คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้ถอนฟ้องและการผิดคำรับรอง ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือแจ้งความเท็จ
การที่จำเลยหลอกลวงให้เขาถอนคำร้องทุกข์และถอนฟ้องนั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง และที่จำเลยรับต่อศาลว่าจะคืนจะแบ่งทรัพย์มรดกให้เขาแล้ว ไม่ปฏิบัติตาม ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ เป็นแต่เพียงผิดคำรับรองไว้
คำฟ้องในคดีอาญาไม่ใช่หนังสือสำคัญตาม กฎหมายลักษณะอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้ถอนฟ้อง และผิดคำรับรอง ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือแจ้งความเท็จ
การที่จำเลยหลอกลวงให้เขาถอนคำร้องทุกข์และถอนฟ้องนั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง และที่จำเลยรับต่อศาลว่าจะคืนจะแบ่งทรัพย์มฤดกให้เขาแล้ว ไม่ปฏิบัติตาม ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ เป็นแต่เพียงผิดคำรับรองไว้
คำฟ้องในคดีอาญาไม่ใช่หนังสือสำคัญตาม ก.ม.ลักษณะอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนและคณะกรรมการสอบสวน ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ แม้ฟ้องไม่ระบุคำว่า 'เจ้าพนักงาน'
พนักงานสอบสวน และคณะกรรมการผู้ทำการสอบสวน ซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นโดยทางราชการถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
ในเรื่องฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ฟ้องของโจทก์ระบุว่าแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้ไม่มีคำว่าเจ้าพนักงาน ก็ลงโทษฐานแจ้งความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ: ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้และเหตุผลของผู้ถูกกล่าวหา
โจทก์ฟ้อง ฉ.จำเลยฐานแจ้งความเท็จว่า โจทก์ยักยอกทรัพย์ของ ฉ. ศาลตัดสินยกฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องแก้เกี้ยวข้อหาของโจทก์ฟังไม่ได้ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้หาว่า ฉ.จำเลยจงใจแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ ดังนี้ เมื่อศาลได้ชี้ขาดใดคดีก่อนแล้วว่า ฉ.ไม่ได้แจ้งความเท็จในคดีนี้ ก็ต้องฟังว่า ฉ.ไม่ได้แจ้งความเท็จ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดในการที่จำเลยเบิกความ แต่ตามฟ้องไม่อาจทราบได้ว่าที่จำเลยเบิกความไปนั้นเป็นการเบิกความเท็จ หรือการเบิกความเช่นนั้นเป็นไปโดยเลินเล่อ เพราะถึงแม้จำเลยจะเบิกความไม่ถูกต้องกับความจริง ก็มีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจผิดเช่นนั้นก็ได้ ซึ่งไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ฉะนั้นฟ้องโจทก์จึงยังไม่เป็นฟ้องที่จะให้จำเลยต้องรับผิดฐานละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ: ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงจากคดีก่อน และความน่าเชื่อถือของเหตุผลในการเบิกความ
โจทก์ฟ้อง ฉ.จำเลยฐานแจ้งความเท็จว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของฉ. ศาลตัดสินยกฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องแก้เกี้ยวข้อหาของโจทก์ฟังไม่ได้ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้หาว่า ฉ. จำเลยจงใจแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ ดังนี้ เมื่อศาลได้ชี้ขาดในคดีก่อนแล้วว่า ฉ. ไม่ได้แจ้งความเท็จในคดีนี้ ก็ต้องฟังว่า ฉ. ไม่ได้แจ้งความเท็จ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดในการที่จำเลยเบิกความ แต่ตามฟ้องไม่อาจทราบได้ว่าที่จำเลยเบิกความไปนั้นเป็นการเบิกความเท็จ หรือการเบิกความเช่นนั้นเป็นไปโดยเลินเล่อ เพราะถึงแม้จำเลยจะเบิกความไม่ถูกต้องกับความจริง ก็มีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจผิดเช่นนั้นก็ได้ ซึ่งไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้นฟ้องโจทก์จึงยังไม่เป็นฟ้องที่จะให้จำเลยต้องรับผิดฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ: ฟ้องขาดองค์ความผิด ศาลไม่รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าความจริงของเรื่องมีอย่างไร โจทก์จะมากล่าวเสนอความจริงในชั้นฎีกาว่าความจริงของเรื่องที่โจทก์ฟ้องเป็นอย่างไรนั้นศาลรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะได้ประทับฟ้องของโจทก์และเรียกจำเลยแก้คดีแล้วก็ตาม เมื่อความจริงในที่สุดปรากฏว่าฟ้องขาดองค์ความผิด ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ความผิดฟ้องแจ้งความเท็จ/พยานเท็จ: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนครบถ้วน ศาลไม่รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในชั้นฎีกา
ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าความจริงของเรื่องมีอย่างไร โจทก์จะมากล่าวเสนอความจริงในชั้นฎีกาว่าความจริงของเรื่องที่โจทก์ฟ้องเป็นอย่างไรนั้น ศาลรับฟังไม่ได้.
แม้ศาลจะได้ประทับฟ้องของโจทก์และเรียกจำเลยแก้คดีแล้วก็ตามเมื่อความจริงในที่สุดปรากฏว่าฟ้องขาดองค์ความผิด ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้บทลงโทษต่างกัน ศาลยกฟ้องตามหลักกฎหมายอาญามาตรา 39(4)
จำเลยนำเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จไปแจ้งและร้องเรียนต่อปลัดอำเภอว่า ฮ. กับพวกปล้นทรัพย์ ปลัดอำเภอจึงจับ ฮ.กับพวกควบคุมไว้ โจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ซึ่งศาลได้พิพากษาลงโทษไปแล้ว ดังนี้ โจทก์จะมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้ ฮ. กับพวกเสื่อมเสียอิสสระภาพไม่ได้เพราะการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดกฎหมายหลายบท โจทก์ได้เลือกฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทใดบทหนึ่งเสร็จไปแล้ว ต้องวินิจฉัยว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดของจำเลย ซึ่งโจทก์ได้เลือกฟ้องนั้นแล้ว ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 39 (4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้จะใช้บทกฎหมายอื่น โจทก์เลือกฟ้องบทใดแล้วถือเป็นที่สุด
จำเลยนำเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จไปแจ้งและร้องเรียนต่อปลัดอำเภอว่า ฮ. กับพวกปล้นทรัพย์ปลัดอำเภอจึงจับฮ. กับพวกควบคุมไว้ โจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ซึ่งศาลได้พิพากษาลงโทษไปแล้ว ดังนี้โจทก์จะมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้ ฮ. กับพวกเสื่อมเสียอิสรภาพไม่ได้ เพราะการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดกฎหมายหลายบท โจทก์ได้เลือกฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทใดบทหนึ่งเสร็จไปแล้ว ต้องวินิจฉัยว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดของจำเลยซึ่งโจทก์ได้เลือกฟ้องนั้นแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเรื่องมรดก: จำเลยต้องรู้ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จึงถือว่าจงใจแจ้งเท็จได้
ในคดีที่โจทก์อ้างว่าเป็นบุตรผู้ตาย หาว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอรับมฤดกที่ดินโดยกล่าวว่าผู้ตายไม่มีบุตร ไม่มีเมียนั้น เมื่อคดีไม่มีเหตุพอจะฟังว่าจำเลยได้รู้ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย ก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยจงใจแจ้งเท็จ จำเลยย่อมไม่มีผิด
of 13