คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอื่น คำพิพากษาเดิมไม่ผูกพัน
เมื่อมีผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้ผู้ขอจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเองก็ตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้หรือไม่ แล้วทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีอำนาจสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 106,107,108
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งให้จำเลย (ลูกหนี้) เสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ (เจ้าหนี้) โดยวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล (ในคดีล้มละลาย)เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีคำสั่งตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากวันฟ้องไม่ได้ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำความเห็นและมีคำสั่งเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลายที่มีผลผูกพันเจ้าหนี้ การฟ้องเรียกหนี้ซ้ำจึงไม่ชอบ
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้โจทก์ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27, 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และได้มีการประนอมหนี้ตามมาตรา 56 แล้วด้วย มาตรา 56 บัญญัติไว้ว่า การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งในเรื่องนี้ ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ ฯลฯ" เมื่อหนี้ของโจทก์ไม่ใช่หนี้ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 77 การประนอมหนี้ดังกล่าวมาข้างต้นจึงผูกมัดโจทก์ด้วย โจทก์จะฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) ให้ต้องรับผิดในหนี้นั้นอีกไม่ได้ และกรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย: โจทก์ถูกผูกมัดตามการประนอมหนี้ ไม่สามารถฟ้องเรียกหนี้เดิมได้อีก
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้โจทก์ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27,91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และได้มีการประนอมหนี้ตามมาตรา 56 แล้วด้วย มาตรา 56 บัญญัติไว้ว่า "การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาล เห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ ฯลฯ" เมื่อหนี้ของโจทก์ไม่ใช่หนี้ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 77 การประนอมหนี้ดังกล่าวมาข้างต้นจึงผูกมัดโจทก์ด้วย โจทก์จะฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) ให้ต้องรับผิดในหนี้นั้นอีกไม่ได้ และกรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีลูกหนี้ล้มละลายและการสะดุดหยุดอายุความจากคำขอรับชำระหนี้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง และต่อมาได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 แม้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีที่ฟ้องนั้นเสีย จำเลยก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 25ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ มิใช่มีอำนาจสั่งงดการพิจารณาไว้อย่างเดียวโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีอื่นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 105,106เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ไว้ในคดีล้มละลายด้วย การพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 เสียได้ ตามมาตรา 25 ตอนท้าย คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
ระหว่างที่คดีโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้โจทก์จะขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยชอบแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป ตามคำร้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดีลูกหนี้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว แม้เจ้าหนี้จะถอนคำขอรับชำระหนี้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง และ ต่อมาได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173แม้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีที่ฟ้องนั้นเสีย จำเลยก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 25ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ มิใช่มีอำนาจสั่งงดการพิจารณาไว้อย่างเดียวโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีอื่นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 105, 106เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ไว้ในคดีล้มละลายด้วย การพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 เสียได้ ตามมาตรา 25 ตอนท้าย คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
ระหว่างที่คดีโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้โจทก์จะขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยชอบแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป ตามคำร้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีผลลบล้างการยื่นคำขอ และต้องยื่นใหม่ตามกฎหมาย
จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในระหว่างสอบสวนผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอนุญาตจำหน่ายจากบัญชีเจ้าหนี้ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ด้วยความหลงผิดว่าจะเป็นทางให้ลูกหนี้พ้นจากการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ จึงขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานมายังศาลชั้นต้นว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่สั่งไปโดยชอบได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเจ้าหนี้ตามเดิม ดังนี้ หามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งของตนที่ได้สั่งไปโดยชอบไม่ คงร้องขอให้ศาลมีคำสั่งได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 143 และศาลจะสั่งเพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ก็ไม่ได้ เพราะการที่ผู้ร้องยื่นคำขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ดี คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งอนุญาตให้ถอนได้ก็ดี ไม่เป็นการผิดระเบียบหรือกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อผู้ร้องถอนคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำขอ และทำให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้เลย หากผู้ร้องประสงค์จะขอรับชำระหนี้ ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งได้สั่งไปโดยชอบแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมลบล้างผล และต้องยื่นคำขอใหม่ตามกฎหมาย
จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในระหว่างสอบสวนผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอนุญาตจำหน่ายจากบัญชีเจ้าหนี้ ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ด้วยความหลงผิดว่าจะเป็นทางให้ลูกหนี้พ้นจากการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ จึงขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานมายังศาลชั้นต้นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่สั่งไปโดยชอบได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเจ้าหนี้ตามเดิม ดังนี้ หามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งของตนที่ได้สั่งไปโดยชอบไม่ คงร้องขอให้ศาลมีคำสั่งได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 143 และศาลจะสั่งเพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ก็ไม่ได้เพราะการที่ผู้ร้องยื่นคำขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ดี คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งอนุญาตให้ถอนได้ก็ดี ไม่เป็นการผิดระเบียบ หรือกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อผู้ร้องถอนคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำขอ และทำให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้เลย หากผู้ร้องประสงค์จะขอรับชำระหนี้ ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 91 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งได้สั่งไปโดยชอบแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดตั้งบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิของหุ้นส่วนในการรับชำระหนี้
ผู้ขอรับชำระหนี้กับจำเลยตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อจะจัดตั้งบริษัททำการจัดสรรที่ดินและอาคารให้เช่าโดยให้ชื่อว่าบริษัทสยามอาคารซึ่งไม่มีคำว่าจำกัด ไว้ปลายชื่อและไม่ปรากฏว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือเพียงใช้ชื่อบริษัทแต่ความจริงเป็นหุ้นส่วน ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระเงินค่าหุ้นให้จำเลยรับไว้แล้ว และบริษัทได้มีการเริ่มงานไปบ้างแล้วโดยหุ้นส่วนทุกคนมอบให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียว ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงมิใช่บริษัทจำกัด แม้จะมิได้มีการจดทะเบียนก็จะถือว่ากิจการอันตกลงร่วมหุ้นกันนั้นยังไม่จัดตั้งขึ้นหาได้ไม่ จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1112 มาปรับแก่กรณีมิได้ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินค่าหุ้นคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีล้มละลาย: การฟ้องคดีล้มละลายสะดุดอายุความ การจำหน่ายคดีเริ่มต้นนับอายุความใหม่
การฟ้องคดีล้มละลายเป็นการฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องด้วยไม่ใช่เป็นเพียงการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายแต่อย่างเดียว จึงมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีตามคำแถลงของโจทก์คดีล้มละลายเพื่อโจทก์จะไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำนวนอื่นนั้น กรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีล้มละลาย: การฟ้องคดีล้มละลายเป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลจำหน่ายคดี
การฟ้องคดีล้มละลายเป็นการฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายแต่อย่างเดียว จึงมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีตามคำแถลงของโจทก์คดีล้มละลาย เพื่อโจทก์จะไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำนวนอื่นนั้น กรณีไม่เข้ามาตรา 175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี
of 27