พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: เจตนาครอบครองแทนโจทก์และการแจ้งให้ทราบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินพิพาทคดีนี้ตามจำนวนเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งจำเลยเคยฟ้องโจทก์ให้ไปจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยทราบดีมาก่อนแล้วแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยอยู่อาศัยที่โจทก์ฟ้องนั้นอยู่ส่วนไหนของที่ดินและมีจำนวนเนื้อที่เท่าไหร่ก็ตาม ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
เหตุที่จำเลยอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์สืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลย ซึ่งจำเลยได้อยู่อาศัยมาก่อนโดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้น ยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด ซึ่งฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอยู่ ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามา จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเองเหตุที่ว่านี้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็โดยจำเลยจะต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือการครอบครองแทนโจทก์ได้ก็โดยจำเลยจะต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
เหตุที่จำเลยอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์สืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลย ซึ่งจำเลยได้อยู่อาศัยมาก่อนโดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้น ยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด ซึ่งฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอยู่ ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามา จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเองเหตุที่ว่านี้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็โดยจำเลยจะต้องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือการครอบครองแทนโจทก์ได้ก็โดยจำเลยจะต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองเพื่ออ้างอายุความ
ก่อนหน้าคดีนี้จำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลยโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้นยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฉะนั้น การครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเอง จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์อีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันในคดีครอบครองที่ดิน ทำให้ขาดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การในตอนแรกว่า ที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ตามฟ้องของโจทก์ เป็นที่ดินต่างแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์ แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า ถึงแม้ที่ดินตามฟ้องจะเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองคดีของโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความ การงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา นับแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งตามคำให้การของจำเลยทั้งสามในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และจำเลยที่ 3 ก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์แต่ประการใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีไปกว่าโจทก์ คดีจึงสามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งแยกนั้นประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งโจทก์สามารถนำคำพิพากษาไปดำเนินการตามขั้นตอนได้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินให้แต่อย่างใดจึงต้องยกคำขอในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9680/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดหลักฐานหักล้างการครอบครอง ทำให้โจทก์ไม่มีทางชนะคดี
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างการครอบครองของจำเลยว่าจำเลยขอ ส.ปลูกบ้านเพื่อสนับสนุนคำฟ้อง โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือและได้มีการฟ้องคดีภายใน 1 ปีหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9680/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ผู้ครอบครองมีสิทธิเหนือผู้จัดการมรดกหากไม่สามารถพิสูจน์การขออาศัยได้
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างการครอบครองของจำเลยว่าจำเลยขอส. ปลูกบ้านเพื่อสนับสนุนคำฟ้องโจทก์จึงไม่มีทางชนะคดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือและได้มีการฟ้องคดีภายใน1ปีหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกของทายาท
เดิม ป.เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม 6 แปลง เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้ง จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดก ทั้ง 6 แปลง ดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิง ส.บุตรของ ป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่ จ.ได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง มาเป็นของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่า จ.ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้ เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนั้น การที่ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งหมด ก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ จึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1720, 823 เมื่อ จ.ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกัน ก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น จึงจะนำอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้
จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคน จึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิง ส.ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก 1 ปี และ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748เมื่อ จ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิง ส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิง ส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้
จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคน จึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิง ส.ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก 1 ปี และ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748เมื่อ จ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิง ส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิง ส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ ทายาทมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้จะพ้นอายุความมรดก
เดิมป. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม6แปลงเมื่อป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้งจ.เป็นผู้จัดการมรดกของป. และจ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดกทั้ง6แปลงดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิงส. บุตรของป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วยแม้ภายหลังจากที่จ. ได้โอนที่พิพาททั้ง6แปลงมาเป็นของจ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้วจ. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง6แปลงไปให้แก่จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่าจ. ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381ดังนั้นการที่จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่2ทั้งหมดก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจจึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1720,823เมื่อจ. ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกันก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้ จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคนจึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิงส. ด้วยเมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกันโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก1ปีและ10ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754บัญญัติไว้ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1748เมื่อจ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง6แปลงไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่2ไปโดยไม่ชอบโจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิงส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิงส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การขอไถ่ถอนไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครอง
ฝ่ายจำเลยเคยขอไถ่ถอนการขายฝากก่อนครบกำหนด แต่โจทก์ ไม่ยอมให้ไถ่เป็นกรณีโจทก์ผิดสัญญา ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยจะเอาที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยเองแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามโอนที่ดินและสิทธิครอบครอง: สัญญาฝ่าฝืนเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอนก็ยังต้องพิสูจน์การสละสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่ 25สิงหาคม 2520 สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2523 จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่ เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอน หลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี และมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง