คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 52 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้สนับสนุนการกระทำผิดคดียาเสพติด: โทษจำคุกตลอดชีวิตเทียบเท่าสองในสามของโทษประหารชีวิต
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ที่กระทำความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ซึ่งศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่ 1 ก่อนลดโทษให้ประหารชีวิต ดังนั้น โทษสองในสามส่วนของโทษประหารชีวิตจึงเท่ากับจำคุกตลอดชีวิต เทียบ ป.อ. มาตรา 52 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดฐานนี้ก่อนลดโทษ ให้จำคุกตลอดชีวิตโดยไม่ลงโทษปรับ และมิได้เพิ่มโทษปรับจำเลยที่ 2 ด้วย จึงชอบแล้ว เพราะศาลอุทธรณ์ไม่ได้ลงโทษสองในสามส่วนของโทษจำคุกที่ต้องลงโทษปรับด้วยเสมอตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 152

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้กระทำความผิดและการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
กรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดในคดีนี้ จำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ จึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 75 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดอันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษหลายกระทง, ลดโทษที่ถูกต้อง, และการลงโทษปรับควบคู่จำคุกในคดีอาญา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เพิ่งจะบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แต่คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยทั้งสองซึ่งมีอายุ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ย้อนหลังดังนั้น การสอบสวนและจัดทำบันทึกการสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมย่อมชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นแล้ว
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4292/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและแผนประทุษกรรม
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่ 1 ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ประชุมวางแผน ลงมือฆ่า ปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่ 1 ไปซ่อน แล้วจำเลยที่ 1 ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตี และจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตาย แสดงถึงความสำนึกผิด และจำเลยที่ 1 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ ส่วนจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนี กับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่ 3 ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การ และจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ.ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วย นอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น. ร. กับ อ.ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ขอให้ น.นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 วานให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4292/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและแผนประทุษกรรม
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุแต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่1ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่2และที่3ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่1ประชุมวางแผนลงมือฆ่าปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่1ไปซ่อนแล้วจำเลยที่1ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตีและจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพทั้งจำเลยที่1ที่2ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตายแสดงถึงความสำนึกผิดและจำเลยที่1ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ส่วนจำเลยที่2ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนีกับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่3ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การและจำเลยที่2ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ. ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วยนอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น.ร.กับ อ. ยืนยันว่าจำเลยที่2ที่3เป็นผู้ขอให้ น. นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่2ที่3พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่1วานให้จำเลยที่2ที่3ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าบิดา: การลดโทษตามกฎหมายและขอบเขตการลงโทษขั้นต่ำ
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(1) ประกอบกับมาตรา 80 ซึ่งมาตรา 289 บัญญัติโทษไว้สถานเดียวคือประหารชีวิตเมื่อลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(1)แล้ว จึงต้องวางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพศาลลดโทษให้อีกกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 คงจำคุกจำเลย 25 ปี เป็นการถูกต้องแล้วและเป็นการลงโทษต่ำสุดเท่าที่กฎหมายกำหนด ไม่อาจลดโทษลงได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากอาวุธร้ายแรงและการกระทำต่อเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
จำเลยทั้งสองไล่ตามผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาถึงที่เกิดเหตุและขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 ได้เข้าไปนั่งรวมอยู่ในกลุ่มของผู้เสียหายที่ 3 ถึงที่ 6 แล้ว จำเลยทั้งสองตามมาถึงโดยอยู่ห่างไปประมาณ 2 วา พร้อมกับใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้เสียหายทันที เมื่อปรากฏว่าอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้น และยิงในระยะใกล้ชิดเช่นนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยตรง มิใช่เป็นการกระทำโดยพลาด ผู้เสียหายที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่งเครื่องแบบถูกยิงขณะที่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ว่าถูกคนร้ายไล่ยิง และผู้เสียหายที่ 3 กำลังสอบปากคำผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2เพื่อติดตามจับกุมคนร้าย ถือว่าผู้เสียหายที่ 3 ที่ 4 ถูกยิงขณะปฏิบัติหน้าที่ การที่จำเลยทั้งสองไล่ตามผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2มาจนถึงที่เกิดเหตุสามารถมองเห็นผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ซึ่งแต่งเครื่องแบบตำรวจได้ชัดเจน ก็ย่อมทราบได้ทันทีว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 หลบหนีเพื่อมาขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่จำเลยทั้งสองก็ยังยิงปืนใส่กลุ่มผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายที่ 4 และที่ 5 ได้รับอันตรายแก่กายสาหัส จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้เสียหายที่ 6 ร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 5และร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนัก ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2),80 แต่มิได้ปรับบทลงโทษมาด้วย และที่ศาลชั้นต้นลดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ปรับบทตามมาตรา 52(1) เป็นการไม่ถูกต้องชัดแจ้ง แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากพยายามฆ่าโดยมีเหตุบรรเทาโทษ และการคำนวณโทษจำคุกตามมาตราต่างๆ ของประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) ต้องระวางโทษประหารชีวิต เมื่อเป็นการพยายามกระทำความผิดซึ่งต้องระวางโทษสองในสามส่วน เท่ากับลดมาตราส่วนโทษลงหนึ่งในสาม จึงลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 52(2) มีเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 ลดโทษที่จะลงอีกหนึ่งในสาม ต้องเปลี่ยนโทษจำคุก 50 ปีตามมาตรา 53 คำนวณแล้วคงจำคุก 33 ปี 4 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานปล้นทรัพย์และทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วย มาตรา 340 ตรี ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่22 ปี 6 เดือน ถึง 30 ปี เป็นบทที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80,52(1) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษ ตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ จึงพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท: ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ต้องมีคู่ความอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นนั้น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ซึ้งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 22 ปี 6 เดือน ถึง 30 ปี เป็นบทที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80, 52 (1) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
of 2