คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและการทำพินัยกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย โดยการยินยอมให้แบ่งสินสมรสก่อนถึงเวลาไม่สมบูรณ์
โจทก์และช.ซึ่่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้ ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2519 และการสืบสันดานรับมรดก
ห. กับ จ.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกันบุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี2532เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตามการแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายได้2ส่วนหญิงได้1ส่วนจะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าจากเหตุทิ้งร้างและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์แถลงรับว่าโจทก์มีเจตนาทิ้งร้างจำเลยตามฟ้องแย้งและศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทนายจำเลยลงชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้าน และต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงรับข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมีโอกาสคัดค้านก็ตาม ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามฟ้องแย้งโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีก โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม แม้ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2512ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 5การแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ จำเลยได้ที่ดินมาเมื่อปี 2511 ก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ โดยบุตรสาวจำเลยยกให้โดยเสน่หาแต่มิได้ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(3) ที่ดินจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ ก็จะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับไม่ได้เพราะที่ดินตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และการแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง. ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(เดิม)เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ. 2465 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฎว่าโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง. ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง. สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมของภริยาและการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน
เอกสารที่โจทก์แนบมาพร้อมฎีกา โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 ศาลฎีกาไม่รับฟัง โจทก์จำเลยเป็นบุตร นาย ป. และนาง ช. ซึ่งสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. 2477 นาย ป. ถึงแก่กรรมก่อน นาง ช.แม้ นาย ป. จะถึงแก่กรรมขณะที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ใช้บังคับก็ตามแต่การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยามิใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่าย ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ นาง ช. มีมาก่อนสมรส อันเป็นสินเดิมของ นาง ช.จึงต้องคืนแก่นางช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้แก่จำเลยได้ พินัยกรรมในส่วนที่พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีมีพินัยกรรมและข้อพิพาทเกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาท
ร้อยเอก ค.กับนางง. อยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สินสมรสระหว่างร้อยเอกค.กับนางง.จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้ต่อมาจะได้มีการจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ก็ไม่กระทบกระเทือนการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสซึ่งมีอยู่ตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งมีชื่อร้อยเอก ค.กับนางง. ร่วมกันในโฉนด บางรายการได้มาและลงชื่อร่วมกันตั้งแต่ยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับและบางรายการได้มาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมแล้วซึ่งไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาเมื่อใดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันและในโฉนดที่ดินมีชื่อร้อยเอกค.และนางง.ร่วมกัน มิได้แยกออกไว้เป็นสินส่วนตัวของนางง. แต่อย่างใด ทรัพย์ทั้งหมดที่ได้มาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ต้องแบ่งกันตามส่วนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 เมื่อปรากฏว่านาง ง. ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับร้อยเอก ค.โดยนางง.ไม่มีสินเดิมนางง.ย่อมไม่มีส่วนได้ในสินสมรส สินสมรสทั้งหมดจึงเป็นของร้อยเอก ค.แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดีก่อนร้อยเอก ค. ถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นาง ง.โจทก์และจำเลยทั้งสองนางง.จึงยังมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด ร้อยเอก ค.กับนางง. เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ก่อนแล้วการที่ร้อยเอก ค.กับนางง.จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม ซึ่งประกาศใช้ภายหลัง หากมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นกรรมสิทธิ์รวมคนละส่วนเท่ากันก็น่าจะระบุไว้ในทะเบียนสมรสให้ชัดแจ้ง เพราะเท่ากับเป็นข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวสำหรับผู้ที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม นอกจากนั้นร้อยเอก ค.ยังให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้หลังทะเบียนสมรสด้วยว่า เรื่องทรัพย์สินไม่ประสงค์ให้บันทึก ย่อมไม่อาจรับฟังว่าร้อยเอก ค.จดทะเบียนสมรสโดยเจตนาจะให้นางง.มีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละส่วนเท่ากัน นางง.มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.1 ใน 4 ส่วนของทรัพย์มรดกทั้งหมด ย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ตกได้แก่ตนนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ และจะเป็นโมฆะเฉพาะการยกทรัพย์ส่วนที่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกส่วนที่ตนมีสิทธิจะได้รับเท่านั้น นางง.ทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.ซึ่งตนมีสิทธิ 1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ เมื่อรวมกับส่วนของโจทก์เองอีก 1 ใน 4 ส่วน รวมเป็นส่วนของโจทก์ 1 ใน 2 ส่วน แต่เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. โดยอ้างว่ามีสิทธิ 1 ใน 3 ส่วน เห็นควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์ส่วนนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วน ตามที่ขอ สำหรับผลประโยชน์อื่นอันเกิดแต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านี้โดยชัดแจ้งแต่ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา และคำขอท้ายฎีกาโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดตามส่วนที่ควรจะได้ เมื่อปรากฏว่าส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเกี่ยวกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเกี่ยวพันอยู่ในประเด็นที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดเครื่องลายครามและชนิดเครื่องมุก ของโบราณบางรายการ รายการละ 1 ใน 2 ส่วน แต่โจทก์ขอแบ่งโดยอ้างว่ามีสิทธิเพียง 1 ใน 3 ส่วน คำพิพากษาศาลล่างในส่วนนี้จึงเกินคำขอปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและมรดกก่อน/หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, อายุความฟ้องร้อง
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนาย ห. และนาง ก. มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนาง ก. 2 ใน 3 ส่วน คิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนาย ห. เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่อยู่กินก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการคำนวณสิทธิในมรดก
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนายห.และนางก.มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนางก. 2 ใน 3 ส่วนคิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนายห.เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
of 6