คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการค้าอาวุธปืน: การช่วยเหลือรับส่งอาวุธปืนโดยรู้เห็นเป็นใจ ถือเป็นความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนค้าอาวุธปืนเถื่อนโดยเคยรับจ้างเหมาขับเรือยนต์รับส่งจำเลยที่ 1 ไปเอาอาวุธปืนที่รวบรวมได้จากชาวบ้านมาไว้สำหรับการค้าหลายครั้ง ในครั้งที่เกิดเหตุจำเลยที่ 4 ก็รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนเถื่อนที่เอามาจากชาวบ้านไปเพื่อค้า การที่จำเลยที่ 4 รู้แล้วยังใช้เรือเป็นพาหนะรับส่งจำเลยที่ 1อีกเช่นนี้ จึงเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองสำหรับการค้า เป็นผู้สนับสนุนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยคนอื่นทางพิจารณาได้ความว่าเป็นผู้สนับสนุนความผิด ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อค้า แม้ฟ้องว่าสมคบ แต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนก็ลงโทษได้
จำเลยที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนค้าอาวุธปืนเถื่อนโดยเคยรับจ้างเหมาขับเรือยนต์รับส่งจำเลยที่ 1 ไปเอาอาวุธปืนที่รวบรวมได้จากชาวบ้านมาไว้สำหรับการค้าหลายครั้ง ในครั้งที่เกิดเหตุจำเลยที่ 4 ก็รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนเถื่อนที่เอามาจากชาวบ้านไปเพื่อค้า การที่จำเลยที่ 4 รู้แล้วยังใช้เรือเป็นพาหนะรับส่งจำเลยที่ 1 อีกเช่นนี้ จึงเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองสำหรับการค้า เป็นผู้สนับสนุนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยคนอื่นทางพิจารณาได้ความว่าเป็นผู้สนับสนุนความผิด ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับโดยศาลอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการแก้บท ฎีกาโจทก์ขอลงโทษทั้งจำและปรับ เป็นปัญหาดุลพินิจข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตให้จำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ และศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้ไม่ลงโทษปรับนั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ฉะนั้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นฎีกาเกี่ยวด้วยดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลซึ่งเป็นปัญหาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนผิดกฎหมายและการยกเว้นโทษตาม พรบ.อาวุธปืนฯ โดยจำเลยอ้างว่าอาวุธปืนสูญหาย
จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้ว ต่อมาเมื่อคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนฯ ฉบับที่ 4(พ.ศ.2510) ออกมาให้ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนโดยผิดกฎหมาย นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน จึงจะได้รับการยกเว้นโทษ เมื่อจำเลยได้ทำอาวุธปืนกระสุนปืนสูญหายเสียในวันเกิดเหตุ จึงไม่มีอาวุธปืน กระสุนปืนผิดกฎหมายไปจดทะเบียนขออนุญาต ฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน (ฉบับที่ 4) กรณีอาวุธสูญหาย
จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต. ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้ว. ต่อมาเมื่อคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์. ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนฯ ฉบับที่ 4(พ.ศ.2510) ออกมาให้ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนโดยผิดกฎหมาย. นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน. จึงจะได้รับการยกเว้นโทษ. เมื่อจำเลยได้ทำอาวุธปืนกระสุนปืนสูญหายเสียในวันเกิดเหตุ. จึงไม่มีอาวุธปืน. กระสุนปืนผิดกฎหมายไปจดทะเบียนขออนุญาต. ฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนผิดกฎหมาย, ยกเว้นโทษ, นำไปจดทะเบียน, ทำสูญหาย, ไม่ได้รับการยกเว้นโทษ
จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้ว ต่อมาเมื่อคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน ฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2510) ออกมาให้ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนโดยผิดกฎหมาย นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน จึงจะได้รับการยกเว้นโทษ เมื่อจำเลยได้ทำอาวุธปืน กระสุนปืนสูญหายเสียในวันเกิดเหตุ จึงไม่มีอาวุธปืน กระสุนปืนผิดกฎหมายไปจดทะเบียนขออนุญาต ฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาวุธปืน: การลงโทษฐานมีส่วนหนึ่งของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน พิจารณาโทษตามบทหนักที่สุด
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7 บัญญัติห้ามมิให้ทำหรือมีไว้ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษตามมาตรา72. พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'อาวุธปืน'หมายความรวมตลอดถึงอาวุธปืนทุกชนิด ฯลฯ และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ. และได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง วิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'เครื่องกระสุนปืน'หมายความรวมตลอดถึงหัวกระสุนโดด กระสุนปลาย กระสุนแตก ฯลฯหรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน. กฎกระทรวงฉบับที่ 3(พ.ศ.2491) กำหนดว่า ส่วนของอาวุธปืนที่จะกล่าวต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาวุธปืน คือลำกล้อง เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก. พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 72(วรรคหนึ่ง) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท (วรรคสอง). ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี. หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท.หรือทั้งจำทั้งปรับ. ดังนี้ ข้อกฎหมายที่จะลงโทษจำเลยจึงมี 2 ประการ. ประการแรกเกี่ยวกับอาวุธปืนประการหลังเกี่ยวกับเครื่องกระสุนปืน. ซึ่งจะต้องวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสอง วรรคหนึ่ง ตามลำดับ. และลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ การลงโทษฐานมีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ศาลฎีกาชี้ขาดโทษหนักที่สุด
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7 บัญญัติห้ามมิให้ทำหรือมีไว้ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษตามมาตรา 72 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธปืนทุกชนิด ฯลฯ และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "เครื่องกระสุนปืน" หมายความรวมตลอดถึงหัวกระสุนโดด กระสุนปลาย กระสุนแตก ฯลฯ หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2491) กำหนดว่า ส่วนของอาวุธปืนที่จะกล่าวต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาวุธปืน คือลำกล้อง เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 72 (วรรคหนึ่ง) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท (วรรค 2) ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ ข้อกฎหมายที่จะลงโทษจำเลยจึงมี 2 ประการ ประการแรกเกี่ยวกับอาวุธปืน ประการหลัง เกี่ยวกับเครื่องกระสุนปืน ซึ่งจะต้องวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสอง วรรคหนึ่งตามลำดับ และลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาวุธปืน: การลงโทษฐานมีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7 บัญญัติห้ามมิให้ทำหรือมีไว้ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษตามมาตรา 72 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'อาวุธปืน'หมายความรวมตลอดถึงอาวุธปืนทุกชนิด ฯลฯ และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง วิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'เครื่องกระสุนปืน'หมายความรวมตลอดถึงหัวกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ฯลฯหรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) กำหนดว่า ส่วนของอาวุธปืนที่จะกล่าวต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาวุธปืน คือลำกล้อง เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไกพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 72(วรรคหนึ่ง) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท (วรรคสอง) ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ. ดังนี้ ข้อกฎหมายที่จะลงโทษจำเลยจึงมี 2 ประการประการแรกเกี่ยวกับอาวุธปืนประการหลังเกี่ยวกับเครื่องกระสุนปืน ซึ่งจะต้องวางโทษตามมาตรา 72วรรคสอง วรรคหนึ่ง ตามลำดับและลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางคดีอาวุธปืนภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ผ่อนผันโทษ แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบแล้ว
สำหรับปืน ปลอกกระสุนปืนและเม็ดตะกั่วของกลางนั้น. เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นของที่จำเลยใช้กระทำผิด.แม้จะเป็นปืนที่ไม่มีทะเบียน. และในขณะฟ้องตลอดจนเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษ จะเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดให้ริบเสียสิ้น. ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32. แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลอุทธรณ์และอยู่ระหว่างพิจารณา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510 มาตรา 5. ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนฯ. โดยไม่ได้รับอนุญาต.นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน. โดยผู้นั้นไม่ต้องได้รับโทษ. ต้องถือว่าในระหว่างนั้น กฎหมายยกเว้นโทษให้แก่ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนฯ. โดยไม่ได้รับอนุญาต. แม้เป็นเรื่องที่ถูกฟ้องและศาลลงโทษไปก่อนใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวแล้วก็ตามศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษาคืนของกลางให้เจ้าของไปได้. และแม้จะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายหลังระยะเวลา 90 วันตามที่กฎหมายกำหนดไว้. ก็หาทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปไม่.
อนึ่งคดีนี้ศาลอุทธรณ์อ้างบทมาตราของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ข้างต้นผิด.แต่ก็ไม่เป็นเหตุให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป.
of 35