสืบพยานจำเลยไปวันที่ 6 พฤศจิกายน 2541 ครั้นถึงวันนัด โจทก์ขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าโจทก์เพิ่งแต่งตั้งทนายความคนใหม่แทนทนายความคนก่อนที่ถอนตัว คดีมีเอกสารมาก ทนายความคนใหม่ไม่สามารถซักค้านพยานจำเลยได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่ศาลภาษีอากรกลางได้ให้โอกาสโจทก์เลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว แม้โจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ก็ชอบที่ทนายความคนใหม่เตรียมคดีให้พร้อมก่อนวันนัด หาใช่นำเอาเหตุแห่งการแต่งตั้งทนายความคนใหม่มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภาษีอากรกลาง พฤติการณ์ของโจทก์ จึงเป็นการประวิงคดี ทั้งคดีได้ความว่าทนายความคนใหม่ก็ได้ซักค้านพยานจำเลยทุกปากที่สืบไปครบถ้วนแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจึงชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.และตารางหนึ่งท้าย ป.วิ.พ.หาได้มีบทบังคับว่าในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่ แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใด จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้จึงเป็นคำฟ้องและฟ้องอุทธรณ์หลายข้อหาซึ่งแต่ละข้อหาสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี และจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีดังกล่าวรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้อง อุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
โจทก์ซื้อที่ดินจำนวน 66 โฉนด รวมเนื้องที่ 1128 ตารางวาและซื้อที่ดินอีกส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 1051 เนื้อที่ 189 ตารางวาจากบริษัท ส.แล้วเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานถึง 9 ปี และลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า51,000,000 บาท ก่อสร้างอาคารประกอบกิจการศูนย์อาหาร และต่อมาประสงค์จะขายต่อเอากำไร ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วขายไปโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 และ 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องไปในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยมิได้นำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองก็รู้ดีว่า โจทก์ขายที่ดินไปในทางการค้าหรือหากำไร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการค้า แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ยื่นชำระภาษีการค้าเนื่องจากไม่เข้าใจข้อกฎหมายดีพอเชื่อได้ว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร และได้ให้ความร่วมมือในชั้นตรวจสอบด้วยดีจึงมีเหตุอันควรผ่อนผันลดเบี้ยปรับภาษีการค้าลงคงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายก็ดี ก็เป็นความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หามีผลผูกพันให้ศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2)
การประเมินภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เมื่อการโอนนั้นมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (6) สำหรับค่าตอบแทนการโอนที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเท่ากับราคาตารางวาละ 25,000 บาท นั้นเป็นการคิดคำนวณจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ส.บวกด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12 ต่อปี นับแต่วันที่บริษัท ส.ได้รับเงินไป ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่ใช่ราคาตลาดของที่ดิน และเป็นการขายทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดราคาที่ดินตารางวาละ 160,000 บาท โดยเทียบเคียงกับราคาที่ดินซึ่งมีทำเลที่แตกต่างจากที่ดินตามฟ้องเป็นอย่างมาก และนำเอาจำนวนมูลค่าการลงทุนในศูนย์อาหารของโจทก์ ซึ่งต่อมาได้มีการรื้อถอนทิ้งรวมเข้าไปในการคำนวณด้วย ก็เป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่ราคาตลาด
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสาม เมื่อโจทก์ขายหุ้นแล้วมิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าได้มีการโอนหุ้นไปแล้ว เพื่อใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์จึงต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
of 23