คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณาหรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่างปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้วเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย หากเกินกำหนดจะไม่มีสิทธิ
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณา หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่าง ปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อม เป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนลูกหนี้และการรับช่วงสิทธิในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ทำประกันภัยเองมิอาจเรียกชำระหนี้แทนได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดใน กรณีเช่นนี้เจ้าหนี้ย่อมยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของศาลฎีกาได้
จำเลย(ลูกหนี้) จำนองทรัพย์สินไว้แก่เจ้าหนี้ ในสัญญา ต่อท้ายสัญญาจำนองได้กำหนดให้จำเลยประกันภัยทรัพย์สิน ที่จำนองโดยให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้น แต่จำเลยไม่จัดการประกันภัยเจ้าหนี้จึงทำสัญญาประกันภัยและได้ชำระเบี้ยประกันภัยไป ดังนี้เจ้าหนี้จะมาขอรับชำระหนี้ในหนี้จำนวนดังกล่าวโดยอ้างว่า ชำระแทนจำเลยไปไม่ได้ เพราะต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862ผู้เอาประกันภัยหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย การที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคู่สัญญา กับผู้รับประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย ไปจึงต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้ของตนเอง ไม่ใช่เป็นการ ชำระหนี้แทนจำเลยหาก่อให้เกิดอำนาจแห่งการรับช่วงสิทธิ แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 226 และมาตรา 229 แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยเจ้าหนี้ และการรับช่วงสิทธิ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดใน กรณีเช่นนี้เจ้าหนี้ย่อมยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของศาลฎีกาได้ จำเลย(ลูกหนี้) จำนองทรัพย์สินไว้แก่เจ้าหนี้ ในสัญญา ต่อท้ายสัญญาจำนองได้กำหนดให้จำเลยประกันภัยทรัพย์สิน ที่จำนองโดยให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้นแต่จำเลยไม่จัดการประกันภัยเจ้าหนี้ จึงทำสัญญาประกันภัยและได้ชำระเบี้ยประกันภัยไป ดังนี้เจ้าหนี้จะมาขอรับชำระหนี้ในหนี้จำนวนดังกล่าวโดยอ้างว่า ชำระแทนจำเลยไปไม่ได้เพราะต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นทั้ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862ผู้เอาประกันภัยหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยการที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคู่สัญญา กับผู้รับประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย ไปจึงต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้ของตนเอง ไม่ใช่เป็นการ ชำระหนี้แทนจำเลยหาก่อให้เกิดอำนาจแห่งการรับช่วงสิทธิ แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 226 และมาตรา 229 แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเช็คย่อมไม่ชอบ
ตามหลักฐานการขอรับชำระหนี้ ไม่ปรากฏว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกี่ยวกับเช็คที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้เพิ่มขึ้นจากคำสั่งของศาลชั้นต้น การให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้ส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเช็คที่มิได้ยื่นไว้
ตามหลักฐานการขอรับชำระหนี้ ไม่ปรากฏว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกี่ยวกับเช็คที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้เพิ่มขึ้นจากคำสั่งของศาลชั้นต้นการให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้ส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, การรับช่วงสิทธิ, และการฟ้องล้มละลายจากหนี้ส่วนตัวและหนี้ของห้างหุ้นส่วน
หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2ให้ล้มละลายในคดีก่อนนั้น เป็นหนี้อันเกิดแต่มูลหนี้ส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ แม้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกฟ้องด้วย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เจ้าหนี้โดยตรงของจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ที่อาจใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดคนใดคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070,1080 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้ร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับการทวงถามให้ชำระหนี้แล้วไม่ชำระโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
จำเลยที่ 1 มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้ไว้แก่ธนาคาร ท. เพื่อยึดถือไว้เป็นการประกันหนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินแก่ธนาคาร ท. แทนจำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเข้าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวในอันที่จะยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับซื้อฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตีราคาเท่าหนี้สินที่โจทก์ค้ำประกันไว้ อันจะทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย แม้หนี้ไม่มีวัตถุเดียวกันหรือเงื่อนไขเวลาต่างกัน ก็ทำได้หากแสดงเจตนา
การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ให้กระทำได้แม้มูลแห่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีวัตถุอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาก็ตาม
ธนาคารผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้และมีหน้าที่จะต้องคืนเงินที่รับฝากแก่จำเลย จึงมีสิทธิหักกลบลบหนี้ โดยแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ได้ แม้จะไม่ได้แสดงเจตนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 ก็ตาม เพราะกรณีมิใช่ธนาคารผู้ร้องร้องขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีวัตถุต่างกัน หรือพ้นกำหนดเวลาแสดงเจตนา
การหักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ให้กระทำได้แม้มูลแห่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีวัตถุอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาก็ตาม
ธนาคารผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้และมีหน้าที่จะต้องคืนเงินที่รับฝากแก่จำเลย จึงมีสิทธิหักกลบลบหนี้ โดยแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ได้ แม้จะไม่ได้แสดงเจตนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 ก็ตาม เพราะกรณีมิใช่ธนาคารผู้ร้องร้องขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย: บทบัญญัติกฎหมายเป็นพิเศษและผลกระทบต่อความเป็นธรรม
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันโดยสุจริต ดังนี้ เท่ากับเป็นการขยายเวลาตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 ออกไป ซึ่งเจ้าหนี้อื่นและลูกหนี้อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้
of 27