คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชาวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 798 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอรับรองบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและมีข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นบิดา
คดีร้องขอให้รับรองบุตรนั้นผู้ร้องย่อมขอแก้วันเกิดของเด็กได้ในเมื่อไม่ทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบในเชิงคดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1519 บัญญัติแต่เพียงว่าเด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภรรยาชาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี มิได้วางข้อบัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี จึงเป็นเรื่องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ และบทบัญญัติในเรื่องฟ้องขอให้รับรอง ก็มิได้วางข้อบัญญัติกีดกั้นมิให้ฟ้องในกรณีเช่นนี้ ฉะนั้นเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
เด็กซึ่งเกิดกับชายชู้นั้น มารดาของเด็กย่อมร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายชู้ได้ มาตรา1529(4)ไม่ได้กีดกันถึงกรณีที่เป็นชู้กันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย
คดีร้องขอให้รับรองบุตรนั้น ผู้ร้องย่อมขอแก้วันเกิดของเด็กได้ในเมื่อไม่ทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบในเชิงคดี
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1519 บัญญัติแต่เพียงว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภรรยาชาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี มิได้วางข้อบัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี จึงเป็นเรื่องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ และบทบัญญัติในเรื่องฟ้องขอให้รับรอง ก็มิได้วางข้อบัญญัติกีดกั้นมิให้ฟ้องในกรณีเช่นนี้ ฉะนั้นเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
เด็กซึ่งเกิดกับชายชู้นั้นมารดาของเด็กย่อมร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายชู้ได้ มาตรา 1529 (4) ไม่ได้กีดกันถึงกรณีที่เป็นชู้กันด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวของภริยาจากการทำสัญญา และการยึดทรัพย์สินของบุคคลนอกคดี
ก่อนมีการสมรส สามีภริยาได้ทำหนังสือสัญญากันถูกต้องตามกฎหมายไว้ต่อกันว่า ทรัพย์สินต่างๆ อันเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยา ซึ่งมีอยู่ก่อนทำการสมรสรวมทั้งดอกผลที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายหลัง สามียอมรับว่าเป็นสินส่วนตัวของภริยาตลอดไป ฉะนั้น ทรัพย์ที่ภริยาซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของภริยา ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271,278,280เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวของภริยาคู่สมรสที่ทำสัญญากันก่อนสมรส ยึดไม่ได้แม้เป็นลูกหนี้ร่วม
ก่อนมีการสมรส สามีภริยาได้ทำหนังสือสัญญากันถูกต้องตามกฎหมายไว้ต่อกันว่า ทรัพย์สินต่าง ๆ อันเป็นกรรมสิทธิของภริยา ซึ่งมีอยู่ก่อนทำการสมรสรวมทั้งดอกผลที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายหลัง สามียอมรับว่าเป็นสินส่วนตัวของภริยาตลอดไป ฉะนั้น ทรัพย์ที่ภริยาซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของภริยา ดังบัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1464.
ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 271, 278, 280 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฎว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของ ป.ม.วิ.แพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัติและเอาออกขายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การบรรยายฟ้องอาศัยเพียงพอและประเด็นมิได้อยู่ที่สิทธิอาศัยตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า บิดามารดาจำเลยอาศัยที่พิพาทปลูกโรงเรือนมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นของตายายโจทก์ แล้วต่อมาเมื่อที่ตกเป็นของโจทก์โดยทางมรดก จำเลยก็ยังอาศัยสืบต่อมา ดังนี้ ไม่จำต้องระบุวัน เดือน ปีที่ว่าบิดามารดาจำเลยและตัวจำเลยอาศัย ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุอาศัย จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของหรือผู้อาศัย หาได้พิพาทกันในเรื่องสิทธิอาศัย ตามพ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2459 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนโรงเรือนและการพิพาทกรรมสิทธิที่ดิน การบรรยายฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้อ้าง พ.ร.บ.ออกโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า บิดามารดาจำเลยอาศัยที่พิพาทปลูกโรงเรือนมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นของตายายโจทก์ แล้วต่อมาเมื่อที่ตกเป็นของโจท์โดยทางมฤดก จำเลยก็ยังอาศัยสืบต่อมา ดังนี้ ไม่จำต้องระบุวัน เดือน ปีที่ว่าบิดามารดาจำเลยและตัวจำเลยอาศัย ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุอาศัยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ ศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของหรือผู้อาศัย หาได้พิพาทกันในเรื่องสิทธิอาศัยตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 2) พ.ศ. 2459 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการอาฆาต: การพิจารณาความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา แม้พบผู้ตายโดยบังเอิญ
เดิมจำเลยต้องหาว่าชิงทรัพย์ผู้ตายเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้จับจำเลยได้ในที่สุดศาลพิพากษาจำคุก จำเลยหลบหนีเรือนจำและเคยพูดอาฆาตผู้ตายไว้ วันเกิดเหตุผู้ตายเห็นจำเลยเดินลุยน้ำมา จึงร้องทักไป จำเลยจำเสียงผู้ตายได้จึงตรงเข้าแทงผู้ตายตามที่พูดอาฆาตไว้ ผู้ตายรักษาตัวอยู่ 21 วันก็ตาย ดังนี้ รูปคดีหาใช่เป็นเรื่องจำเลยแทงเพราะผู้ตายเข้าทำการจับกุมไม่ คดีไม่เข้าบทมาตรา 250 ข้อ 2 ฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งทำการตามหน้าที่ และจะลงโทษจำเลยตามมาตรา 250 ข้อ 3 ฐานฆ่าคนตายโดยความพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายก็ไม่ได้ เพราะแม้จำเลยจะแทงผู้ตายด้วยความพยาบาท ก็ขาดความพยายาม โดยจำเลยมาพบผู้ตายเข้าในที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ การที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายโดยแรง จนทะลุถึงน้ำดี ประกอบกับจำเลยเคยพูดอาฆาตไว้ก่อนแล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการอาฆาตและการกระทำโดยตรง แม้พบผู้ตายโดยบังเอิญ
เดิมจำเลยต้องหาว่าชิงทรัพย์ ผู้ตายเป็นผู้ใหญ่บ้านได้จับจำเลยได้ในที่สุดศาลพิพากษาจำคุก จำเลยหลบหนีเรือนจำและเคยพูดอาฆาตผู้ตายไว้ วันเกิดเหตุผู้ตายเห็นจำเลยเดินลุยน้ำมา จึงร้องทักไป จำเลยจำเสียงผู้ตายได้จึงตรงเข้าแทงผู้ตายตามที่พูดอาฆาตไว้ ผู้ตายรักษาตัวอยู่ 21 วันก็ตาย ดังนี้ รูปคดีหาใช่เป็นเรื่องจำเลยแทงเพราะผู้ตายเข้าทำการจับกุมไม่ คดีไม่เข้าบทมาตรา250 ข้อ 2 ฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งทำการตามหน้าที่ และจะลงโทษจำเลยตามมาตรา 250 ข้อ 3ฐานฆ่าคนตายโดยความพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายก็ไม่ได้ เพราะแม้จำเลยจะแทงผู้ตายด้วยความพยาบาท ก็ขาดความพยายามโดยจำเลยมาพบผู้ตายเข้าในที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ การที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายโดยแรง จนทะลุถึงน้ำดี ประกอบกับจำเลยเคยพูดอาฆาตไว้ก่อนแล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การของผู้จำเลยในคดีแพ่งต้องชัดเจน หากไม่ปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลย่อมถือว่าจำเลยรับ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นด้วยข้อที่โจทก์กล่าวหาข้อใด จำเลยไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ถือว่าจำเลยให้การรับ (อ้างฎีกาที่ 218/2488)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ยอมรับฟืนที่โจทก์ส่งแล้วโดยถูกต้อง จำเลยที่ 1,2 ให้การลอยๆ ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้กล่าวไม่ว่า โจทก์ผิดสัญญาด้วยประการใดจึงไม่เป็นการให้การโดยชัดแจ้ง และไม่ได้แสดงเหตุแห่งการนั้นตามมาตรา 177 ส่วนคำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 3 เข้าใจ จำเลยที่ 3 ไม่ได้ต่อสู้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องถือว่าจำเลยทั้ง 3 ไม่ได้เถียงและประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ จึงไม่เกิดขึ้น ต้องฟังว่าโจทก์ส่งคืนถูกต้องตามสัญญาแล้วอนึ่งการที่จำเลยที่ 3 ปฏิเสธสัญญาโดยอ้างการตรวจของคณะกรรมการ ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการไม่ชอบนี้ หากจำเลยจะโต้เถียงคำของโจทก์ว่าการตรวจและความเห็นของคณะกรรมการชอบแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ตามมาตรา 177 ที่จะต้องกล่าวโดยชัดแจ้ง และแสดงเหตุดังได้กล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากละเมิดและผิดสัญญา แม้สัญญาเป็นโมฆะ ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินไป 1140 บาทโดยเอาโฉนดปลอมมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน จนถึงกับฟ้องคดีอาญา ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยและให้จำเลยใช้เงิน 1140 บาท แก่โจทก์ จำเลยได้นำเงิน 1140 บาทไปชำระกองหมายตามหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายอย่างอื่นจากจำเลยอีก ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนอัยยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 1140 บาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตามอำนาจที่ ป.ม.วิ.อาญามาตรา 43 ให้ไว้และโจทก์ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยยการด้วย โจทก์ยังไม่ได้เรียกค่าเสียหาย จีงฟ้องคดีนี้ได้ อนึ่งฟ้องดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นฟ้องทางลักษณะสัญญาโดยตรง ในอันที่ศาลจะยกฟ้องเสียได้ โดยเห็นว่าสัญญากู้เป็นโมฆะแล้ว
ในทางแพ่ง กฎหมายไม่บังคับว่า การฟ้องคดีที่ทำได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญานั้นโจทก์จะต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง โจทก์จะฟ้องโดยบรรยายข้อเท็จจริงและเรียกค่าเสียหายมาเฉย ๆ ก็ได้ ศาลมีหน้าที่ต้องนำเอาตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีนั้นว่า ตามฟ้องโจทก์นั้นมีกฎหมายให้โจทก์ได้ค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่.
of 80