คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 304

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินที่ผู้เสียหายเสียไป และอำนาจการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้น เมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไปทรัพย์สินที่ผู้เสียหารศูนย์เสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้ศูนย์เสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้ศูนย์หายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้ มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยศูนย์ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และการพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามศาลชั้นต้นในประเด็นฉ้อโกงและจำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-435/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนผู้จัดการนิติบุคคล: เมื่อการกระทำมีมูลความผิดอาญา แม้เป็นกิจการบริษัท ก็สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้จัดการของนิติบุคคลกระทำการซึ่งมีมูลเป็นความผิดทางอาญา แม้จะกระทำในกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้จัดการนั้นก็อาจถูกควบคุมในระหว่างสอบสวนได้ในเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: ใช้กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิด และอายุความร้องทุกข์ต้องอยู่ในบังคับอายุความฟ้อง
ถ้าอายุความฟ้องคดีอาญาขณะกระทำผิดแตกต่างกับขณะฟ้อง ต้องใช้อายุความที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดบังคับ
ความผิดอันยอมความได้ ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้น ขาดอายุความตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 80 แต่ก็ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามกฏหมายลักษณะอาญา มาตรา 78 เพราะอายุความร้องทุกข์ต้องอยู่ในบังคับอายุความฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: ใช้กฎหมายที่ใช้ ณ เวลาทำผิด และมาตรา 80 อยู่ในบังคับมาตรา 78
ถ้าอายุความฟ้องคดีอาญาขณะกระทำผิดแตกต่างกับขณะฟ้องต้องใช้อายุความที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดบังคับ
ความผิดอันยอมความได้ ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะขาดอายุความ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 80 แต่ก็ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78 เพราะอายุความร้องทุกข์ต้องอยู่ในบังคับอายุความฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินกู้แล้วไม่สลักหลังสัญญา ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ เพราะกรรมสิทธิ์ในเงินเป็นของเจ้าหนี้
การที่เจ้าหนี้ได้รรับต้นเงินและดอกเบี้ยมาแล้วไม่สลักหลังในสัญญากู้ตามที่รับฝากไว้กับลูกหนี้นั้น ไม่ผิดฐานฉ้อโกง และเมื่อเอาเงินดังว่านี้ไปเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่นนั้นก็ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะเงินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การสะดุดหยุดของอายุความเมื่อมีการอุทธรณ์ และการนับอายุความใหม่เมื่อถอนอุทธรณ์
จำเลยทำผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2492 และถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2492 ให้ยกฟ้อง อ้างว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ได้ โจทก์และจำเลยได้ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2493 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาเมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2498 จากวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 ยังไม่ล่วงพ้นกำหนด5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะระหว่างที่จำเลยยังอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงพระนครใต้อยู่นั้น ต้องถือว่าคดีที่จำเลยถูกฟ้องนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 79 ถือว่าอายุความยังสะดุดหยุดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่จำเลยได้ฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ คือ วันที่ 16 ตุลาคม 2493 ที่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่17/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การอุทธรณ์คดีทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าจะมีคำสั่งศาลอุทธรณ์
จำเลยทำผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2492 และถูกฟ้องที่ศาลแขวง พระนครใต้ ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2492 ให้ยกฟ้อง อ้างว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ได้ โจทก์ และจำเลยได้ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2493 โจทก์ยืนฟ้องจำเลย ต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 จากวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 ยังไม่ล่วงพ้น กำหนด 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะระหว่างก็ที่จำเลย ยังอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลแขวงพระนครใต้อยู่นั้น ต้องถือว่าคดีมีจำเลยถูกฟ้องนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 79 ถือว่าอายุความยังสดุดหยุดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่ จำเลยได้ฟังคำสั่ง ของศาลอุทธรณ์ คือวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ที่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญาฐานฉ้อโกง กรณีเช็คผู้อื่น การบรรยายฟ้องที่อธิบายทั้งความเท็จและความจริงไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยแสดงเท็จโดยออกเช็คแลกเอาเงินสดของผู้เสียหายไป แต่ความจริงกลับเป็นว่าเช็คนั้นเป็นเช็คในบัญชีชื่อบุคคลที่ 3 ลายเซ็นชื่อในเช็คไม่ใช่ลายมือชื่อบุคคลที่ 3 ทั้งไม่มีเงินจ่ายตามเช็ค อีกนัยหนึ่ง ก็คือ จำเลยออกเช็คว่าเป็นของจำเลย แต่ความจริงกลับเป็นเช็คของคนอื่น จึงไม่มีการจ่ายเงิน และฟ้องกล่าวพร้อมด้วยองค์ประกอบอื่นๆ ตามกฎหมายแล้วย่อมเป็นฟ้องฐานฉ้อโกงถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงขายที่ดินแปลงอื่น การคืนเงินและสิทธิในที่ดิน
จำเลยขายที่ดินให้ผู้เสียหาย โดยนำชี้ที่ดินแปลงอื่นว่าเป็นที่ดินตามโฉนดที่ซื้อขายกัน ซึ่งความจริงที่ตามโฉนดมีราคาซื้อขายต่ำกว่าที่นำชี้มาก โจทก์จึงฟ้องหาว่าจำเลยฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปคืนแก่ผู้เสียหาย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ต้องคืนเงินให้ผู้เสียหาย ส่วนที่ดินนั้น จำเลยก็ต้องดำเนินการตามสิทธิของจำเลยต่อไป
of 18