พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกความผิดระหว่างลักทรัพย์กับยักยอกทรัพย์ กรณีทรัพย์สินอยู่ในความดูแลของผู้อื่น
จำเลยเป็นคนงานของกรมทาง ผู้บังคับบัญชาใช้ให้จำเลยเฝ้าฟืนหลาของกรมทางไว้ไม่ให้เป็นอันตรายสูญหาย ดังนี้ถือว่าฟืนหลานั้นไม่ได้อยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลยแต่อยู่กับผู้บังคับบัญชาจำเลย ฉะนั้นเมื่อจำเลยเอาฟืนหลานั้นไปโดยทุจริตจำเลยก็ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำรุงท้องที่เป็นเงินของแผ่นดิน ยักยอกเป็นความผิดทางอาญา ไม่ต้องรอการร้องทุกข์
เงินบำรุงท้องที่เป็นเงินที่ทางรัฐให้เรียกเก็บเพื่อใช้จ่ายบำรุงความผาสุกของราษฎรในท้องที่ ผู้ใดไม่เสียเจ้าพนักงานอาจยึดทรัพย์สินมาขายทอดตลาดเอาเงินชำระได้ฉะนั้นเมื่อเจ้าพนักงานเรียกเก็บเงินนี้มาจากราษฎรได้แล้ว เงินนี้ก็เป็นเงินของแผ่นดินหาใช่เงินของราษฎรที่เสียภาษีแต่ละคนไม่ และเมื่อสมุห์บัญชีอำเภอรับเงินนี้ไว้จากราษฎรในฐานที่เป็นสมุห์บัญชีอำเภอสมุห์บัญชีอำเภอก็มีหน้าที่รับผิดชอบปกครองดูแลรักษาเงินนี้ไว้เมื่อสมุห์บัญชีอำเภอยักยอกเงินนี้ไป ก็ย่อมมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 และในการดำเนินคดี ก็ไม่จำต้องให้ราษฎรเจ้าของเงินมาร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องฐานฉ้อโกง: การบรรยายความผิดฐานฉ้อโกงต้องชัดเจนและครบถ้วน
ฟ้องบรรยายว่า "วันที่ 8 ก.พ. 93 เวลากลางวัน จำเลยกล่าวเท็จหลวงลวงโจทก์ว่า มีคนต้องการซื้อผ้า จำเลยขอรับผ้าไปถ้าขายได้จะนำเงินมาให้ ถ้าขายไม่ได้จะนำผ้ามาคืนในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โจทก์หลงเชื่อ จึงมอบผ้าให้จำเลยรับไป ครั้งถึงวันเวลากำหนด จำเลยไม่นำเงินหรือผ้ามาคืน" และในตอนท้ายบรรยายว่า "ในระหว่างวันที่ 8 - 9 ก.พ.93 เวลาใดไม่ปรากฎ จำเลยมีเจตนาทุจริต ยักยอกทรัพย์รายนี้" ดังนี้ เป็นฟ้องที่โจทก์มุ่งหมายบรรยายหนักไปทางว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ไม่เป็นฟ้องเคลือคลุม และสมบูรณ์ เป็นฟ้องฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกง: การบรรยายฟ้องที่มุ่งเน้นเจตนาทุจริตและความครบถ้วนขององค์ประกอบความผิด
ฟ้องบรรยายว่า "วันที่ 8 ก.พ. 93 เวลากลางวัน จำเลยกล่าวเท็จหลอกลวงโจทก์ว่า มีคนต้องการซื้อผ้า จำเลยขอรับผ้าไปถ้าขายได้จะนำเงินมาให้ ถ้าขายไม่ได้จะนำผ้ามาคืนในวันที่ 9 เดือนเดียวกันโจทก์หลงเชื่อ จึงมอบผ้าให้จำเลยรับไป ครั้นถึงวันเวลากำหนด จำเลยไม่นำเงินหรือผ้ามาคืน" และในตอนท้ายบรรยายว่า " ในระหว่างวันที่ 8-9 ก.พ. 93 เวลาใดไม่ปรากฏ จำเลยมีเจตนาทุจริต ยักยอกทรัพย์รายนี้ " ดังนี้ เป็นฟ้องที่โจทก์มุ่งหมายบรรยายหนักไปทางว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม และสมบูรณ์ เป็นฟ้องฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดชัดเจน และการหลอกลวงขายของเป็นความผิดตามกฎหมาย
ฟ้องหาว่า จำเลยยักยอกทรัพย์ แต่มิได้ระบุวันเวลาที่กล่าวหา เป็นแต่ระบุเดือนปีที่กล่าวหาทั้งเดือน และไม่ได้บรรยายด้วยว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใดๆ นั้นศาลย่อมไม่รับพิจารณาข้อหาฐานยักยอกทรัพย์
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ โจทก์หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวว่าหลงเชื่อว่าอย่างไรก็พอเข้าใจได้ว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบฟ้องอีกข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าจำเลย ปรากฏว่าสิ่งของทั้งหมดไม่มีอยู่ในร้าน ถามจำเลยจำเลยว่าของเหล่านี้เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ โจทก์หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวว่าหลงเชื่อว่าอย่างไรก็พอเข้าใจได้ว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบฟ้องอีกข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าจำเลย ปรากฏว่าสิ่งของทั้งหมดไม่มีอยู่ในร้าน ถามจำเลยจำเลยว่าของเหล่านี้เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีความผิดต่อเนื่อง – สถานที่กระทำความผิด
จำเลยได้รับมอบหมายเรือยนต์ลำหนึ่งในเขตท้องที่ตำรวจสถานีปากคลองสาน แล้วจำเลยได้เปลี่ยนแปลงรูปเรือ และถอดเครื่องยนต์ออกในเขตอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ดังนี้ พนักงานตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจปากคลองสานย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา19(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบยักยอกทรัพย์: ไม่จำกัดเฉพาะผู้รับมอบหมายทรัพย์
ความผิดฐานสมคบกันกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น ผู้กระทำผิดทุกคนหาจำเป็นจะต้องได้รับมอบหมายทรัพย์ที่ยักยอกโดยตนเองทุกๆ คนเสมอไปไม่ เมื่อได้ร่วมมือร่วมใจกันกระทำการยักยอกกับผู้ที่ได้รับมอบหมายทรัพย์มาก็อาจเป็นความผิดฐานสมคบกันยักยอกทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์โดยรับมอบหมายโดยปริยาย: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์ของเจ้าทรัพย์ ซึ่งตกจากรถยนต์และถึงแก่ความตาย เพื่อนำไปมอบให้สามีของเจ้าทรัพย์แล้วจำเลยบังอาจมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้นั้นเป็นอาณาประโยชน์ของจำเลยเสีย ดังนี้ แม้จะไม่มีคำว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์ ก็พอถือได้ว่าเป็นการรับมอบหมายโดยปริยาย ต้องตามตัวบทในมาตรา 314 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาแล้ว และในกรณีเช่นนี้สามีย่อมเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยรับมอบหมายโดยปริยาย และสิทธิในการร้องทุกข์ของผู้รับมรดก
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้รักษาทรัพย์ของเจ้าทรัพย์ ซึ่งตกจากรถยนต์และถึงแก่ความตาย เพื่อนำไปมอบให้สามีของเจ้าทรัพย์แล้วจำเลยบังอาจมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้นั้นเป็นอาณาประโยชน์ของจำเลยเสีย ดังนี้ แม้จะไม่มีคำว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์ ก็พอถือได้ว่าเป็นการรับมอบหมายโดยปริยาย ต้องตามตัวบทในมาตรา 314 แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญาแล้ว และในกรณีเช่นนี้สามีย่อมเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์ที่ขาดความชัดเจนในวันเวลาที่กระทำความผิด ทำให้ฟ้องไม่ชัดเจน
ฟ้องบรรยายว่าได้ฝากทรัพย์ไว้แก่จำเลย ต่อมาเดือน8 ปีนี้ตรงกับเดือนกรกฎาคม 2493 โจทก์ไปขอรับทรัพย์ที่ฝากคืน จำเลยไม่คืนให้โดยเจตนาทุจริตยักยอกเอาทรัพย์ไว้เพื่อประโยชน์ส่วนตนและผู้อื่น ขอให้ลงโทษ ดังนี้มิได้กล่าวว่าจำเลยยักยอกทรัพย์วันใด หรือระหว่างวันเดือนใด จึงได้ชื่อว่าเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม