คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ทิพยมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 (1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้หากคำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการหลงผิด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย และผลของการไม่เรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้าย บัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและการเรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี: ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิดแม้ไม่ได้เรียกผู้เอาประกันภัย
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้ายบัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่ อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องทรัพย์สินตามพินัยกรรม และการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามพินัยกรรม
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าซื้อระบุทายาท: สิทธิตกเป็นของทายาทตามสัญญา ไม่ใช่กองมรดก
สัญญาเช่าซื้อก็คือสัญญาเช่าทรัพย์บวกด้วยคำมั่นจะขายทรัพย์สินนั้น สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า คำมั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของคู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้
คู่สัญญาทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อสัญญาระบุว่า ให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อไว้แล้ว ข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ฉะนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้ต่อผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรค 2 แล้วสิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นมรดกของผู้ตายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าซื้อระบุทายาท: สิทธิตกเป็นของทายาทตามสัญญา ไม่ใช่กองมรดก
สัญญาเช่าซื้อก็คือสัญญาเช่าทรัพย์บวกด้วยคำมั่นจะขายทรัพย์สินนั้นสัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า คำมั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของคู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้
คู่สัญญาทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อสัญญาระบุว่า ให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมและผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อไว้แล้วข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ฉะนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้ต่อผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรค 2 แล้วสิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ตกเป็นมรดกของผู้ตายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรต้องมีอำนาจปกครอง การฟ้องซ้ำ และหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลย อ้างว่ามีข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าศาลพิพากษาว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536 ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
มารดาในฐานะส่วนตัว ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตร จนกว่าจะได้ร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียก่อน โดยขอตั้งมารดาผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ปกครองใหม่ แล้วจึงจะใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร: การฟ้องซ้ำและอำนาจของผู้ปกครอง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าศาลพิพากษาว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536 ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
มารดาในฐานะส่วนตัว ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตร จนกว่าจะได้ร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียก่อน โดยขอตั้งมารดาผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ปกครองใหม่แล้วจึงจะใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้
of 28