พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน, ประเด็นนอกฟ้อง, และขอบเขตการบังคับคดี
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสาม และ ด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใด ต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมา ด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7674/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดินจากการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและการฟ้องคืนการครอบครองเกิน 1 ปี
ผู้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นอาจบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน โดยจะเอาทรัพย์สินเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ก็ได้การบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือเช่นนี้ถือเป็นการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้ายื้อแย่ง เมื่อโจทก์ทั้งสามไปขอออก น.ส.3 ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองไปคัดค้านว่าเป็นที่ดินของตน จึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถออกน.ส.3 ได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามแล้วและถือว่าจำเลยทั้งสองได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือเพื่อเอาที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามโจทก์ทั้งสามจึงต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลวินิจฉัยผิดประเด็นเมื่อพิจารณาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองจากการแย่งการครอบครอง ทั้งที่คำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่636/103 อีก 1 ฉบับ ซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง จำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้คำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานการครอบครองที่ดินจากยึดถือแทนเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง มีผลต่อสิทธิการครอบครอง
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วนต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 636/103 อีก 1 ฉบับซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายโดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ครอบครอง
บ.เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ.ผู้จะขายกับ บ.ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ.กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ.และผู้ร้องก็เข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ. ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่าบ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1381 ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ.แม้ บ.จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ.ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ.และโดยอาศัยสิทธิของบ.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์หากผู้ขายยังไม่ได้โอน
บ. เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ. ผู้จะขายกับ บ. ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ. กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ. และผู้ร้องก็จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ.ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่า บ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ. แม้ บ. จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ. ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ. และโดยอาศัยสิทธิของ บ. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการสืบสิทธิมรดก
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่งและป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการรับมรดก การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่ง และป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า ป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการครอบครองปรปักษ์ เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง เมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่ครึ่งหนึ่ง และ ป.บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมก็หาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่า ป.หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์