พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18217/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต้องยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่ฟ้องคดี
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การคัดค้านคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการอาจทำได้โดยการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้" วรรคสอง บัญญัติว่า "คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด..." วรรคสาม บัญญัติว่า "ให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) คู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า... (ง) คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ... (จ)... กระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้..." ดังนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะคัดค้านคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการสามารถกระทำได้โดยการขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตามมาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยในฐานะคณะอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ และกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) (จ) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งมีคำขอบังคับให้เพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลยในฐานะคณะอนุญาโตตุลาการ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง หาใช่ฟ้องจำเลยเพื่อขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งการกระทำที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว จำเลยไม่ว่าจะในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะคณะอนุญาโตตุลาการหาได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ไม่และกรณีหาใช่เป็นการเสนอคดีมีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หรือกรณีควรคืนคำฟ้องนั้นไปให้โจทก์ทำมาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17217/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อหน่วยลงทุน RMF เกินสิทธิลดหย่อนภาษี สามารถขายได้โดยไม่ครบ 5 ปี และไม่กระทบสิทธิลดหย่อนเดิม
ผู้มีเงินได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดก็สามารถทำได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ แต่ส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนั้น หากผู้มีเงินได้ต้องการขายในส่วนที่ซื้อไว้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนครบ 5 ปี ก็ย่อมกระทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขายหน่วยลงทุนที่เหลือเกินจากการใช้สิทธินำไปหักลดหย่อนภาษีดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องถือไว้จนครบ 5 ปี และได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น 1,545.84 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากส่วนต่างดังกล่าวในปีที่ขายหน่วยลงทุน โดยโจทก์ยังมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อหน่วยลงทุนในส่วนที่มีสิทธิหักลดหย่อนได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17215/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร การประเมินอากร และอายุความทางภาษีอากร
แม้แบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับระบุแต่เพียงเลขแฟ้มคดี แต่ก็เป็นเลขแฟ้มคดีเดียวกันกับแบบแจ้งการประเมินอากรอีก 9 ฉบับ ที่เป็นการนำเข้าสินค้าพิพาทประเภทเดียวกัน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในชั้นอุทธรณ์การประเมินและในชั้นยื่นคำฟ้องโจทก์ทั้งสามก็บรรยายฟ้องโดยโต้แย้งเหตุผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง จึงถือว่าโจทก์ทั้งสามทราบเหตุผลในการออกคำสั่งตามแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องระบุเหตุผลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจอีก เนื่องจากเหตุผลนั้นเป็นที่รู้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีกตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบแจ้งการประเมินอากรฉบับเดิมที่ไม่มีการลงลายมือชื่อ แต่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ จำเลยได้ออกแบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ซึ่งไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นหรือภาระภาษี เมื่อจำเลยทำการแก้ไขข้อบกพร่องย่อมถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรดังกล่าวได้ระบุชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้ว
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคท้าย บัญญัติให้การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ประกอบคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบไฮโมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรฯ นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) เมื่อของใดไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นมีลักษณะเป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งอยู่บนยานยนต์หรือโครงยานยนต์หรือรถบรรทุกสมบูรณ์แบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แสดงลักษณะอันเป็นสาระสำคัญทั้ง 2 ประการ สินค้าพิพาทจึงมีลักษณะเป็นของที่ไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นดังกล่าวจึงต้องจัดเข้าประเภทพิกัด 87.05
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2557)
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบแจ้งการประเมินอากรฉบับเดิมที่ไม่มีการลงลายมือชื่อ แต่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ จำเลยได้ออกแบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ซึ่งไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นหรือภาระภาษี เมื่อจำเลยทำการแก้ไขข้อบกพร่องย่อมถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรดังกล่าวได้ระบุชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้ว
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคท้าย บัญญัติให้การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ประกอบคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบไฮโมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรฯ นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) เมื่อของใดไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นมีลักษณะเป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งอยู่บนยานยนต์หรือโครงยานยนต์หรือรถบรรทุกสมบูรณ์แบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แสดงลักษณะอันเป็นสาระสำคัญทั้ง 2 ประการ สินค้าพิพาทจึงมีลักษณะเป็นของที่ไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นดังกล่าวจึงต้องจัดเข้าประเภทพิกัด 87.05
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2557)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16228/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริต: การลงโทษซ้ำหรือไม่ และความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
การที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โจทก์สำหรับการกระทำที่ถูกกล่าวหาไปแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นสอบสวนใหม่แล้วมีคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเห็นว่าโจทก์กระทำทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั้น เมื่อตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดขั้นตอนการลงโทษทางวินัยโดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีอำนาจลงโทษพนักงานลูกจ้างสำหรับความผิดเล็กน้อยไม่ร้ายแรงได้ แต่ให้อยู่ภายใต้การทบทวนของผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปเพื่อให้การลงโทษนั้นเหมาะสม โดยระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นที่มีคำสั่งลงโทษในชั้นต้นมีหน้าที่ต้องรายงานการดำเนินการลงโทษทางวินัยนั้นไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูงจนถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อพิจารณาทบทวนได้ หากผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาแล้วลงโทษเป็นอย่างอื่นก็ให้การลงโทษโดยผู้บังคับบัญชาชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไป กรณีนี้จึงมิใช่เป็นการลงโทษซ้ำสำหรับการกระทำเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10864/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กและการพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการกระทำ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยใช้นิ้วมือแหย่เข้าไปบริเวณรูทวารหนักและใช้อวัยวะเพศของจำเลยถูไถบริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 เพื่อสนองความใคร่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยใช้นิ้วแหย่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 ก็ตาม แต่การกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง บัญญัติให้หมายความถึงการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ฉะนั้นการกระทำของจำเลยไม่ว่าจะกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้เสียหายที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นการกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว อีกทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่สำหรับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารนั้น จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ออกจากบ้านบอลที่เล่นอยู่ไปที่บริเวณลูกกรงเหล็กที่กั้นสำหรับกันคนตก แล้วจึงใช้นิ้วแหย่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยเพียงเพื่อหาสถานที่ปลอดคนที่จะล่วงละเมิดทางเพศผู้เสียหายที่ 1 ได้โดยสะดวกและไม่มีใครรู้เห็นมากกว่าที่จะมีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้ปกครอง และการกระทำของจำเลยก็ยังอยู่ในบริเวณสวนสนุกนั้นเอง ทั้งใช้เวลาไม่นาน การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6616/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเกินคำฟ้องในความผิดบุกรุกที่ดินและทำไม้ ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายเพื่อแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองป่าที่ดินภูเขากระโดน อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ อยู่ในความครอบครองดูแลของกรมธนารักษ์เท่านั้น ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำแก่ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมานั้น จึงเป็นการลงโทษเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชั้นศาล & การพิจารณาคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีตามลำดับชั้น
คดีที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับรับฟ้องแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาด ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีโดยมิให้ศาลชั้นต้นได้สืบพยานแล้วพิจารณาและพิพากษาเสียก่อนตามลำดับชั้นศาล ย่อมไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์ของบาดเจ็บที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และการพิจารณาพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย
ผู้เสียหายถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงเป็นกรณีผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ถ้าผู้เสียหายจะเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาของผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) ประกอบมาตรา 5 (2) การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเองโดยมีการพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในใบแต่งทนายความ แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ก็ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือด้วยตนเอง เนื่องจากผู้เสียหายไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ จึงมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เป็นการไม่ถูกต้อง ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่มีสิทธิฎีกา และแม้กรณีเช่นว่านั้นสามารถที่จะแก้ไขความบกพร่องได้ แต่คดีล่วงเลยมานานมากแล้ว ทั้งการพิจารณาคดีก่อนหน้านั้นของโจทก์ร่วมมิได้เสียไป ประกอบกับพนักงานอัยการก็ว่าคดีต่างโจทก์ร่วมอยู่แล้ว จึงเห็นควรไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งผู้เสียหายแก้ไขข้อบกพร่องในการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการให้บริบูรณ์ใหม่เสียก่อน และสมควรพิจารณาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีบุตรผู้เสียชีวิตยื่นคำร้องล่าช้า และสถานะความเป็นบุตรโดยมิได้มีผลต่อสิทธิ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างคือ (3) บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบ 18 ปี แต่ยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้ได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ เป็นบทบัญญัติที่ถือเอาอายุและการศึกษาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน ไม่ได้บัญญัติว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (3) จึงต้องถือเอาความเป็นบุตรตามความเป็นจริง
มาตรา 49 บัญญัติให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แต่ไม่ได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนระงับสิ้นไป ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน จึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ดังนั้นแม้โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ตายประสบอันตรายโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
มาตรา 49 บัญญัติให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แต่ไม่ได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนระงับสิ้นไป ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน จึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ดังนั้นแม้โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ตายประสบอันตรายโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9663/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองวัตถุออกฤทธิ์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการพิสูจน์ความผิดของจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันมีไดเมทิลแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นไอโซเมอร์ของเอ็น-เอทิลแอมเฟตามีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่โจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามที่ฟ้องไว้ คงอ้างเฉพาะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) ซึ่งเป็นประกาศระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์เท่านั้น และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 104 (พ.ศ.2541) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ใช้อยู่ในขณะมีการกระทำความผิดก็ไม่มีระบุว่า ไดเมทิลแอมเฟตามีน หรือเอ็น-เอทิลแอมเฟตามีน อยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา106 ทวิ แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62, 106 ทวิ ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดเฉพาะข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวซึ่งมีโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62, 106 ทวิ ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดเฉพาะข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวซึ่งมีโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225