พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่อการคืนเงินภาษี: การพิจารณาบทบัญญัติที่ใช้บังคับ ณ ขณะยื่นคำร้อง
ขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 ถึงปีภาษี 2554 ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 วินิจฉัยว่า ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การพิจารณาว่า กรณีจะต้องมีการคืนเงินภาษีตามที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 ถึงปีภาษี 2554 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 วินิจฉัยว่า มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 แต่เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 เป็นกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง และตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 55 วรรคสี่ ที่กำหนดว่า ในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ให้ศาลแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้องและให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเป็นวันอ่านเท่านั้น ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวคงทำให้ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่เวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคือวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 จึงไม่มีผลทำให้ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่มีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในปีภาษี 2552 ถึงปีภาษี 2554
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการจัดหางาน (ค่าบริการ+ค่าใช้จ่าย) เป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ (แบบ จง.33) และใบเสร็จรับเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ (แบบ จง.37) โจทก์ได้รับเงินจากคนหางานเพื่อไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล เป็นค่าบริการจัดหางานรายละ 5,000 บาท ค่าใช้จ่ายรายละ 20,000 บาท และประเทศญี่ปุ่นเป็นค่าบริการจัดหางานรายละ 22,400 บาท ค่าใช้จ่ายรายละ 44,800 บาท โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายที่โจทก์เรียกเก็บจากคนหางานดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่ายในการจัดหางาน ประกอบกับระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากคนหางาน พ.ศ.2547 ข้อ 9 ก็ระบุว่า ผู้รับอนุญาตจัดหางานจะเรียกหรือรับค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคนหางานจากคนหางานไม่ได้ ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่า ค่าใช้จ่ายตามแบบ จง.33และแบบ จง.37 เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคนหางาน ค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการจัดหางานตามแบบดังกล่าว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับจากคนหางานเพื่อดำเนินการจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ไม่ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนหางานหรือไม่ก็ตาม เงินค่าใช้จ่ายในการจัดหางานทั้งจำนวนจึงเป็นรายได้ที่โจทก์ได้รับจากกิจการจัดหางานของโจทก์ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากร และเงินที่โจทก์ได้รับมาจากคนหางานทั้งจำนวนดังกล่าวย่อมถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่โจทก์ผู้ประกอบการได้รับจากการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีภาษีอากร ศาลจำหน่ายคดีไม่อาจอุทธรณ์หรือขอพิจารณาใหม่ได้
โจทก์ไม่มาศาลและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป ศาลภาษีอากรกลางต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 กรณีเช่นนี้แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 203 จะมิได้บัญญัติห้ามมิให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่การที่โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็นสำคัญ คดีนี้เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียว คือ ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความตามมาตรา 203 เท่านั้น โจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีและร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 203 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีป้าย: การประเมินป้ายที่มีอักษรไทยและต่างประเทศผสมกัน การตีความลักษณะป้ายตามกฎหมาย
ป้ายของโจทก์มีข้อความว่า กตัญญู อยู่ที่มุมบนด้านซ้าย ต่ำลงมาเป็นเครื่องหมายรูปหัวใจและมีข้อความภาษาต่างประเทศคำว่า KATANYU ด้านข้างมีข้อความว่า กตัญญู "คืนกำไร 100 % สู่สังคม" ถัดลงมามีรูปผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม 2 ขวด ขวดที่อยู่ด้านซ้ายที่ข้างผลิตภัณฑ์น้ำดื่มมีเครื่องหมายและมีข้อความภาษาต่างประเทศคำว่า KATANYU ด้านข้างมีคำว่า กตัญญู ด้านล่างคำว่ากตัญญูมีข้อความว่า น้ำดื่มตรากตัญญู DRINKING WATER ขวดที่อยู่ด้านขวาที่ข้างผลิตภัณฑ์น้ำดื่มมีเครื่องหมายและมีข้อความภาษาต่างประเทศคำว่า KATANYU ด้านข้างมีคำว่า กตัญญู ด้านล่างคำว่ากตัญญูมีข้อความว่า น้ำแร่ ตรากตัญญู MINERAL WATER และยังมีข้อความใต้ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มอีก 7 บรรทัด ป้ายของโจทก์ที่มีอักษรต่างประเทศคำว่า KATANYU อยู่ในส่วนด้านขวาของเครื่องหมายคล้ายรูปหัวใจ ย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 และถือว่าเป็นป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตฟ้องคดีภาษีอากรจากกระทำการทุจริต การฟ้องคดีไม่มีอำนาจ
การที่โจทก์ถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่กลับมาฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงจากการกระทำอันไม่สุจริตของตนว่า เงินฝากในบัญชีไม่ใช่เงินได้ของโจทก์ แต่เป็นเงินที่บริษัท ด. จ่ายเป็นค่าสินบนให้แก่พนักงานของรัฐ บริษัท ด. เป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีไปให้นักการเมืองได้โดยตรง จึงทำสัญญาจ้างบริษัท ย. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการเพื่ออำพรางการจ่ายเงินดังกล่าวและโจทก์ยอมนำเงินตามเช็คของบริษัท ย. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่บริษัท ด. จ่ายให้เข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยได้รับค่าตอบแทน เพื่อให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก และการประเมินถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 14 บัญญัติว่า "ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน" และมาตรา 15 บัญญัติว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภท" แต่ในหมวด 6 มิได้ระบุว่า อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรประเมินและไม่มีบทบัญญัติว่าไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น อากรแสตมป์จึงไม่ใช่ภาษีอากรประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 19 ประกอบกับมาตรา 123 กำหนดเพียงว่า เมื่อมีเหตุสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจมีอำนาจเข้าทำการตรวจค้นสถานที่เพื่อทำการตรวจสอบ กับมีอำนาจเรียกและยึดเอกสาร และออกหมายเรียกตัวผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ทรงตราสาร หรือผู้ถือ เอาประโยชน์แห่งตราสารและพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาไต่สวนได้ บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ใช่บทบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจต้องใช้อำนาจออกหมายเรียกเสมอไป แต่เป็นดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจว่ามีเหตุสมควรที่จะใช้อำนาจในการออกหมายเรียกตามมาตราดังกล่าวหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์จึงมีอำนาจเรียกเก็บอากรแสตมป์ได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อน
เมื่ออากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 18 ตรี ที่กำหนดให้เวลาในการชำระเงินไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ประกอบกับการเรียกเก็บอากรแสตมป์ดังกล่าวสืบเนื่องจากการกล่าวหาของกรมที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 114 และ 115 และตามมาตราดังกล่าวไม่ได้บัญญัติระยะเวลาชำระอากรไว้ดังเช่นมาตรา 18 ตรี การที่หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรให้เวลาชำระเงินภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จึงชอบแล้ว และเป็นคนละกรณีกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้เรียกเก็บอากรแสตมป์ ซึ่งมาตรา 115 วรรคสอง กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์จึงยังคงมีระยะเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรตามมาตรา 30 ประกอบมาตรา 115 วรรคสอง
โจทก์มุ่งประสงค์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ ก. และ ก.ชำระราคาให้แก่โจทก์ อันเป็นเจตนาของคู่สัญญาในการตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ต่อมา ก. ได้นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์พร้อมหนังสือยินยอมของ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมบ้านแก่ ก. โดยความรู้เห็นของโจทก์ และโจทก์ก็ได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินพร้อมบ้านจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้าน และโจทก์จะได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวซึ่งได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นตราสารใบรับที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 28 (ข)
เมื่ออากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 18 ตรี ที่กำหนดให้เวลาในการชำระเงินไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ประกอบกับการเรียกเก็บอากรแสตมป์ดังกล่าวสืบเนื่องจากการกล่าวหาของกรมที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 114 และ 115 และตามมาตราดังกล่าวไม่ได้บัญญัติระยะเวลาชำระอากรไว้ดังเช่นมาตรา 18 ตรี การที่หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรให้เวลาชำระเงินภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จึงชอบแล้ว และเป็นคนละกรณีกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้เรียกเก็บอากรแสตมป์ ซึ่งมาตรา 115 วรรคสอง กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์จึงยังคงมีระยะเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรตามมาตรา 30 ประกอบมาตรา 115 วรรคสอง
โจทก์มุ่งประสงค์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ ก. และ ก.ชำระราคาให้แก่โจทก์ อันเป็นเจตนาของคู่สัญญาในการตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ต่อมา ก. ได้นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์พร้อมหนังสือยินยอมของ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมบ้านแก่ ก. โดยความรู้เห็นของโจทก์ และโจทก์ก็ได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินพร้อมบ้านจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้าน และโจทก์จะได้รับชำระราคาจาก ก. หนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวซึ่งได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นตราสารใบรับที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 28 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนภาษีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน สิทธิเป็นของผู้ให้เช่า (นางประไพ) ไม่ใช่ผู้รับสิทธิเก็บกิน (โจทก์)
คดีนี้ พ. เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเป็นผู้ทำสัญญาให้บริษัท บ. เช่า เป็นเวลา 30 ปี บริษัท บ. ตกลงชำระค่าหน้าดิน 87,500,000 บาท ในวันเดียวกัน พ. ทำหนังสือสัญญาให้สิทธิเก็บกินบนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นหลาน และบริษัท บ. ตกลงจ่ายค่าหน้าดินและค่าเช่าให้แก่โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกิน แต่เพิ่งไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายหลังจากที่มีการทำสัญญาเช่าแล้ว ดังนั้น ผู้มีเงินได้ตามสัญญาเช่า คือ พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า โจทก์ทั้งสามเป็นเพียงผู้รับเงินค่าเช่าแทน พ. เท่านั้น
การที่บริษัท บ. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการออกหนังสือรับรองผิดหน่วยภาษี โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษี
การที่บริษัท บ. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการออกหนังสือรับรองผิดหน่วยภาษี โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10340/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลประโยชน์ตอบแทนและภาษีสรรพสามิต: การรวมภาษีสรรพสามิตเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัท อ. ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ ซึ่งโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำรายรับจากผลประโยชน์ตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. ทั้งจำนวนมาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ต่อมาได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดังนี้ เงินจำนวนเท่าภาษีสรรพสามิตซึ่งเรียกเก็บจากการให้บริการตามสัญญาอนุญาตดังกล่าวย่อมจะต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง เป็นการเฉพาะแล้ว ส่วนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการเพื่อให้มีการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาต้องนำส่งให้โจทก์ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เห็นว่า คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจนเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ คู่สัญญาภาคเอกชนมีสิทธินำเงินค่าภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าวตลอดทั้งปี (ไม่รวมดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือเงินเพิ่มใด ๆ) มาหักออกจากจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้คู่สัญญาภาครัฐเมื่อสิ้นปีดำเนินการได้นั้น มิได้มีผลทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาในเรื่องการลดจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทคู่สัญญาต้องจ่ายแก่โจทก์ และแม้บริษัท อ. จะใช้วิธีนำค่าภาษีสรรพสามิตที่ชำระให้แก่กรมสรรพสามิตไปแล้วมาหักออกจากผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินสดส่วนนี้ แต่การหักหนี้กันเองเช่นนี้ย่อมส่งผลให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทคู่สัญญาในอันที่จะนำเงินค่าภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อตอนสิ้นปีดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นระงับลง ประโยชน์จากการหักหนี้ดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่โจทก์ได้รับแล้วอันเป็นส่วนหนึ่งของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสอง มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางดำเนินการระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง จึงเป็นคนละส่วนกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่โจทก์ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (1) มติคณะรัฐมนตรีจึงมิได้มีผลเป็นการลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของโจทก์ เงินค่าภาษีสรรพสามิตที่บริษัทคู่สัญญาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายแก่โจทก์ จึงย่อมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและถือเป็นรายรับที่โจทก์ได้รับจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10339/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาณการกำไรสุทธิภาษีปิโตรเลียม: เหตุอันสมควร, ผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยน, การลดเบี้ยปรับ
พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 มาตรา 34 กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่พึงมีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี โดยรายได้ของโจทก์ที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ย่อมต้องเป็นไปตามมาตรา 22 สำหรับกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของโจทก์มีที่มาจากบัญชีเจ้าหนี้ลูกหนี้ หนี้สิน หรือสิทธิเรียกร้อง ที่มีมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศ ยอดเงินได้จากการขายปิโตรเลียมในส่วนนี้ ย่อมต้องคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากยอดขายปิโตรเลียมของโจทก์ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงเป็นสาระสำคัญสำหรับในการคำนวณยอดเงินได้จากการขายปิโตรเลียม ที่ต้องนำมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 22 (1) โจทก์จึงมีหน้าที่จัดทำประมาณการกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่พึงมีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 34
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีจากส่งเสริมการลงทุน และเหตุลดเบี้ยปรับ
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 19 จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 มาตรา 3 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2534 เป็นต้นไป ซึ่งมาตรา 19 เดิม บัญญัติว่า ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่ ป.รัษฎากร มาตรา 19 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติแต่เพียงว่า การออกหมายเรียกจะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ ซึ่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่มิได้กำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องขออนุมัติขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ และกรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า โจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์เกินกว่าสองปีก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีการแก้ไขให้ออกหมายเรียกได้ภายในสองปี จากเดิมที่บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกได้ภายในห้าปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ