คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ทิพยมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973-1975/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มนับอายุความในความผิดเช็ค: เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่แค่แจ้งว่ายังไม่สามารถจ่ายได้
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น วันที่โจทก์ (ผู้ทรงเช็ค) ลองนำเช็คพิพาทหนึ่งฉบับไปขอขึ้นเงินเพื่อดูว่าเช็คจะมีเงินหรือไม่ และผู้จัดการธนาคารแจ้งว่าให้นำเช็คมาขึ้นเงินในตอนบ่าย เพราะจำเลย (ผู้สั่งจ่าย) จะนำดร๊าฟท์มาเข้าบัญชีในตอนบ่าย หาใช่เป็นการที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้นไม่ ในวันดังกล่าวความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิด ความของจำเลยเกิดเมื่อวันที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงิน และธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น ซึ่งเป็นวันที่เริ่มนับอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนกรณีมีเหตุเสียหายร้ายแรง ทำให้ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การเลิกห้างหุ้นส่วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 เป็นการเลิกในระหว่างที่กิจการของห้างหุ้นส่วนยังดำเนินไปได้ตามปกติ กฎหมายจึงบัญญัติให้บอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน และให้เลิกได้ต่อเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วน แต่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เสียหายเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการของห้างหุ้นส่วนเมื่อหุ้นส่วนคนใดร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1057 ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1056
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2511 ตลาดป่าโมกถูกไฟไหม้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้แพท่าของโจทก์จำเลยเป็นที่รับส่งสินค้าได้งดการรับส่งสินค้า และได้แยกย้ายไปหาแพท่าขนส่งสินค้าใหม่ ผลประโยชน์ที่โจทก์กับจำเลยได้รับลดน้อยลงโจทก์มีความประสงค์จะเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลย เพราะไม่มีผู้ที่จะดูแลรักษาแพท่านี้ อันเป็นเหตุให้เกิดการเสียหาย ได้แจ้งขอเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยแล้วถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวความจำนงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนตามมาตรา 1056 แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทุน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วน จึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อตามคำฟ้องคำให้การ และทางพิจารณา ไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนมีลูกหนี้เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง โจทก์จำเลยได้ผลัดกันเก็บรายได้จากแพท่าคนละเดือนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วสินทรัพย์ของห้างมีแต่แพรายพิพาทเท่านั้น จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องชำระหนี้บัญชีของห้างหุ้นส่วน ก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแพรายพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่งไปทีเดียวได้ โดยให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลย หากไม่ตกลงกัน ให้เอาแพรายพิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินได้สุทธิแบ่งให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 1195/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนกรณีมีเหตุให้เหลือวิสัยที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ และสิทธิในการแบ่งทรัพย์สิน
การเลิกห้างหุ้นส่วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 เป็นการเลิกในระหว่างที่กิจการของห้างหุ้นส่วนยังดำเนินไปได้ตามปกติ กฎหมายจึงบัญญัติให้บอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน และให้เลิกได้ต่อเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนแต่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เสียหายเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการของห้างหุ้นส่วนเมื่อหุ้นส่วนคนใดร้องขอศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1057 ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1056
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2511 ตลาดป่าโมกถูกไฟไหม้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้แพท่าของโจทก์จำเลยเป็นที่รับส่งสินค้าได้งดการรับส่งสินค้า และได้แยกย้ายไปหาแพท่าขนส่งสินค้าใหม่ผลประโยชน์ที่โจทก์กับจำเลยได้รับลดน้อยลงโจทก์มีความประสงค์จะเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลย เพราะไม่มีผู้ที่จะดูแลรักษาแพท่านี้อันเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายได้แจ้งขอเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยแล้วถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057 (3)โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวความจำนงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนตามมาตรา 1056 แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทุน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วน จึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อตามคำฟ้องคำให้การ และทางพิจารณา ไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนมีลูกหนี้เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง โจทก์จำเลยได้ผลัดกันเก็บรายได้จากแพท่าคนละเดือนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วสินทรัพย์ของห้างมีแต่แพรายพิพาทเท่านั้นจะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องชำระหนี้บัญชีของห้างหุ้นส่วน ก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแพรายพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่งไปทีเดียวได้ โดยให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลย หากไม่ตกลงกัน ให้เอาแพรายพิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินได้สุทธิแบ่งให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 1195/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องละเมิดไม่เคลือบคลุม แม้ระบุจงใจ/ประมาทเลินเล่อ หากบรรยายข้อเท็จจริงโดยละเอียด ศาลย่อมกำหนดค่าทดแทนความเสียหายได้
คำฟ้องในเรื่องละเมิด แม้จะกล่าวในตอนต้นว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่ฟ้องได้บรรยายต่อไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยโดยละเอียด เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว.จึงเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ฐานละเมิด ทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้นเป็นค่าทดแทนความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ซึ่งศาลย่อมกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องละเมิดไม่เคลือบคลุม แม้ระบุจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ได้ หากบรรยายข้อเท็จจริงชัดเจน และค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยเป็นค่าทดแทนความเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงิน
คำฟ้องในเรื่องละเมิด แม้จะกล่าวในตอนต้นว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่ฟ้องได้บรรยายต่อไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยโดยละเอียด เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ฐานละเมิด ทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น เป็นค่าทดแทนความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ซึ่งศาลย่อมกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นเจตนาทุจริตได้ แม้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะเรื่องอายุความ เป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ตามกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยอุทธรณ์ ศาลสั่งรับอุทธรณ์เรื่องอายุความข้อเดียวในการวินิจฉัยเรื่องอายุความนี้ ศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อนำมาปรับกับบทกฎหมายว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ศาลอุทธรณ์ย่อมยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสองโจทก์จะฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้อง (อุทธรณ์) ย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาเจตนาทุจริตจำเลยแล้วยกฟ้องได้ แม้มีประเด็นอายุความ
จำเลยอุทธรณ์ ศาลสั่งรับอุทธรณ์เรื่องอายุความข้อเดียวในการวินิจฉัยเรื่องอายุความนี้ ศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อนำมาปรับกับบทกฎหมายว่าคดีขาดอายุความหรือไม่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตศาลอุทธรณ์ย่อมยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185, 215 เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสองโจทก์จะฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง (อุทธรณ์) ย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ส่วนตัว ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507 รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเอง อ. นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลาย ๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ. ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูง ๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ. ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตและทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเองอ.นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลายๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ.ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูงๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ.ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต และทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอพิจารณาคดีใหม่ แม้ทิ้งคำร้องก่อนหน้า การขาดนัดพิจารณาคดีโดยไม่ได้จงใจ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล โดยไม่ทราบเหตุขัดข้องศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วโจทก์แถลงหมดพยาน ศาลสั่งนัดสืบพยานจำเลยก่อนถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ คำร้องของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำร้องที่อ้างว่าการขาดนัดพิจารณานั้น มิได้เป็นไปโดยจงใจ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 แม้เมื่อถึงวันนัดนั้นทนายจำเลยจะแถลงว่ายังไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ ซึ่งถือว่าจำเลยทิ้งคำร้องก็ตาม ก็ไม่เป็นผลให้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยื่นคำขอให้มีการพิจารณาใหม่หลังจากที่ศาลได้สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 และเมื่อจำเลยมีคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อีกโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ก็ชอบที่ศาลจะรับคำร้องของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป
of 28