พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยความไว้วางใจ: อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดินเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฎว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319 (2) (3) แห่ง ก.ม. ลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยักยอกทรัพย์หุ้นส่วนและการถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน อัยการไม่มีอำนาจดำเนินคดีต่อหากผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319(2)(3) แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 กฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยเฉพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
ในคำฟ้องของอัยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้ว อัยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเสีย
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 กฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยเฉพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
ในคำฟ้องของอัยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้ว อัยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดจำนวนฝิ่นเกินจริงและการแก้ไขบัญชี การพิสูจน์เจตนาทุจริตเป็นสาระสำคัญ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จดจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าต้องการซื้อจากรัฐบาล ลงในแบบ ฝ.1/23 โจทก์หาว่าจำเลยจดจำนวนฝิ่นเป็นความเท็จลงในแบบ ฝ.1/23 เกินจากจำนวนที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อแต่โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/2 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่งคือขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่าเป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้ว การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำหยาบๆ ไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลย จึงไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือ
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/2 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่งคือขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่าเป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้ว การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำหยาบๆ ไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลย จึงไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดจำนวนฝิ่นเกินจริงและการแก้ไขบัญชี การพิสูจน์เจตนาสำคัญต่อความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จดจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าต้องการซื้อจากรัฐบาล ลงในแบบ ฝ.1/23 โจทก์หาว่าจำเลยจดจำนวนฝิ่นเป็นความเท็จลงในแบบ ฝ.1/23 เกินจากจำนวนที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/23 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่ง คือ ขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่า เป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำอย่างไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/23 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่ง คือ ขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่า เป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำอย่างไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมไม่ติดใจว่ากล่าวหลังทำสัญญาซื้อฝากแล้ว แม้มีการยักยอกก่อนหน้า สิทธิเรียกร้องย่อมระงับ
จำเลยได้ทำใบรับเงินให้แก่ผู้เสียหาย 1 ฉบับ มีข้อความว่าจำเลยได้รับเงินจากผู้เสียหาย 1 หมื่นบาทเพื่อซื้อแร่จากจังหวัดยะลามาให้ผู้เสียหายแล้วจำเลยได้กลับมาแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าได้เอาเงิน 7000 บาท ไปวางมัดจำสำหรับทำสัญญาซื้อแร่ และได้นำเงินที่เหลือมาคืน ต่อมาจำเลยจึงได้ทำสัญญาขายฝากโรงงานถลุงแร่ของจำเลยแก่ผู้เสียหายจำนวนราคาขายฝากให้ถือเอาหลักฐานที่จำเลยทำไว้กับผู้เสียหาย คือสัญญากู้ยืม และรับเงินรวม 3 ฉบับและเงินจำนวน 1 หมื่นบาทดังกล่าวข้างต้นได้รวมอยู่เป็นค่าซื้อฝากโรงงานด้วย หลังจากทำสัญญาขายฝากแล้วผู้เสียหายจึงได้ทราบว่า จำเลยยักยอกเอาเงิน 7000 บาทซึ่งอ้างว่าไปวางมัดจำซื้อแร่นั้น เอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย
การที่ผู้เสียหายตกลงทำสัญญากับจำเลยเอาเงินที่หาว่าจำเลยยักยอกไปรวมเป็นราคาค่าซื้อฝากของโรงงานของจำเลยเสร็จไปแล้วนั้น ผู้เสียหายจะกลับรื้อฟื้นขึ้นมาว่ากล่าวฟ้องร้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งขอให้คืนเงินรายนี้หรือทางอาญาขอให้ลงโทษฐานยักยอก เพราะการตกลงกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นนั้น มีผลเป็นการยินยอมไม่ติดใจว่ากล่าวในเงินรายนี้แล้ว
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในท้องสำนวนศาลฎีกาไม่จำต้องถือตามและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2491)
การที่ผู้เสียหายตกลงทำสัญญากับจำเลยเอาเงินที่หาว่าจำเลยยักยอกไปรวมเป็นราคาค่าซื้อฝากของโรงงานของจำเลยเสร็จไปแล้วนั้น ผู้เสียหายจะกลับรื้อฟื้นขึ้นมาว่ากล่าวฟ้องร้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งขอให้คืนเงินรายนี้หรือทางอาญาขอให้ลงโทษฐานยักยอก เพราะการตกลงกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นนั้น มีผลเป็นการยินยอมไม่ติดใจว่ากล่าวในเงินรายนี้แล้ว
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในท้องสำนวนศาลฎีกาไม่จำต้องถือตามและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้รวมเงินที่ถูกยักยอกเป็นราคาสินค้า ทำให้สิทธิเรียกร้องในความผิดยักยอกระงับ
จำเลยได้ทำใบรับเงินให้แก่ผู้เสียหาย 1 ฉบับ มีข้อความว่าจำเลยได้รับเงินจากผู้เสียหาย 1 หมื่นบาท เพื่อซื้อแร่จากจังหวัดยะลามาให้ผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้กลับมาแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าได้เอาเงิน 7000 บาท ไปวางมัดจำสำหรับทำสัญญาซื้อแร่ และได้นำเงินที่เหลือมาคืน ต่อมาจำเลยจึงได้ทำสัญญาขายฝากโรงงานถลุงแร่ของจำเลยแก่ผู้เสียหาย จำนวนราคาขายฝากให้ถือเอาหลักฐานที่จำเลยทำไว้กับผู้เสียหาย คือ สัญญากู้ยืม และรับเงินรวม 3 ฉบับ และจำนวนเงิน 1 หมื่นบาท ดังกล่าวข้างต้นได้รวมอยู่เป็นค่าซื้อฝากโรงงานด้วย หลังจากทำสัญญาขายฝากแล้ว ผู้เสียหายจึงได้ทราบว่าจำเลยยักยอกเอาเงิน 7000 บาทซึ่งอ้างว่าไปวางมัดจำซื้อแร่นั้น เอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย
การที่ผู้เสียหายตกลงทำสัญญากับจำเลย เอาเงินที่หาว่าจำเลยยักยอกไปรวมเป็นราคาค่าซื้อฝากขอโรงงานของจำเลยเสร็จไปแล้วนั้น ผู้เสียหายจะกลับรื้อฟื้นขึ้นมาว่ากล่าวฟ้องร้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งขอให้คืนเงินรายนี้ หรือทางอาญาขอให้ลงโทษฐานยักยอก เพราะการตกลงกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นนั้น มีผลเป็นการยินยอมไม่ติดใจว่ากล่าวในเงินรายนี้แล้ว
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในท้องสำนวน ศาลฎีกาไม่จำต้องถือตามและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
การที่ผู้เสียหายตกลงทำสัญญากับจำเลย เอาเงินที่หาว่าจำเลยยักยอกไปรวมเป็นราคาค่าซื้อฝากขอโรงงานของจำเลยเสร็จไปแล้วนั้น ผู้เสียหายจะกลับรื้อฟื้นขึ้นมาว่ากล่าวฟ้องร้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งขอให้คืนเงินรายนี้ หรือทางอาญาขอให้ลงโทษฐานยักยอก เพราะการตกลงกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นนั้น มีผลเป็นการยินยอมไม่ติดใจว่ากล่าวในเงินรายนี้แล้ว
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในท้องสำนวน ศาลฎีกาไม่จำต้องถือตามและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาเกินกรอบฟ้อง คดีอาญาเรื่องยักยอกทรัพย์
ในคดียักยอก โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน2489 และต่อๆ มาจนถึงวันที่ 25 สิงหาคม2489 แต่โจทก์นำสืบว่าจำเลยทำผิดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2489 ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์สืบได้ย่อมต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องยักยอกทรัพย์: การสืบพยานหลักฐานขัดแย้งกับข้อกล่าวหาในฟ้อง
ในคดียักยอก โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2489 และต่อ ๆ มา จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2489 แต่โจทก์นำสืบว่าจำเลยทำผิดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2489 ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์สืบได้ย่อมต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเก็บทรัพย์ ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อจัดการทรัพย์ของผู้อื่น หากไม่ได้มีหน้าที่ดูแลรักษา
จำเลยเป็นเจ้าของบ้านเจ้าของอวน เอาอวนมาขออาศัยเก็บไว้ที่บ้านจำเลย แต่การดูแลระวังรักษาอวนยังอยู่ในความรับผิดชอบของลูกจ้างอวน ดังนี้ ยังไม่เรียกว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใด ๆ ของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเก็บทรัพย์ การดูแลรักษา และความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของอวนเอาอวนมาขออาศัยเก็บไว้ที่บ้านจำเลย แต่การดูแลระวังรักษาอวนยังอยู่ในความรับผิดของลูกจ้างอวน ดังนี้ ยังไม่เรียกว่า จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใดๆของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นผิดฐานยักยอกทรัพย์