พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอน การฉ้อโกงต้องมีผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของสุกรต่างจังหวัดเคยให้พ่อตาคุมสุกรมาขายให้โจทก์ที่กรุงเทพฯ ในคราวเกิดเหตุก็ให้พ่อตาควบคุมสุกรมากรุงเทพฯอีก ในใบอินวอยส่งในนามชื่อยี่ห้อโจทก์เป็นผู้รับ แต่เมื่อถึงกรุงเทพฯแล้ว พ่อตากลับเอาสุกรไปขายผู้อื่นเสีย ดังนี้ วินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอนไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ใช่ผู้เสียหาย และยังไม่เป็นกรณีฉ้อโกงโจทก์ตามกฎหมายลักษณะอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฉ้อโกงต้องระบุความจริงควบคู่ความเท็จ หากระบุแต่ความเท็จ ฟ้องไม่สมบูรณ์
ข้อเท็จจริงที่ต้องกล่าวในฟ้องฐานฉ้อโกงนั้น ต้องกล่าวไม่เฉพาะแต่ความเท็จ จำต้องกล่าวถึงความจริงว่าเป็นประการใดด้วย ถ้ามีแต่ความเท็จอย่างเดียว ส่วนความจริงไม่ปรากฏ ก็เป็นฟ้องไม่สมบูรณ์ ตามคำพิพากษาฎีกาที่1048/2493
ฟ้องในข้อหาฐานฉ้อโกงที่กล่าวแต่ความเท็จ ไม่ได้กล่าวว่าความจริงเป็นประการใดด้วยนั้น ถ้าพอจะค้นหาความจริงได้ในฟ้องข้อนั้นเองหรือในฟ้องข้ออื่นแล้ว ศาลก็ย่อมหยิบยกเอาความจริงที่ค้นมาได้นั้น มาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์หาว่าจำเลยกล่าวเท็จนั้นเป็นเท็จจริงหรือไม่
ฟ้องข้อ 1 กล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงโดยเอาความเท็จมากล่าวฟ้องข้อ 2 ว่า ถึงกำหนดแล้วจำเลยหาได้นำทรัพย์ที่เอาไปคืนให้โจทก์ไม่ ดังนี้เป็นเรื่องผิดคำรับรองหรือผิดสัญญาในทางแพ่ง เพราะโจทก์ไม่ได้ยืนยันมาในฟ้องว่าจำเลยได้ตั้งใจจะไม่คืนทรัพย์ให้แก่โจทก์มาตั้งแต่ต้นเพียงแต่ถึงกำหนดแล้ว ไม่คืนจะว่าเป็นความเท็จมาแต่ต้นย่อมไม่ได้ ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
ฟ้องในข้อหาฐานฉ้อโกงที่กล่าวแต่ความเท็จ ไม่ได้กล่าวว่าความจริงเป็นประการใดด้วยนั้น ถ้าพอจะค้นหาความจริงได้ในฟ้องข้อนั้นเองหรือในฟ้องข้ออื่นแล้ว ศาลก็ย่อมหยิบยกเอาความจริงที่ค้นมาได้นั้น มาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์หาว่าจำเลยกล่าวเท็จนั้นเป็นเท็จจริงหรือไม่
ฟ้องข้อ 1 กล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงโดยเอาความเท็จมากล่าวฟ้องข้อ 2 ว่า ถึงกำหนดแล้วจำเลยหาได้นำทรัพย์ที่เอาไปคืนให้โจทก์ไม่ ดังนี้เป็นเรื่องผิดคำรับรองหรือผิดสัญญาในทางแพ่ง เพราะโจทก์ไม่ได้ยืนยันมาในฟ้องว่าจำเลยได้ตั้งใจจะไม่คืนทรัพย์ให้แก่โจทก์มาตั้งแต่ต้นเพียงแต่ถึงกำหนดแล้ว ไม่คืนจะว่าเป็นความเท็จมาแต่ต้นย่อมไม่ได้ ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกง: ความสมบูรณ์ของฟ้อง แม้ขาดรายละเอียดวันเวลาที่ทราบการกระทำผิด
ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้ในฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่าได้ทราบว่าจำเลยกระทำผิด วันเดือนปีใด ก็ตาม เมื่อฟ้องข้ออื่นสมบูรณ์แล้ว ก็หาทำให้ฟ้องโจทก์ถึงกับเคลือบคลุมไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายนั้น เป็นเพียงแต่ข้อนำสืบต่อไปว่า ได้ทราบว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อใดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีฉ้อโกง แม้ขาดรายละเอียดวันเดือนปีที่ทราบถึงความผิด
ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้ในฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่าได้ทราบว่าจำเลยกระทำผิดวันเดือนปีใด ก็ตาม เมื่อฟ้องข้ออื่นสมบูรณ์แล้วก็หาทำให้ฟ้องโจทก์ถึงกับเคลือบคลุมไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายนั้น เป็นเพียงแต่ข้อนำสืบต่อไปว่าได้ทราบว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อใดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกง: การบรรยายฟ้องที่มุ่งเน้นเจตนาทุจริตและความครบถ้วนขององค์ประกอบความผิด
ฟ้องบรรยายว่า "วันที่ 8 ก.พ. 93 เวลากลางวัน จำเลยกล่าวเท็จหลอกลวงโจทก์ว่า มีคนต้องการซื้อผ้า จำเลยขอรับผ้าไปถ้าขายได้จะนำเงินมาให้ ถ้าขายไม่ได้จะนำผ้ามาคืนในวันที่ 9 เดือนเดียวกันโจทก์หลงเชื่อ จึงมอบผ้าให้จำเลยรับไป ครั้นถึงวันเวลากำหนด จำเลยไม่นำเงินหรือผ้ามาคืน" และในตอนท้ายบรรยายว่า " ในระหว่างวันที่ 8-9 ก.พ. 93 เวลาใดไม่ปรากฏ จำเลยมีเจตนาทุจริต ยักยอกทรัพย์รายนี้ " ดังนี้ เป็นฟ้องที่โจทก์มุ่งหมายบรรยายหนักไปทางว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม และสมบูรณ์ เป็นฟ้องฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องฐานฉ้อโกง: การบรรยายความผิดฐานฉ้อโกงต้องชัดเจนและครบถ้วน
ฟ้องบรรยายว่า "วันที่ 8 ก.พ. 93 เวลากลางวัน จำเลยกล่าวเท็จหลวงลวงโจทก์ว่า มีคนต้องการซื้อผ้า จำเลยขอรับผ้าไปถ้าขายได้จะนำเงินมาให้ ถ้าขายไม่ได้จะนำผ้ามาคืนในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โจทก์หลงเชื่อ จึงมอบผ้าให้จำเลยรับไป ครั้งถึงวันเวลากำหนด จำเลยไม่นำเงินหรือผ้ามาคืน" และในตอนท้ายบรรยายว่า "ในระหว่างวันที่ 8 - 9 ก.พ.93 เวลาใดไม่ปรากฎ จำเลยมีเจตนาทุจริต ยักยอกทรัพย์รายนี้" ดังนี้ เป็นฟ้องที่โจทก์มุ่งหมายบรรยายหนักไปทางว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ไม่เป็นฟ้องเคลือคลุม และสมบูรณ์ เป็นฟ้องฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงซื้อขายและการเป็นผู้เสียหาย: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนถูกหลอกลวง ย่อมเป็นผู้เสียหาย
จำเลยได้หลอกลวงขอซื้อน้ำอัดลมไปจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด แล้วไม่ยอมชำระราคา กลับปฏิเสธว่าไม่ได้มาติดต่อขอซื้อน้ำอัดลม ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จัดการนั้นเป็นผู้เสียหาย เพราะเป็นผู้ถูกหลอกลวง ส่วนน้ำอัดลมจะเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือไม่ หาเป็นเหตุกระทำให้ผู้จัดการ ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่แล้วกลายเป็นมิใช่ผู้เสียหายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกง: การหลอกลวงเกี่ยวกับกรรมสิทธิในทรัพย์สินและการแสดงเจตนาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ฟ้องหาว่า จำเลยยักยอกทรัพย์ แต่มิได้ระบุวันเวลาที่กล่าวหา เป็นแต่ระบุเดือนปีที่กล่าวหาทั้งเดือน และไม่ได้บรรยายด้วยว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใด ๆ นั้น ศาลย่อมไม่รับพิจารณาข้อหาฐานยักยอกทรัพย์
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ ๆ หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวหาว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบกับฟ้อง+++ ข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าของจำเลย ปรากฎว่าสิ่งของทั้งหมดไม่ได้อยู่ในร้าน ถามจำเลยๆว่าของ++ เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ++ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 304 ได้.
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ ๆ หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวหาว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบกับฟ้อง+++ ข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าของจำเลย ปรากฎว่าสิ่งของทั้งหมดไม่ได้อยู่ในร้าน ถามจำเลยๆว่าของ++ เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ++ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 304 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดชัดเจน และการหลอกลวงขายของเป็นความผิดตามกฎหมาย
ฟ้องหาว่า จำเลยยักยอกทรัพย์ แต่มิได้ระบุวันเวลาที่กล่าวหา เป็นแต่ระบุเดือนปีที่กล่าวหาทั้งเดือน และไม่ได้บรรยายด้วยว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใดๆ นั้นศาลย่อมไม่รับพิจารณาข้อหาฐานยักยอกทรัพย์
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ โจทก์หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวว่าหลงเชื่อว่าอย่างไรก็พอเข้าใจได้ว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบฟ้องอีกข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าจำเลย ปรากฏว่าสิ่งของทั้งหมดไม่มีอยู่ในร้าน ถามจำเลยจำเลยว่าของเหล่านี้เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ โจทก์หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวว่าหลงเชื่อว่าอย่างไรก็พอเข้าใจได้ว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบฟ้องอีกข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าจำเลย ปรากฏว่าสิ่งของทั้งหมดไม่มีอยู่ในร้าน ถามจำเลยจำเลยว่าของเหล่านี้เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยแสดงตนเท็จและหลอกลวงให้เชื่อว่าจะจัดตั้งบริษัท
จำเลยกล่าวเท็จให้ผู้อื่นจองหุ้นบริษัทหนึ่ง ซึ่งจำเลยอ้างตนว่าเป็นผู้อำนวยการบริษัท จนผู้อื่นเชื่อถือส่งเงินค่าจองหุ้นครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลย แต่จำเลยเพิ่งนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนภายหลังซึ่งคนอื่นๆ เข้าใจว่าจำเลยได้ตั้งเป็นบริษัทแล้ว และต่อจากนั้นจำเลยก็มิได้ดำเนินการต่อไปให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจัดตั้งบริษัทให้เป็นนิติบุคคลขึ้น กิจการที่จำเลยดำเนินอยู่ไม่มีอะไร และศาลฟังได้ว่าจำเลยมีแผนการจะฉ้อโกงมาแต่ต้น จำเลยตั้งบริษัทขึ้นเป็นพิธีบังหน้าเพื่อการทุจริตของจำเลยเท่านั้น ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานฉ้อโกง