คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1513

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินเดิมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
การที่สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หานั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภรรยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วย 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสเมื่อหย่า: การแบ่งที่ดินชำระแล้ว, สินเดิมสูญเสีย, หนี้ระหว่างสมรส
ภริยาทำสัญญาจะซื้อที่ดินชำระราคาแล้วบางส่วน เมื่อหย่ากันสิทธิตามสัญญานี้เป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันด้วย
สินเดิมของภริยาซึ่งสูญไประหว่างสมรส การเอาสินสมรสใช้ต้องคิดตามราคาเดิม ไม่ใช่ราคาเมื่อหย่ากัน
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่ากันไม่ต้องหักใช้หนี้ที่เกิดระหว่างสมรสและยังไม่ได้ชำระเสียก่อน เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดร่วมกันอยู่ และเป็นไปตามมาตรา 1518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสินเดิมของคู่สมรส: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสินเดิมเป็นของสามีแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช. จึงเป็นของ ช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่ ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้ เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1, 4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1, 4 และ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมของคู่สมรส: สินเดิม vs. สินสมรส และสิทธิของคู่สมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า และมาตรา 1513(1)(2)ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่ ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้ เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4และ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน: การแบ่งสินเดิมและสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า. และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน. ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่. ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้. เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477.
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง. ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์. จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา. ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์.ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4 และ 5.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แม้สมรส สิทธิการเช่าไม่ตกเป็นของคู่สมรสโดยอัตโนมัติ
ห้องซึ่งโจทก์เช่ามาก่อนสมรสกับจำเลย แม้จะต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก็ยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าฝ่ายเดียวไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เช่าด้วย
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาจำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สินไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แม้สมรส สิทธิการเช่าไม่ตกเป็นของคู่สมรส
ห้องซึ่งโจทก์เช่ามาก่อนสมรสกับจำเลย แม้จะต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก็ยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าฝ่ายเดียว ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เช่าด้วย
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้ แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา จำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แม้ต่ออายุสัญญาขณะสมรส เมื่อหย่า สิทธิยังคงเป็นของผู้เช่าเดิม
ห้องซึ่งโจทก์เช่ามาก่อนสมรสกับจำเลย แม้จะต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก็ยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าฝ่ายเดียว. ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เช่าด้วย.
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้. แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา. จำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า. จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า. หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สิน. ไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสก่อน-หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: กรณีโจทก์ไม่มีสินเดิม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สิทธิในสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ไม่มีสินเดิม ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
(อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสกรณีสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการขายสินเดิมโดยไม่ต้องยินยอม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สิทธิในสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ไม่มีสินเดิม ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส (อ้างฎีกาที่ 326/2479)
เมื่อฟังว่านาพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 และแม้หากจะฟังว่าเรือนและครัวซึ่งปลูกอยู่บนนาพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจขายนาพิพาทพร้อมด้วยเรือนและครัวให้จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
of 3