พบผลลัพธ์ทั้งหมด 798 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างพี่น้อง: การฟ้องแบ่งทรัพย์ต้องอาศัยฐานะหุ้นส่วน
โจทก์ตั้งรูปคดีฟ้องร้องขอแบ่งทรัพย์โดยอ้างว่าลงทุนเป็นหุ้นส่วนเมื่อฟังไม่ได้ว่าลงทุนเป็นหุ้นส่วน คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงการแบ่งทรัพย์ต่อไป
คดีเกิดขึ้นเนื่องจากการแตกร้าวระหว่างพี่น้อง ซึ่งต่างไม่ยอมปรองดองกันศาลจึงสั่งให้รวมค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง 2 ฝ่ายทั้ง 3 ศาลแล้วแบ่งกันเสียฝ่ายละครึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้คดีในที่สุด
คดีเกิดขึ้นเนื่องจากการแตกร้าวระหว่างพี่น้อง ซึ่งต่างไม่ยอมปรองดองกันศาลจึงสั่งให้รวมค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง 2 ฝ่ายทั้ง 3 ศาลแล้วแบ่งกันเสียฝ่ายละครึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้คดีในที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างพี่น้อง: การฟ้องแบ่งทรัพย์ต้องมีฐานะเป็นหุ้นส่วน
โจทก์ตั้งรูปคดีฟ้องร้องขอแบ่งทรัพย์โดยอ้างว่าลงทุนเป็นหุ้นส่วน เมื่อฟังไม่ได้ว่าลงทุนเป็นหุ้นส่วน คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงการแบ่งทรัพย์ต่อไป
คดีเกิดขึ้นเนื่องจากการแตกร้าวระหว่างพี่น้อง ซึ่งต่างไม่ยอมปรองดองกัน ศาลจึงสั่งให้รวมค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง 2 ฝ่ายทั้ง 3 ศาลแล้วแบ่งกันเสียฝ่ายละครึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้คดีในที่สุด.
คดีเกิดขึ้นเนื่องจากการแตกร้าวระหว่างพี่น้อง ซึ่งต่างไม่ยอมปรองดองกัน ศาลจึงสั่งให้รวมค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง 2 ฝ่ายทั้ง 3 ศาลแล้วแบ่งกันเสียฝ่ายละครึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้คดีในที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ต้องได้รับการพิจารณา
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันท์สามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้ มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ป.ม.แพ่งฯ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมฤดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ป.ม.แพ่ง ฯ
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มฤดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ. ได้รับโองเด็กเป็นบุตร อันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมฤดกของ พ. หรือไม่ ยังไม่ปรากฎ ความข้อนี้คู่ความยกขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์ ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้ แล้วพิพากษาใหม่.
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันท์สามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้ มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ป.ม.แพ่งฯ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมฤดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ป.ม.แพ่ง ฯ
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มฤดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ. ได้รับโองเด็กเป็นบุตร อันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมฤดกของ พ. หรือไม่ ยังไม่ปรากฎ ความข้อนี้คู่ความยกขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์ ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้ แล้วพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ศาลต้องฟังพยานเพื่อพิสูจน์ความสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพยานต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายนา การโอนที่ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ประเด็นอยู่ที่การพิสูจน์ความสุจริตและค่าตอบแทน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ ๆ ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพะยานต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต้องมีข้อตกลงผูกพันทั้งสองฝ่าย เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว จึงไม่สามารถบังคับให้จำเลยทำสัญญาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทำสัญญาให้โจทก์ได้เช่าห้องของจำเลยโดยอ้างว่าได้ตกลงกับจำเลยแล้วตามสำเนาหนังสือท้ายฟ้องแต่หนังสือนี้มีข้อความเพียงว่า โจทก์จะรับเช่าห้องพิพาท ไม่มีข้อความว่าจำเลยตกลงจะให้เช่าหรือข้อความอื่นใดที่ผูกมัดจำเลยเลย ดังนี้ จึงไม่มีทางบังคับจำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมในคดีผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นหลักฐานการแบ่งมรดก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยต่อสู้ว่า ได้มีการตกลงแบ่งมรดกกันแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งได้ความว่า โจทก์เคยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จำเลยคัดค้านแล้วโจทก์ได้มีหนังสือถึงทนาย ขอให้ถอนคำร้องนั้นเสีย หนังสือที่โจทก์ทำให้ทนายความไว้มีความว่า ตามที่ได้ว่าจ้างให้ดำเนินคดีเป็นผู้จัดการมรดกนายจี๋ นางแดงบัดนี้ได้ตกลงประนีประนอมกันแล้ว จึงไม่ติดใจจะดำเนินคดีต่อไป ขอให้ไปแถลงต่อศาลขอเลิกคดีดังนี้ ย่อมหมายความว่า ประนีประนอมกับอีกฝ่ายหนึ่งในทางคดี ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่มีข้อความใดแสดงว่า ได้ประนีประนอมแบ่งมรดกแล้ว จึงไม่เป็นหลักฐานของการแบ่งมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรานีประนอมในคดี ไม่ถือเป็นหลักฐานการแบ่งมฤดก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดกจำเลยต่อสู้ว่า ได้มีการตกลงแบ่งมฤดกกันแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งได้ความว่า โจทก์เคยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมฤดกรายนี้ จำเลยคัดค้านแล้วโจทก์ได้มีหนังสือถึงทนาย ขอให้ถอนคำร้องนั้นเสีย หนังสือที่โจทก์ทำให้ทนายความไว้มีความว่า ตามที่ได้ว่าจ้างให้ดำเนินคดีเป็นผู้จัดการมฤดกนายจี๋, นางแดง บัดนี้ได้ตกลงปราณีประนอมกันแล้ว จึงไม่ติดใจจะดำเนินคดีต่อไป ขอให้ไปแถลงต่อศาลขอเลิกคดี ดังนี้ย่อมหมายความว่า ปราณีประนอมกับอีกฝ่ายหนึ่งในทางคดี ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่มีข้อความใดแสดงว่า ได้ปราณีประนอมแบ่งมฤดกแล้ว จึงไม่เป็นหลักฐานของการแบ่งมฤดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเสียชีวิตของผู้รับพินัยกรรมก่อนเจ้ามรดกและการบังคับใช้มาตรา 1699 และ 1620 วรรคสอง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีความว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายแล้วขอยกทรัพย์สมบัติให้แก่ ร. และส. โดยให้คนละครึ่งเท่าๆ กันผู้อื่นจะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์ของตนไม่ได้ ปรากฏว่า ร. ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกให้ ร. จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบกับมาตรา 1620 วรรคสอง คือเมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม ก็ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก
การรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม
การรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม