พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9449/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับธุรกิจให้เช่ารถยนต์: มูลค่าต้นทุนรถยนต์หลังหักค่าเสื่อมราคา
มาตรา 65 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ... (20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ. ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 มาตรา 4 บัญญัติว่า รายจ่ายต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (1) มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท และมาตรา 5 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 4 (1) ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายที่เกิดจากซื้อหรือการเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในกรณีที่... (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ มีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์และซื้อรถยนต์มาเพื่อการให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้ เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ การที่โจทก์นำมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนและมีไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาท มาทยอยหักเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น
โจทก์ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์และซื้อรถยนต์มาเพื่อการให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้ เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ การที่โจทก์นำมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนและมีไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาท มาทยอยหักเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9449/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับรถยนต์ให้เช่า: ค่าเสื่อมราคา vs. มูลค่าต้นทุนที่เหลือ
โจทก์ซื้อรถยนต์มาประกอบธุรกิจให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ อย่างไรก็ตาม มูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, การยกเว้นภาษีทรัพย์สินของรัฐ, การตีความสัญญาเช่า, และการห้ามอุทธรณ์ประเด็นใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคารและที่ดินที่ให้เช่า ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งมาตรา 31 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ระบุว่า เฉพาะกรณีที่ผู้รับประเมินเป็นรัฐวิสาหกิจไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้มีจำนวนสูงเกินสมควรเท่านั้น จึงให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและคณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ แต่กรณีนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงไม่ใช่กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามมาตรา 31 วรรคท้าย การท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนการท่าเรือแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าตามข้อ 3.2 อันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือบี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าด้วยย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ท่าเทียบเรือบี 2 เป็นทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของสาธารณะโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 นั้น โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้ และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาด เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีได้ตามมาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังไม่มีมติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อนี้เช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าตามข้อ 3.2 อันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือบี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าด้วยย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ท่าเทียบเรือบี 2 เป็นทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของสาธารณะโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 นั้น โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้ และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาด เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีได้ตามมาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังไม่มีมติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อนี้เช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8681/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน, สัญญาเช่าทรัพย์สินของรัฐ, การประเมินภาษีสูงเกินสมควร
โจทก์บรรยายฟ้องแสดงสภาพแห่งข้อหาในตอนต้นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร และได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคารและที่ดินที่ให้เช่า ตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ระบุว่า เฉพาะกรณีที่ผู้รับประเมินเป็นรัฐวิสาหกิจไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้มีจำนวนสูงเกินสมควรเท่านั้น จึงให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและคณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ แต่กรณีนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่า ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงไม่ใช่กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนการท่าเรือแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวคือ ตามสัญญาข้อ 2 วรรคหนึ่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยยินยอมให้เช่าและโจทก์ผู้เช่าตกลงที่จะเช่าท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 2 สำหรับพัฒนาบริหารและประกอบการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขดังระบุในสัญญาฉบับนี้และภาคผนวกต่าง ๆ ข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าอันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือ บี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่อย่างน้อยก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าในบรรดาวัตถุประสงค์ของสัญญานี้จะมีบางส่วนเป็นสัญญาสัมปทานหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มีส่วนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมอยู่ด้วย ย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในทรัพย์สินดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกับกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม มาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ตามสมควรตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องท่าเทียบเรือ บี 2 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหย่อนค่ารายปีตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวคือ ตามสัญญาข้อ 2 วรรคหนึ่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยยินยอมให้เช่าและโจทก์ผู้เช่าตกลงที่จะเช่าท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 2 สำหรับพัฒนาบริหารและประกอบการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขดังระบุในสัญญาฉบับนี้และภาคผนวกต่าง ๆ ข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าอันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือ บี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่อย่างน้อยก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าในบรรดาวัตถุประสงค์ของสัญญานี้จะมีบางส่วนเป็นสัญญาสัมปทานหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มีส่วนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมอยู่ด้วย ย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในทรัพย์สินดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกับกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม มาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ตามสมควรตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องท่าเทียบเรือ บี 2 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหย่อนค่ารายปีตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8528/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งหากศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ย่อมมีผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นอันเพิกถอนไปในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน เพราะกรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด และค่าปรับการชำระเงินล่าช้า
กรณีที่จะถือว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร ตามบทบัญญัติในมาตรา 65 ทวิ (4) แห่ง ป.รัษฎากร หรือไม่ อย่างน้อยที่สุดโจทก์ต้องคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในระดับอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มาจากผู้ให้กู้ การที่โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการทางด้านการเงินโดยประกอบกิจการธุรกิจบัตรเครดิต โดยยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ประเภทกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และโจทก์กู้ยืมเงินมาจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศแล้วนำเงินกู้ยืมมาให้บริษัทในเครือและธนาคารในเครือของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยกู้ยืมโดยใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวผันแปรตามราคาตลาด ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ เมื่อพิจารณารายงานเศรษฐกิจและการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2541 และปี 2542 ที่โจทก์อ้างปรากฏว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเวลาปี 2541 และปี 2542 ระหว่างไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปรากฏอัตราดอกเบี้ย 4 ประเภท ประเภทแรก อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สอง อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร และประเภทที่สี่ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (1 วัน) แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารมาเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศมาให้บริษัทในเครือกู้ยืมอีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่กรณีที่โจทก์นำเงินฝากของตนเองมาให้บุคคลอื่นกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่จะนำมาถือเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมของโจทก์ ควรเป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทที่สอง คืออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมดังกล่าวมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้กู้ในต่างประเทศ แม้โจทก์จะอ้างว่าจากสภาวะเศรษฐกิจในระยะเวลาหลังจากที่โจทก์กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศในช่วงปี 2541 ถึงปี 2542 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในประเทศลดลงทำให้โจทก์เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยนั้น ตามพฤติการณ์ของโจทก์ที่กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศแล้วนำมาให้กู้ยืมภายในประเทศโดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 5.7125 ถึง 6.1125 แต่ดอกเบี้ยในราคาตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในอัตราร้อยละ 14.50 ถึง 15.0 และลดลงจนมีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 8.25 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้ผู้กู้ในต่างประเทศ ข้อกล่าวอ้างถึงผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยจึงไม่อาจรับฟังได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ป.รัษฎากร ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วออกจากภาษีที่ต้องชำระ
มาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้ว แต่กรณี เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายในช่วงหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 ที่จะนำมาหักได้ ประกอบกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) ของจำเลย ในช่องการคำนวณภาษีรายการที่ 4 ก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว จึงนำมาถือเป็นเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือชำระเกินในรายการที่ 5 เช่นนี้ โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในรายการที่ 4 มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ โดยไม่ต้องรอเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ถึงจะนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตภาษี โจทก์จึงไม่มีภาษีที่ชำระขาดที่จะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำหลักเกณฑ์ตามหนังสือที่ กต.0723/ว.3956 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ที่ให้คำนวณเงินเพิ่มจากภาษีที่ชำระขาดโดยไม่คำนึงถึงภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จึงเป็นการแปลความตามมาตรา 67 ตรี ในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีและเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีของผู้เสียภาษี การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดหนี้สูญและผลกระทบทางภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลดหนี้ไม่ใช่ส่วนลดแต่เป็นการชำระหนี้ ทำให้เกิดหน้าที่เสียภาษี
โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงลดหนี้ค่าเช่ารถประจำเดือนธันวาคม 2546 ให้แก่บริษัท บ. 35 ล้านบาท แล้วนำเป็นรายจ่ายหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่ปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) เจ้าพนักงานประเมินจึงให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยนำยอดหนี้จำนวนดังกล่าวบวกกลับเป็นยอดลูกหนี้ค้างชำระดังเดิม ซึ่งเป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้บันทึกข้อตกลงลดหนี้และรับชำระหนี้ ซึ่งมีผลเป็นการปลดหนี้บางส่วนให้แก่บริษัท บ. ยกเลิกหรือสิ้นสุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าวจึงระงับลงเสมือนโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้วอันเนื่องมาจากการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยถือวันที่ทำบันทึกลดหนี้คือวันที่ 30 ธันวาคม 2546 เป็นวันที่ได้รับชำระหนี้ค่าบริการ ซึ่งเป็นวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78/1 (1) นอกจากนี้การลดหนี้ของโจทก์มิใช่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) ที่ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ แต่เป็นการลดหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท บ. ในวันที่มีการลดหนี้ตามมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรและการรับผิดของผู้ชำระบัญชี กรณีไม่โต้แย้งการประเมินและหน้าที่ของผู้ชำระบัญชี
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ บัญญัติให้ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และ ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ต้องถือว่าพอใจการประเมินและเป็นอันยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องให้เพิกถอนการประเมินไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) และมาตรา 8 และไม่อาจต่อสู้คดีในชั้นศาลว่าการประเมินไม่ชอบ จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์การประเมิน ย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการประเมินผิดประเภท
จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยมิได้อุทธรณ์การประเมิน ซึ่งในขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ทั้งต่อมายังเป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยที่ 2 ควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าว จำเลยที่ 2 อ้างว่าโจทก์ทั้งสองมิได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรจึงรับฟังไม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยมิได้อุทธรณ์การประเมิน ซึ่งในขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ทั้งต่อมายังเป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยที่ 2 ควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าว จำเลยที่ 2 อ้างว่าโจทก์ทั้งสองมิได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ: การฟ้องละเมิดต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ใช่ตัวเจ้าหน้าที่
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 183 และศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้สิ้นกระแสความเสียก่อน แต่กลับรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติและวินิจฉัยคดีไปเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไปเสียทีเดียวก่อนที่จะวินิจฉัยเนื้อหาฎีกาของโจทก์