คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 304

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเฉพาะตัวจำเลย ไม่กระทบความรับผิดของจำเลยอื่น
ในคดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยทำสัญญายอมจะใช้เงินแก่ผู้เสียหาย แล้วก็ไม่ชำระตามกำหนดนัด ผู้เสียหายย่อมร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อไปได้
จำเลยบางคนทำสัญญายอมจะใช้เงินทั้งหมดแก่ผู้เสียหายคดีจะระงับหรือไม่ ก็เกี่ยวกับจำเลยเช่นว่านั้นโดยเฉพาะตัวเท่านั้นไม่พลอยไปถึงจำเลยอื่นๆ แม้อยู่ในคดีเดียวกันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดชอบของจำเลยแต่ละคน
ในคดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยทำสัญญายอมจะใช้เงินแก่ผู้เสียหาย แล้วก็ไม่ชำระตามกำหนดนัด ผู้เสียหายย่อมร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อไปได้
จำเลยบางคนทำสัญญายอมจะใช้เงินทั้งหมดแก่ผู้เสียหาย คดีจะระงับหรือไม่ ก็เกี่ยวกับจำเลย เช่นว่านั้นโดยเฉพาะตัวเท่านั้น ไม่พลอยไปถึงจำเลยอื่น ๆ แม้อยู่ในคดีเดียวกันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เข้าข่ายฉ้อโกงต้องมีการหลอกลวงเป็นสาระสำคัญ การรับว่าจะทำสิ่งใดแล้วไม่ทำไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์กล่าวฟ้องว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงเอาความเท็จมากล่าวแก่ผู้เสียหายว่าจำเลยร้อนเงิน ขอยืมเข็มขัดนาคไปจำนำก่อนเพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ วันรุ่งขึ้นจะจัดการไถ่คืนให้ ซึ่งความจริงจำเลยไม่ได้มีเจตนาจะนำเข็มขัดนาคไปจำนำและจัดการไถ่คืนให้ผู้เสียหายดังกล่าว แต่จำเลยมีเจตนาจะเอาเข็มขัดนาคนั้นเสียเลย ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงมอบเข็มขัดนาคของผู้เสียหายให้จำเลยไป แล้วจำเลยเอาเข็มขัดนาคสายนี้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย
การบรรยายฟ้องเช่นนี้ ไม่เป็นฟ้องฐานฉ้อโกง ในฟ้องแสดงเพียงว่าจำเลยรับจะทำอะไรแล้วไม่ทำตามรับเท่านั้น การไม่ทำตามรับเช่นนี้ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง แม้ในฟ้องมีคำว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง แต่เมื่ออ่านฟ้องโดยตลอดจะพบว่า ไม่มีการหลอกลวงอันเป็นความผิดอาญา.
(ประชุมครั้งใหญ่ 11/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: การรับว่าจะทำแต่ไม่ทำตาม ไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หากไม่มีเจตนาหลอกลวงตั้งแต่แรก
โจทก์กล่าวฟ้องว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงเอาความเท็จมากล่าวแก่ผู้เสียหายว่าจำเลยร้อนเงิน ขอยืมเข็มขัดนาคไปจำนำก่อนเพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ วันรุ่งขึ้นจะจัดการไถ่คืนให้ ซึ่งความจริงจำเลยไม่ได้มีเจตนาจะนำเข็มขัดนาคไปจำนำและจัดการไถ่คืนให้ผู้เสียหายดังกล่าวแต่จำเลยมีเจตนาจะเอาเข็มขัดนาคนั้นเสียเลยผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบเข็มขัดนาคของผู้เสียหายให้จำเลยไปแล้วจำเลยเอาเข็มขัดนาคสายนี้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียการบรรยายฟ้องเช่นนี้ ไม่เป็นฟ้องฐานฉ้อโกงในฟ้องแสดงเพียงว่าจำเลยรับจะทำอะไรแล้วไม่ทำตามรับเท่านั้นการไม่ทำตามรับเช่นนี้ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงแม้ในฟ้องมีคำว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง แต่เมื่ออ่านฟ้องโดยตลอดจะพบว่า ไม่มีการหลอกลวงอันเป็นความผิดอาญา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกง: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด, ศาลพิจารณาโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกงจากกฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายอาญาและผลกระทบต่อตัวการ-ผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มี ความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดบัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้นเป็นอันยกเลิกไปเสียแล้วและที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้นอันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้วซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดและเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.341 ประกอบด้วย ม.86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลอกลวงขายน้ำมนต์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า 'จำเลยใช้อุบายหลอกลวง โดยเอาความเท็จมากล่าวว่าจำเลยสามารถใช้วิทยาอาคมทำน้ำธรรมดาให้เป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดให้หายได้ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้พวกเจ้าทุกข์ส่งเงินให้แก่จำเลย'และว่า'จำเลยใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวว่าจำเลยมีความสามารถใช้วิทยาคมได้'
และว่า' จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าน้ำมนต์ที่จำเลยทำสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดให้หายได้' เหล่านี้ย่อมชัดแจ้งตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลอกลวงประชาชนด้วยการอ้างวิทยาคมและขายน้ำมนต์ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยใช้อุบายหลอกลวง โดยเอาความเท็จมากล่าวว่าจำเลยสามารถใช้วิทยาอาคมทำน้ำธรรมดาให้เป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดให้หายได้ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้พวกเจ้าทุกข์ส่งเงินให้แก่จำเลย"
และว่า "จำเลยใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวว่า จำเลยมีความสามารถใช้วิทยาคมได้"
และว่า "จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าน้ำมนต์ที่จำเลยทำสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดให้หายได้" เหล่านี้ย่อมชัดแจ้งตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกงต้องเกิดจากการหลงเชื่อจำเลยโดยตรง หากผู้เสียหายหลงเชื่อผู้อื่นและส่งทรัพย์ให้ผู้นั้น ไม่ถือว่าเสียหายจากการฉ้อโกงของจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงในท้องสำนวนปรากฏว่า ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่ผู้แทนผู้เสียหายไปรับจำนองแทนผู้เสียหาย เพราะเชื่อตามที่ผู้แทนบอกเช่นนี้ และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าผู้เสียหายหลงเชื่อจำเลย ดังนี้เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความจริง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียใหม่ให้ตรงความจริงได้
เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ร้องทุกข์ มิได้เสียหายเนื่องจากหลงเชื่อการกระทำของจำเลยแล้ว ก็ย่อมขาดองค์สำคัญแห่งความผิดฐานฉ้อโกง จะลงโทษจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบทรัพย์โดยความเข้าใจผิด ไม่ถือเป็นลักทรัพย์ แต่เป็นฉ้อโกง
หัวผักกาดที่เจ้าทรัพย์มอบให้บุคคลอื่นครอบครอง บุคคลอื่นยินยอมให้จำเลยเอาไปได้โดยดี เพราะหลงเชื่อในถ้อยคำของจำเลยที่อ้างว่าเจ้าของให้มาเอาไปขาย และหลงเชื่อในอาการที่จำเลยเป็นคนมาติดต่อขอซื้อและจำเลยเป็นคนพูดจาฝากหัวผักกาดเหล่านั้นไว้ โดยผู้ครอบครองมิได้รู้ถึงความจริงว่าหัวผักกาดเหล่านั้นเป็นของผู้ใดกันแน่ กรณีเช่นนี้จะเป็นความผิดอาญาก็เป็นเรื่องฉ้อโกงหาใช่ฐานลักทรัพย์ไม่
ฟ้องว่าลักทรัพย์พิจารณาได้ความว่ากระทำผิดฐานฉ้อโกงต้องยกฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192
of 18