พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ต้องยื่นภายใน 2 เดือนนับจากวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุว่า เจ้าหนี้ได้ชำระเงินมัดจำและราคาบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ไปแล้วเป็นเงิน 819,840 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการนำห้องชุดที่จะซื้อขายออกขายทอดตลาดโดยมีผู้ซื้อไปแล้วการชำระหนี้ของลูกหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายจึงขอรับชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ เป็นการขอรับชำระหนี้ในหนี้เงินโดยไม่มีเจตนาที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2883 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 เมื่อเจ้าหนี้มิได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพยืปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดก่อน จึงไม่ต้องด้วยกรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายตามมาตรา 122 เจ้าหนี้จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีในเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หลังศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน 2 เดือน
เจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกต่อศาลแพ่ง ระหว่างพิจารณาคดีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า เพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว ขอให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความแทน ครั้นถึงวันนัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า ในคดีล้มละลายครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91 การพิจารณาคดีแพ่งต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์ ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เจ้าหนี้แถลงคัดค้านว่าเพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาลในคดีแพ่ง แต่ไม่ได้แถลงให้เจ้าหนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้มิได้ดำเนินการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าว หากศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้เสียหาย ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันมีผลเท่ากับศาลแพ่งพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 ต่อไป และไม่อนุญาตตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ติดใจเข้าว่าคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวนั้น เป็นเพียงการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจที่จะนำพยานมาสืบหรือถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีแพ่ง เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่คดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทนายความจากการล้มละลาย: การรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องต้องเป็นผลมาจากการบังคับคดีตามสัญญาจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 โดยผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกานั้น แม้มิใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง แต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ส่งมาให้ศาลฎีกาแล้ว ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านดังกล่าวไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกัน-จำนองยังไม่ระงับ แม้ลูกหนี้ล้มละลาย-เจ้าหนี้ไม่ขอรับชำระหนี้ ผู้ค้ำ-ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ย่อมเป็นผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้หนี้ที่ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ระงับไปเพียงแต่เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องเอาหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้เท่านั้น เมื่อหนี้ยังไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ และหนี้จำนองก็ยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้จำนองยังคงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเช่นกัน ดังนั้น จำเลยทั้งสองซึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองไว้แก่โจทก์ จึงยังคงต้องผูกพันรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อไป โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับการขยายเวลาเกิน 2 เดือน
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปเกินกว่ากำหนดเวลา 2 เดือน จะมีได้ก็แต่กรณีที่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องหนี้เกิดก่อนล้มละลายต้องยื่นในคดีล้มละลายเท่านั้น
เงินค่าฤชาธรรมเนียมมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดีและให้จำเลยรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน เงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวจึงยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยอาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 109 (1) และเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดศาลอุทธรณ์ในคดีนี้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีและสั่งให้คืนค่าขึ้นศาล 3 ใน 4 ที่จำเลยเสียไว้ในการยื่นอุทธรณ์เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และยังไม่พ้นจากภาวะดังกล่าว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่เท่านั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 และปรากฏจากคำแก้อุทธรณ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยได้ความว่าโจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้แล้วและคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และยังไม่พ้นจากภาวะดังกล่าว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่เท่านั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 และปรากฏจากคำแก้อุทธรณ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยได้ความว่าโจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้แล้วและคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้อยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6464/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย vs การใช้สิทธิซ้ำซ้อน
เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เงินที่วางเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เป็นเงินที่วางเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดี เงินดังกล่าวก็ยังคงเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเงินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนที่จำเลยวางไว้
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายที่จำเลยเป็นลูกหนี้อยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เท่านั้น โจทก์ได้นำมูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายอยู่แล้ว หากศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมตามที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้อีกก็จะเป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้เดิม เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า "คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หรือ (2) นั้นไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด" เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดบ้างหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงต้องแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น ดังนั้น แม้โจทก์มิได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว หนี้ของโจทก์ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลก่อนล้มละลาย: เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้ กรณีจึงต้องถือว่าเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับไปจากศาลชั้นต้น คงมีสิทธิเพียงยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม และข้อจำกัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปรากฏว่าในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้น มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ บ. ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาด โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 แต่ บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จะนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยดังกล่าวล้มละลายซ้ำอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่