พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องดำเนินคดีอาญาจากความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง โดยไม่จำต้องเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5 และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน - จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต - การรับฟังพยาน - ปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณาแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวและไม่สามารถจัดหางานตามที่โฆษณาได้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานก็เพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าไม่สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ ข้อความที่จำเลยแสดงต่อประชาชนเป็นความเท็จการที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยโฆษณาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเป็นความเท็จอย่างไร จึงลงโทษจำเลยไม่ได้นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ชาวบ้านหนองผักชีว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานยังเกาะไซปัน ประเทศฟิลิปปินส์ เงินเดือนสูง รายได้ดี ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นความจริงความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้สมัครไปทำงานตามที่จำเลยโฆษณาได้ จำเลยได้ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยการหลอกลวงดังกล่าวมีประชาชนไปสมัครงานกับจำเลย จำนวน 12 คน ได้เสียค่าบริการ ค่านายหน้าให้แก่จำเลย เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 แล้ว ไม่เคลือบคลุม
พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่จำเลยกับพวกได้ออกให้ผู้เสียหายโดยการถ่ายภาพรวมสำเนาไว้แล้ว แม้จะคืนต้นฉบับให้ผู้เสียหายไป ก็ถือได้ว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวน
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าไม่สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ ข้อความที่จำเลยแสดงต่อประชาชนเป็นความเท็จการที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยโฆษณาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเป็นความเท็จอย่างไร จึงลงโทษจำเลยไม่ได้นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ชาวบ้านหนองผักชีว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานยังเกาะไซปัน ประเทศฟิลิปปินส์ เงินเดือนสูง รายได้ดี ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นความจริงความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้สมัครไปทำงานตามที่จำเลยโฆษณาได้ จำเลยได้ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยการหลอกลวงดังกล่าวมีประชาชนไปสมัครงานกับจำเลย จำนวน 12 คน ได้เสียค่าบริการ ค่านายหน้าให้แก่จำเลย เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 แล้ว ไม่เคลือบคลุม
พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่จำเลยกับพวกได้ออกให้ผู้เสียหายโดยการถ่ายภาพรวมสำเนาไว้แล้ว แม้จะคืนต้นฉบับให้ผู้เสียหายไป ก็ถือได้ว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าหลังพ้นภัยอันตราย การกระทำเกินกว่าป้องกันตนเอง เป็นความผิดฐานฆ่าคนตาย
ผู้ตายใช้มีดยาวประมาณ 1 ช่วงแขนไล่ฟันจำเลยที่ 1 จำเลยที่1 จึงใช้ปืนแก็ปยิงผู้ตาย 1 นัดขณะที่อยู่ห่างกันประมาณ 4 วา ผู้ตายวิ่งหนีไป 2 วาก็ล้มลง จำเลยที่ 1 เอาปืนลูกซองยาวจากจำเลยที่ 2 มายิงซ้ำอีก 1 นัด แต่ไม่ถูกแล้วจำเลยทั้งสองนำผู้ตายไปทิ้งลงเหว ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายหลังจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ล่วงพ้นไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมพยานหลักฐานตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว แม้ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก็หาเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไม่.
การชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมพยานหลักฐานตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว แม้ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก็หาเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าหลังพ้นอันตราย การกระทำเกินกว่าป้องกันตัว และอำนาจฟ้องกรณีไม่มีชันสูตรพลิกศพ
ผู้ตายใช้มีดยาวประมาณ 1 ช่วงแขนไล่ฟันจำเลยที่ 1 จำเลยที่1 จึงใช้ปืนแก็ปยิงผู้ตาย 1 นัดขณะที่อยู่ห่างกันประมาณ 4วา ผู้ตายวิ่งหนีไป 2 วาก็ล้มลง จำเลยที่ 1 เอาปืนลูกซองยาวจากจำเลยที่ 2 มายิงซ้ำอีก 1 นัด แต่ไม่ถูกแล้วจำเลยทั้งสองนำผู้ตายไปทิ้งลงเหว ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายหลังจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ล่วงพ้นไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมพยานหลักฐานตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว แม้ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก็หาเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไม่.
การชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมพยานหลักฐานตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว แม้ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก็หาเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและการแก้ไขวันกระทำผิดในบันทึก ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสและกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ปรากฏในบันทึกคำฟ้องของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 31มิถุนายน 2524 อันเป็นวันภายหลังที่โจทก์ฟ้อง แต่ปรากฏตามบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายและคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524 และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2524 จำเลยมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังได้ยื่นคำร้องยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงแสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ การที่ศาลบันทึกวันกระทำผิดของจำเลยผิดพลาดไปเป็นเรื่องของความพลั้งเผลอจึงหาใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้องไม่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยมีข้อผิดพลาดเรื่องวันเกิดเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นการฟ้องล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสและกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ปรากฏในบันทึกคำฟ้องของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 มิถุนายน 2524 อันเป็นวันภายหลังที่โจทก์ฟ้อง แต่ปรากฏตามบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายและคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524 และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2524 จำเลยมอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังได้ยื่นคำร้องยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของจำเลยทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ การที่ศาลบันทึกวันกระทำผิดของจำเลยผิดพลาดไปเป็นเรื่องของความพลั้งเผลอจึงหาใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้องไม่ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนฯ ที่แก้ไข และการสอบถามจำเลยเรื่องทนายเมื่อมีโทษจำคุกสูง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายในเรือนจำ: หน้าที่ไต่สวนของศาลเมื่อผู้ต้องขังเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุม
เมื่อผู้ต้องถูกควบคุมกักขังอยู่ในเรือนจำตายลงก็ถือว่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ชอบที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามกฎหมาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายในเรือนจำ: หน้าที่ไต่สวนของศาลเมื่อนักโทษเสียชีวิตในความควบคุม
เมื่อผู้ต้องถูกควบคุมกักขังอยู่ในเรือนจำตายลงก็ถือว่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ชอบที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2501)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานสมคบเพื่อการค้าประเวณีโดยไม่จำกัดอายุผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้สมคบกันเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นจำเลยได้ใช้อุบายทุจริตล่อลวงเป็นธุระจัดหา ล่อ และชักพานางสาวสวิงอายุ 19 ปีไปเพื่อการอนาจาร ดังนี้ การกระทำของจำเลย ควรมีความผิดตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2474 มาตรา 3 ตอนท้าย ซึ่งหาได้กำหนดอายุของหญิงเจ้าทุกข์ไว้ด้วยไม่