คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1327

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานศุลกากรต่อการสูญหายของสินค้าที่ยึดไว้เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าของโจทก์ไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระราคา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากความผิดทางอาญา: การขอคืนทรัพย์สินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และข้อยกเว้นระยะเวลา
ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดที่จะตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 นั้น หมายถึงทรัพย์สินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเก็บรักษาไว้โดยไม่มีการฟ้องร้องต่อศาล หรือหากมีการฟ้องร้องก็ต้องเป็นกรณีที่ศาลมิได้พิพากษาให้ริบหรือสั่งคืนทรัพย์สินของกลางให้แก่เจ้าของ ทั้งนี้เพราะมาตรา 1327 อยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 และ 36 บัญญัติเรื่องนี้ว่า ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการเรียกเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1327 วรรคหนึ่ง กับการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอทรัพย์สินที่ถูกริบคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกัน หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่บทขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเพิ่งทราบว่าทรัพย์สินของตนถูกศาลพิพากษาให้ริบหลังจากคดีถึงที่สุดแล้ว ระยะเวลายื่นคำร้องขอคืนของกลางก็ไม่ผ่อนเวลาออกไปเป็น 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดเพื่อสิทธิในมรดก ศาลพิจารณาจากคำให้การและพยานหลักฐานประกอบ
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้านสำเนาทะเบียนนักเรียนใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่2และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่าบิดาโจทก์ชื่อถ. ก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้นจะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของถ.หรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย โจทก์เบิกความยอมรับว่าถ. ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์คือน. กับก. การที่โจทก์ฎีกาว่าเหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความโจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่าและฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้นเมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิในมรดก: พยานหลักฐานขัดแย้ง การเบิกความยอมรับข้อเท็จจริง และอายุความ
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของ ถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่ 2 และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อ ถ. ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้น จะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่ เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ. ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น. กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความ โจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่าและฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ของกลางที่มิได้ตกเป็นของแผ่นดิน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน
มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา3 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มิได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล เพราะกำหนดระยะเวลาเรียกคืนสิ่งที่ยึดไว้ภายใน 60 วัน หรือ 30 วันแล้วแต่กรณีนับแต่วันยึดอย่างเดียว หากประสงค์จะให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยก็น่าจะกำหนดระยะเวลาเรียกร้องขอส่งคืนสิ่งที่ยึดนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดไว้ด้วย
พนักงานศุลกากรยึดรถยนต์พิพาทไว้เพราะมีผู้นำของซุกซ่อนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวโดยมิได้ขอให้ริบรถยนต์พิพาท เมื่อรถยนต์พิพาทมิได้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร กรณีการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้นไม่มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากร อีกทั้งรถยนต์พิพาทยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม มาตรา 1327 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมศุลกากร จำเลยที่1 จึงไม่มีอำนาจยึดรถนั้นไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมคืนรถให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาท จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ตนได้กระทำส่วนการที่โจทก์ทั้งสองจะนำรถยนต์พิพาทไปรับส่งผู้โดยสารโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการทำละเมิดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน การเสื่อมราคาถ้าหากจะมีบ้างก็เป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกลื่อนกลืนไปกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ทั้งสองขาดรายได้จากการใช้รถในระยะเวลาเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา: ความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการนัดไต่สวน
ผู้ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีอาญาศาลนัดให้มาฟังกำหนดวันนัดไต่สวน ผู้ร้องไม่มาแลศาลสั่งให้จำหน่ายคดีเสียนั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางที่ถูกริบ ศาลต้องไต่สวนตามกระบวนการ แม้ผู้ร้องไม่มานัดฟังกำหนดวันไต่สวน
ผู้ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีอาญา ศาลนัดให้มาฟังกำหนดวันนัดไต่สวนผู้ร้องไม่มาและศาลสั่งจำหน่ายคดีเสียนั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของกลางที่ยังไม่ทราบเจ้าของ: การรักษาของกลางและการพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์
ของกลางที่จับมาโดยเกี่ยวกับการกระทำผิดนั้น ถ้ายังไม่ปรากฏตัวเจ้าของอันแท้จริง ให้เจ้าพนักงานรักษาไว้ภายใต้บังคับแห่งประมวลแพ่งฯ ม.1327