คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้วไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้
การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 91 บัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษแล้วว่า เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้โดยอนุโลม ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 2 เดือนจึงกระทำไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้หลังยื่นคำขอ
การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 104 โดยกำหนดเงื่อนไขให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดหมายเจ้าหนี้และลูกหนี้มาพร้อมกันเพื่อตรวจคำขอรับชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสงค์จะคัดค้านหนี้รายใดว่าไม่สมบูรณ์ไม่มีสิทธิ หรือไม่ถูกต้องประการใด ได้กระทำเสียแต่ในชั้นแรกก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เริ่มทำการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ในแต่ละราย ดังนั้นหากจะถือว่าการขอรับชำระหนี้เป็นกรณีเดียวกับการยื่นฟ้องในคดีแพ่งทั่วไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา180 แล้ว การดำเนินคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะเต็มไปด้วยความยุ่งยากและไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษเช่นนี้แล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลมใช้ในกรณีขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น ไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตาม มาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับขยายเวลาเกิน 2 เดือน
โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา2เดือนอ้างว่าไม่ทราบการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์ดังนี้เท่ากับเป็นการขยายเวลาตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา91ออกไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรจึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลาให้โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา2เดือน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1 (ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังการพิทักษ์ทรัพย์: หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้ค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1(ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้พลาดกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมหมดสิทธิ แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน กำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ จะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยสุจริตหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ให้โจทก์ทราบหาได้ไม่เพราะจะเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลา ตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายล้มละลาย แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน กำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยสุจริตหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้ โจทก์ทราบหาได้ไม่ เพราะจะเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลา ตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์-หลักฐานพิรุธ-สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สัญญากู้ยืมที่เจ้าหนี้อ้างส่งไว้แล้วในศาลชั้นต้นปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตนำสัญญากู้ยืมไปปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ก่อนศาลชั้นต้นชี้ขาดตัดสินคดีเพิ่งขอมาในชั้นฎีกา จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะอนุญาต ดังนั้น จึงใช้เป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อพิสูจน์ ว่าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้
of 27