คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 371

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดฐานมีอาวุธปืน และการที่ศาลฎีกาสั่งยกฟ้องข้อหาขาดอายุความ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 26 กรกฎาคม 2535 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 3 ตุลาคม 2540 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กักขังเรียกค่าไถ่ด้วยความทารุณโหดร้าย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไปที่เคหสถาน อันเป็นที่พักอาศัยของโจทก์ร่วม แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับโจทก์ร่วมกับรื้อค้นเอาเงินจำนวน 3,000 บาท และนาฬิกาข้อมือราคา 150,000 บาทไป จากนั้นจำเลยเอาเสื้อคลุมศีรษะโจทก์ร่วมบังคับให้ขึ้นรถยนต์ที่ติดเครื่องรออยู่หน้าที่พักอาศัยของโจทก์ร่วมแล้วขับรถนำโจทก์ร่วมไปกักขังไว้ และส่งจดหมายเรียกค่าไถ่ไปยังภริยาและบุตรของโจทก์ร่วมซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จนภริยาของโจทก์ร่วมตกลงจ่ายค่าไถ่ให้จำเลยจำนวน 275,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างที่โจทก์ร่วมถูกกักขัง จำเลยได้มัดโจทก์ร่วมด้วยโซ่ที่มือ เท้าทั้งสองข้างและใส่กุญแจ และจำเลยควบคุมตัวโจทก์ร่วมอยู่ตลอดเวลา เมื่อโจทก์ร่วมจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ จำเลยทั้งสองจะช่วยถอดกางเกงให้ โจทก์ร่วมถูกกักขังอยู่ในลักษณะดังกล่าวเป็นเวลา 133 วัน จึงหลบหนีออกไปได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ร่วมหมดอิสระในการเคลื่อนไหวร่างกายไปที่อื่นและไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว เป็นเหตุให้ไม่ได้รับประทานยาแก้โรคเบาหวาน ทำให้อาการกำเริบ มีเลือดปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะ การกระทำของจำเลยต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำโดยทรมานจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาขาดองค์ประกอบความผิดฐานมั่วสุมทำร้ายผู้อื่นและพาอาวุธ ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดดาบซึ่งเป็นอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาที่ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลฎีกายกฟ้องได้ แม้จำเลยรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดซึ่งเป็นอาวุธ ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไตร่ตรองไว้ก่อนในการพยายามฆ่า และอายุความความผิดพกพาอาวุธ
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันทันด่วนไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจากร้านอาหารไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองได้ออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 1 กลับมาที่ร้านอาหารแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกัน จึงไม่พอที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ความผิดข้อหาพาอาวุธปืนตาม ปอ. มาตรา 371 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท นั้น มีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดวันที่ 15 มิถุนายน 2537 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและการขาดอายุความของความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันด่วนไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจาก ร้านอาหารไปโดยไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยที่ 1 กลับมาที่ร้านอาหารแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกันดังกล่าว จึงไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท มีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยที่ 1 กระทำความผิดวันที่ 15 มิถุนายน 2537 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ศาลพิพากษาลงโทษเฉพาะผู้ลงมือโดยตรง
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ชกต่อยกับโจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมโดยไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีและพกอาวุธปืนมาด้วย หรือได้มีการคบคิดกันมาก่อนว่าจะใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม แม้จำเลยทั้งสามจะเกิดความไม่พอใจโจทก์ร่วมจากสาเหตุอย่างเดียวกันและนั่งรถมาด้วยกันก่อนเกิดเหตุ ทั้งยังขึ้นรถยนต์หลบหนีไปด้วยกันหลังเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พูดจาหรือกระทำการใดๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ตามลำพัง อันเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสจากการถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิง มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 เพราะความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาในความผิดฐานนี้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในฐานความผิดฐานนี้แล้ว จึงเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ เพราะโจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 9 ปี ย่อมห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท, การแก้ไขโทษ, การบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 ก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้
สำหรับความผิดในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังแม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษายืนกันมาให้จำคุก 1 ปี แต่ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราซึ่งศาลล่างทั้งสองจำคุก 16 ปี อันไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงทำให้ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบังคับข่มขืนกระทำชำเราคนละหลายครั้งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง และ 310 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษคดีทำร้ายร่างกายและพาอาวุธ การแก้ไขโทษปรับที่ไม่สามารถกักขังแทนค่าปรับได้
ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 50 บาท แต่ ป.อ. มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยแก้เป็นว่า "...ปรับ 50 บาท หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29 แต่ประการเดียว..."

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตไม่ได้: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เข้าข้อยกเว้นชนิดเจาะเกราะ/กระสุนเพลิง
แม้ผู้ชำนาญที่ตรวจพิสูจน์จะมีความเห็นว่า กระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11ฯ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนที่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม แต่เมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ข้อ 3 กำหนดว่า "เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" อันหมายความว่าเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นเป็นชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ซึ่งเมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียว ดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนบรรจุปาก ปืนลูกซองและปืนพลุสัญญาณ" แล้วจึงเห็นได้ในเบื้องต้นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น ถึงหากจะให้รับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
of 24