พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะและการยอมความของผู้เสียหาย ไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีอาญา
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชดใช้ให้แก่ผู้ร้องทั้งสองจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นการยอมความ อันจะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวระงับไป แต่มีผลทำให้คดีในส่วนแพ่งของผู้ร้องทั้งสองที่ยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ระงับไปเท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปืนแบลงค์กันไม่ใช่ 'อาวุธปืน' ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แต่เป็น 'สิ่งเทียมอาวุธปืน' การครอบครองไม่ผิดกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องว่า ปืนแบลงค์กันของกลางเป็นอาวุธปืนที่ใช้ยิงทำอันตรายแก่ร่างกายได้ และจำเลยให้การรับสารภาพ และศาลอาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ปืนแบลงค์กันของกลางเป็นอาวุธปืนตามมาตรา 4 (1) หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แล้วส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ศาลฎีกาย่อมรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้
เมื่อปืนแบลงค์กันของกลางไม่มีการดัดแปลงลำกล้อง สภาพภายในลำกล้องมีเหล็กแกนขวางไม่อาจส่งกระสุนออกมาจากลำกล้องได้ ไม่สามารถใช้ร่วมกับกระสุนปืนจริงได้ เมื่อยิงกับกระสุนปืนแบลงค์กันมีผลเพียงเกิดเสียง เปลวไฟ แรงระเบิด แรงดัน จากการเผาไหม้ดินดอกไม้เพลิงพุ่งออกมาจากปลายลำกล้องเท่านั้น ไม่มีหัวกระสุนปืนออกจากปากลำกล้อง แสดงให้เห็นจุดประสงค์ในการทำหรือประกอบปืนแบลงค์กันขึ้นโดยมิได้ให้เป็นอาวุธปืนที่ใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน โดยประสงค์ใช้ยิงให้เกิดเสียงดังและมีเปลวไฟจากการยิงเท่านั้น หากไม่ได้ยิงในระยะประชิดหรือเป็นรัศมีแรงระเบิดหรือกำลังดันของดินดอกไม้เพลิง ก็ไม่มีอานุภาพรุนแรงที่สามารถทำอันตรายแก่กาย ชีวิต หรือวัตถุได้ ดังเช่นอาวุธปืนทั่วไป จึงไม่เข้าตามบทนิยามคำว่า "อาวุธปืน" ตามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ การมีรูปร่างลักษณะอันน่าจะทำให้คนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนโดยสภาพ จึงเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน
เมื่อปืนแบลงค์กันของกลางไม่มีการดัดแปลงลำกล้อง สภาพภายในลำกล้องมีเหล็กแกนขวางไม่อาจส่งกระสุนออกมาจากลำกล้องได้ ไม่สามารถใช้ร่วมกับกระสุนปืนจริงได้ เมื่อยิงกับกระสุนปืนแบลงค์กันมีผลเพียงเกิดเสียง เปลวไฟ แรงระเบิด แรงดัน จากการเผาไหม้ดินดอกไม้เพลิงพุ่งออกมาจากปลายลำกล้องเท่านั้น ไม่มีหัวกระสุนปืนออกจากปากลำกล้อง แสดงให้เห็นจุดประสงค์ในการทำหรือประกอบปืนแบลงค์กันขึ้นโดยมิได้ให้เป็นอาวุธปืนที่ใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน โดยประสงค์ใช้ยิงให้เกิดเสียงดังและมีเปลวไฟจากการยิงเท่านั้น หากไม่ได้ยิงในระยะประชิดหรือเป็นรัศมีแรงระเบิดหรือกำลังดันของดินดอกไม้เพลิง ก็ไม่มีอานุภาพรุนแรงที่สามารถทำอันตรายแก่กาย ชีวิต หรือวัตถุได้ ดังเช่นอาวุธปืนทั่วไป จึงไม่เข้าตามบทนิยามคำว่า "อาวุธปืน" ตามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ การมีรูปร่างลักษณะอันน่าจะทำให้คนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนโดยสภาพ จึงเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาวุธปืน-พยายามฆ่า-ยิงปืนโดยใช่เหตุ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ฐานพาอาวุธปืน และฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และ ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน ตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 376 ก็มิใช่การกระทำซึ่งรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง อันศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 376 เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้ว่ากล่าวในฟ้อง ต้องห้าม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก อันเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดเป็นคนละกรรมกัน แม้พาไปพร้อมกัน ก็ต้องลงโทษตามกฎหมายแต่ละบท
การพาอาวุธใด ๆ ไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 แต่หากเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือโดยไม่มีเหตุสมควรแล้ว ย่อมจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสอง อีกบทหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักกว่าการพาอาวุธทั่ว ๆ ไป ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า กฎหมายบัญญัติความผิดและบทลงโทษแยกไว้สำหรับกรณีพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นอีกความผิดหนึ่ง ทั้งวัตถุของกลางเป็นคนละประเภทกัน แสดงว่าเจตนาในการพาไปย่อมแตกต่างกัน และความผิดแต่ละประเภทย่อมสำเร็จแล้วนับตั้งแต่การพาเข้าไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ แม้จำเลยจะพาอาวุธปืนและอาวุธมีดไปในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาเนื่องจากพ้นโทษแล้วกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี แม้คำขอท้ายฟ้องมิได้ระบุขอเพิ่มโทษโดยชัดแจ้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าก่อนคดีนี้ จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 7 ปี 18 เดือน และปรับ 400,000 บาท ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานมีและพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 และจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน นับโทษจำคุกต่อในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 254/2556 จำเลยพ้นโทษทั้งสองคดีดังกล่าวแล้ว ภายหลังพ้นโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งคดีก่อนและคดีนี้มิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และมิใช่ความผิดซึ่งจำเลยได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ขอศาลเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยหนึ่งในสามของโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ และในคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ ป.อ. มาตรา 90, 92, 371, ดังนี้คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และโจทก์ได้อ้างบทบัญญัติซึ่งเป็นเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะมิได้ระบุขอให้เพิ่มโทษจำเลยไว้อีกก็ตาม ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพกับรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษมาแล้วจริงตามฟ้อง ย่อมแสดงว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำขอให้เพิ่มโทษด้วย จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 92 หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การสอบสวนโดยไม่มีคำร้องทุกข์ และการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนได้จะต้องมีคำร้องทุกข์เสียก่อน เมื่อคดีความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดินทุกฐานความผิด พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนโดยลำพังตนเองหากพบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น โดยเฉพาะคดีนี้ ผู้เสียหายโทรศัพท์แจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวน เท่ากับว่าได้มีการกล่าวโทษซึ่งทำให้พนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจเริ่มต้นการสอบสวนได้ในทันทีด้วยการออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 130 บัญญัติไว้ ถือได้ว่าคดีนี้มีการสอบสวนในความผิดตามฟ้องโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินกว่ากรณีที่สมควร การใช้กำลังทำร้ายถึงแก่ชีวิต และความผิดฐานพาอาวุธ
การที่จำเลยหยิบมีดปอกผลไม้ปลายแหลมมาจากห้องครัวภายในร้านที่เกิดเหตุและใช้แทงผู้ตายบริเวณด้านหน้าร้านภายในบริเวณร้านที่เกิดเหตุ ยังมิได้ออกไปนอกร้านสู่ทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 พ้นผิดฐานร่วมกระทำความผิด เนื่องจากไม่มีหลักฐานเชื่อมโยง ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดหลายกระทง ศาลรอการลงโทษ
การที่จำเลยที่ 1 ยิงปืนเพื่อข่มขู่ผู้เสียหายเป็นการยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายอยู่ในตัว จึงเป็นการกระทำความผิดที่รวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งศาลจะลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อีกสถานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 4 ยืนอยู่เฉยๆ ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายทั้งสองเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์เท่านั้น ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย จึงไม่อนุญาต เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมทั้งสองไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในความผิดดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในความผิดดังกล่าว แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225