พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน และผลของการขาดอายุความในความผิดเล็กน้อย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานมีและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบจึงไม่สามารถลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมความประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ แต่ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 16 มกราคม 2548 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 กันยายน 2549 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมความประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ แต่ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 16 มกราคม 2548 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 กันยายน 2549 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในความผิดฐานมีอาวุธปืน และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 มีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่า ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 หยิบอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 แล้ววิ่งออกจากที่เกิดเหตุไป จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นเหตุการณ์คนละตอนกับความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา และความผิดดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าจากใช้อาวุธปืนยิง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ศาลพิพากษาผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงสามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้ ยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล โดยผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า ร่วมกันมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การที่ผู้เสียหายพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมเบิกความต่อศาล ครั้นเมื่อมาเบิกความกลับระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนร้าย อันขัดแย้งกับคำให้การในชั้นสอบสวนที่ให้การยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงเชื่อว่าเป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ให้ไม่ต้องรับโทษ ชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การตั้งแต่วันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาไตร่ตรองหาเหตุผลมาช่วยเหลือจำเลยที่ 1 มายังสถานีตำรวจ ผู้เสียหายก็ชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายตั้งแต่วันเกิดเหตุนั้นเอง คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงน่าเชื่อถือมากกว่าคำเบิกความชั้นศาล
โจทก์ฎีกาเพียงว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ลงโทษจำเลยทั้งสองในบางข้อหานั้น โจทก์ไม่เห็นด้วย ขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาเพียงว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ลงโทษจำเลยทั้งสองในบางข้อหานั้น โจทก์ไม่เห็นด้วย ขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15953/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนเถื่อน: การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง
จำเลยมีอาวุธปืนพก ขนาด .32 (7.65 มม.) มีเครื่องหมายทะเบียน แต่นายทะเบียนมิได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ใดไว้ในครอบครอง ซึ่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า "ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องอาวุธปืนให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์ ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก" และมาตรา 10 บัญญัติว่า "อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตให้ตามมาตราก่อน ให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นไว้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง" ดังนี้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น มิใช่เป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อาวุธปืนดังกล่าวจึงเป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12775/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการครอบครองอาวุธปืน: การส่งต่อเพื่อโยนทิ้ง ไม่ถือเป็นความผิดฐานมีและพาอาวุธ
นายพิทักษ์กับพวกไปหาจำเลยที่บ้านร่วมดื่มสุราแล้วชวนไปเที่ยวงานวัดด้วยกันประมาณ 12 คน โดยนั่งตอนท้ายรถยนต์กระบะและอาวุธปืนของกลางอยู่ที่นายพิทักษ์เพียงผู้เดียว จนกระทั่งวันและเวลาเกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นพบอาวุธปืนของกลางบนพื้นถนนข้างรถยนต์กระบะดังกล่าว
พฤติการณ์ที่จำเลยรับอาวุธปืนของกลางจากนายพิทักษ์ แล้วส่งต่อให้เพื่อนไปโยนทิ้งทันที เป็นการที่จำเลยรับอาวุธปืนของกลางมาอยู่ที่จำเลยเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นเพื่อส่งต่อไปทันทีเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับนายพิทักษ์มีและพาอาวุธปืนของกลาง
พฤติการณ์ที่จำเลยรับอาวุธปืนของกลางจากนายพิทักษ์ แล้วส่งต่อให้เพื่อนไปโยนทิ้งทันที เป็นการที่จำเลยรับอาวุธปืนของกลางมาอยู่ที่จำเลยเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นเพื่อส่งต่อไปทันทีเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับนายพิทักษ์มีและพาอาวุธปืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12174/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาวุธปืน และการคืนของกลางแก่เจ้าของที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งข้อเท็จจริงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้องและศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์เองว่าอาวุธปืนของกลางมีรอยขูดลบเครื่องหมายทะเบียนและขูดลบแก้ไขเลขหมายประจำปืน แต่ไม่อาจยืนยันว่าเครื่องหมายทะเบียนและเลขหมายประจำปืนเดิมเป็นเลขหมายใด ศาลอุทธรณ์ย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมารับฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่น และลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 มิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงในสำนวนดังที่โจทก์ฎีกา และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาวุธปืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดหรือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 แม้โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนของกลางแก่เจ้าของ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 49, 195 วรรคสอง, 215 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10347/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกายกประเด็นความผิดซ้ำซ้อนแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาวุธปืนลูกซองเดี่ยวเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนซึ่งใช้ในราชการของกระทรวงมหาดไทยอันเป็นหน่วยราชการและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ การใช้ปืนป้องกันตัว และเหตุรอการลงโทษ
ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายจำเลยกับพวก จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า 1 นัด เพื่อขู่ไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้ามาทำร้าย ลักษณะจึงเป็นการเตือนก่อน จากนั้นได้ยิงลงพื้นดินระหว่างจำเลยกับกลุ่มผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเพื่อให้ถอยไป เมื่อไม่ได้ผลจึงยิงจนกระสุนปืนหมดลูกโม่ แต่ละนัดที่ยิงจำเลยพยายามยิงลงพื้นและในระดับต่ำเพื่อไม่ให้ถูกอวัยวะส่วนสำคัญของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 กับพวก ลักษณะบาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับจะอยู่ในระดับต่ำกว่าสะเอวลงมาคงมีเพียงผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดแผลที่แผ่นหลังเมื่อนอนหมอบลงแล้ว แสดงว่าจำเลยมิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 โดยมิได้บรรยายว่าผู้เสียหายทั้งสี่ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าจะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) มิได้ คงลงโทษได้เพียงตามมาตรา 295
จำเลยกับพวกได้กลับมาที่เกิดเหตุก็เพื่อเอารถจักรยานยนต์ของพวกจำเลยที่จอดทิ้งไว้ มิได้กลับมาหาเรื่องและชวนทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวก การที่ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายจำเลยกับพวก จำเลยกับพวกไม่มีหน้าที่ที่จะต้องหลบหนีแต่มีอำนาจที่จะป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการรุมทำร้ายของผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ลงมือทำร้ายชกต่อยจำเลยตกจากรถจักรยานยนต์ ภยันตรายที่จำเลยได้รับจึงถึงตัวจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงยิงไปทางผู้เสียหายที่ 1 กับพวกจนหมดลูกโม่จำนวน 6 นัด การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันสิทธิของตนและผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69
การที่จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีสาเหตุสมควร ทั้งไม่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยกับพวกได้กลับมาที่เกิดเหตุก็เพื่อเอารถจักรยานยนต์ของพวกจำเลยที่จอดทิ้งไว้ มิได้กลับมาหาเรื่องและชวนทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวก การที่ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเข้าไปรุมทำร้ายจำเลยกับพวก จำเลยกับพวกไม่มีหน้าที่ที่จะต้องหลบหนีแต่มีอำนาจที่จะป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการรุมทำร้ายของผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกได้ลงมือทำร้ายชกต่อยจำเลยตกจากรถจักรยานยนต์ ภยันตรายที่จำเลยได้รับจึงถึงตัวจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงยิงไปทางผู้เสียหายที่ 1 กับพวกจนหมดลูกโม่จำนวน 6 นัด การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันสิทธิของตนและผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69
การที่จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีสาเหตุสมควร ทั้งไม่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน