คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897-1898/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดีและการอายัดทรัพย์
โจทก์อยู่ในราชอาณาจักร ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่มีสิทธิขอขยายกำหนดเวลาหรือขอรับชำระหนี้ได้อีก ข้ออ้างที่โจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตลอดมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบ และเชื่อว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งให้ทราบนั้น เป็นแต่เพียงการเข้าใจผิดของโจทก์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีหน้าที่ที่จะกระทำเช่นนั้น ข้ออ้างที่ว่าหนังสือพิมพ์รายวันที่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนังสือราชกิจจานุเบกษาไม่มีขายในจังหวัดที่โจทก์อยู่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่สมควรหรือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาได้
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135(2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897-1898/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย และผลกระทบต่อการยกเลิกการล้มละลาย
โจทก์อยู่ในราชอาณาจักร ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่มีสิทธิขอขยายกำหนดเวลาหรือขอรับชำระหนี้ได้อีก ข้ออ้างที่โจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตลอดมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบ และเชื่อว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งให้ทราบนั้น เป็นแต่เพียงการเข้าใจผิดของโจทก์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีหน้าที่ที่จะกระทำเช่นนั้น ข้ออ้างที่ว่าหนังสือพิมพ์รายวันที่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนังสือราชกิจจานุเบกษาไม่มีขายในจังหวัดที่โจทก์อยู่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่สมควรหรือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาได้
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำขอรับชำระหนี้: คำให้การพยานไม่ผูกพันเจ้าหนี้, ศาลต้องพิจารณาตามสิทธิที่ควรได้รับ
คำให้การของพยานเจ้าหนี้จะเปลี่ยนแปลงหรือสละคำขอรับชำระหนี้บางส่วนของเจ้าหนี้ไม่ได้ เพราะการให้การเป็นพยานถือไม่ได้ว่ากระทำแทนเจ้าหนี้ดังนี้เจ้าหนี้ต้องได้รับชำระหนี้ตามสิทธิที่ควรได้รับ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
คู่ความท้ากันให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวโดยถือเป็นข้อแพ้ชนะในคดีว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลย ในคดีล้มละลาย จะทำให้ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยต่อไปหรือไม่ กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เคยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ต่อมาได้ถอนคำขอดังกล่าว เท่ากับว่าไม่เคยมีคำขอรับชำระหนี้ และเวลาก็ล่วงเลย 2 เดือนไปแล้วย่อมเป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แต่ก็เป็นการหมดสิทธิที่จะเรียกร้องจากลูกหนี้มิใช่เป็นการที่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมต้องแพ้คดีตามคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
คู่ความท้ากันให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวโดยถือเป็นข้อแพ้ชนะในคดีว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยในคดีล้มละลาย จะทำให้ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยต่อไปหรือไม่ กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เคยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ต่อมาได้ถอนคำขอดังกล่าว เท่ากับว่าไม่เคยมีคำขอรับชำระหนี้ และเวลาก็ล่วงเลย2 เดือนไปแล้วย่อมเป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แต่ก็เป็นการหมดสิทธิที่จะเรียกร้องจากลูกหนี้มิใช่เป็นการที่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมต้องแพ้คดีตามคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนหนี้ต่ำกว่าสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ การแจ้งซ้ำไม่จำเป็น
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ถือว่าทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งซ้ำ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้หลังยื่นคำขอ
การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 104 โดยกำหนดเงื่อนไขให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดหมายเจ้าหนี้และลูกหนี้มาพร้อมกันเพื่อตรวจคำขอรับชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสงค์จะคัดค้านหนี้รายใดว่าไม่สมบูรณ์ไม่มีสิทธิ หรือไม่ถูกต้องประการใด ได้กระทำเสียแต่ในชั้นแรกก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เริ่มทำการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ในแต่ละราย ดังนั้นหากจะถือว่าการขอรับชำระหนี้เป็นกรณีเดียวกับการยื่นฟ้องในคดีแพ่งทั่วไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แล้ว การดำเนินคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะเต็มไปด้วยความยุ่งยากและไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษเช่นนี้แล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลมใช้ในกรณีขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้
of 27