คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 270 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลา ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 ได้
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 (2) ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ล่าช้า ไม่มีสิทธิขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลาย แม้มีเหตุอื่นอ้าง
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 ได้
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้องแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการตรวจสอบหนี้ และข้อจำกัดการรับชำระหนี้ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมีอำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตรวจสอบมูลหนี้ แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเหตุให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการขาดอายุความ
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมีอำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94(1)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้โดยตรง ผู้ค้ำประกัน และผลกระทบเมื่อมีการชำระหนี้เต็มจำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ในภายหน้า ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่บรรดาเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำการสอบสวนเสียก่อนตามมาตรา 105
เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแต่บางส่วนบ้างแล้ว การที่เจ้าหนี้รายที่ 1 จะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอากับกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ ตามกรณีของเจ้าหนี้รายที่ 1 นี้จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้รายที่ 1 ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 5ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้เท่านั้น ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้รายที่ 1 ถูกเจ้าหนี้รายที่ 5 ฟ้องคดีต่อศาลขอให้ชำระหนี้แล้วและคดียังไม่ยุติ ผลของคดีแพ่งที่ยังไม่ยุตินั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใดถึงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1หรือเจ้าหนี้รายที่ 5 ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องมายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น
เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้และการหมดสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105
เจ้าหนี้รายที่ 2 ยังไม่เคยชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 5เจ้าหนี้รายที่ 2 จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีของเจ้าหนี้รายที่ 2 นี้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ฟ้องเจ้าหนี้รายที่ 2 กับพวกให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันต่อศาลแล้วก็ตาม ผลของคดีแพ่งก็จะไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่ประการใด ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนเต็มที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 101 ตอนท้ายของวรรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ ต่างต้องยื่นคำขอ รับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้อง ทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105 เจ้าหนี้รายที่ 2 ยังไม่เคยชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 5เจ้าหนี้รายที่ 2 จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีของเจ้าหนี้รายที่ 2 นี้ จึงเป็นกรณี ที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ รายที่ 5 ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 5ได้ฟ้องเจ้าหนี้รายที่ 2 กับพวกให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันต่อศาลแล้วก็ตาม ผลของคดีแพ่งก็จะไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่ประการใด ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับ ให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนเต็มที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101 ตอนท้ายของวรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืม แต่กรรมการบริษัทที่ร่วมฉ้อโกงประชาชนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้กู้ยืม
แม้ลูกหนี้ที่ 4 จะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม ที่เจ้าหนี้อ้างประกอบคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งลูกหนี้ที่ 4 เป็นจำเลยร่วมอยู่ด้วยว่า ลูกหนี้ที่ 4 เป็น กรรมการของบริษัทฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด กับจำเลยที่ 1 ตาม พระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 และ 5 ดังนั้น ลูกหนี้ที่ 4 จึงเป็นผู้กู้ยืมตามนัยแห่ง พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวและต้องรับผิดตาม สัญญากู้ยืมต่อเจ้าหนี้ จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้ ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ซ้ำซ้อนในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากลูกหนี้ร่วมแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ซ้ำจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้อีก
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายคนละขั้นตอน เมื่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายคดีก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ของเจ้าหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น10,781,495.35 บาท เป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จ่ายเงินจำนวน 10,781,495.35 บาท ให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นการจ่ายเงินเต็มจำนวนมูลหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ถือว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว หาใช่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ที่เพียงเป็นส่วนเฉลี่ยจากกองทรัพย์สินของ ส. ดังที่เจ้าหนี้อ้างในคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไม่ เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนแล้ว การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลายและการยื่นคำขอรับชำระหนี้: ผลกระทบจากกระบวนการพิจารณาที่ผิดพลาด
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2526 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้จึงฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2) ที่ได้ตรวจชำระใหม่ และต้องเริ่มนับใหม่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตามป.พ.พ.มาตรา 193/15 คือตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีล้มละลายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 15 เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2538 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 91 แล้ว เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องแสดงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ยังไม่ขาดอายุความ แต่เจ้าหนี้มิได้ให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ถึงข้อเท็จจริงในคดีในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตลอดจนสิทธิเรียกร้องต่าง ๆของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นแล้วแต่ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้และข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้นในคดีหมายเลขแดงที่ ล.182/2537 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2537 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2537 พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายถึงเจ้าหนี้ให้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดไว้ในคดีนี้ก่อนแล้ว แต่คดีนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังคดีดังกล่าวเพราะพิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เช่นนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบดีอยู่แล้ว ดังนี้จะกล่าวอ้าง และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 27