คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่มีสิทธิรับมรดก หากไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมที่ไม่จดทะเบียนหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรสที่สมรสก่อนและหลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 ฉบับใหม่ การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ
เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ. 2477) แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ. 2519) แล้ว การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ขณะสมรสมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสก่อน-หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง: กฎหมายที่ใช้บังคับเมื่อสามีภริยาสมรสก่อนและเสียชีวิตหลังใช้กฎหมายใหม่
เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(ฉบับปี พ.ศ.2477) แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ.2519)แล้ว การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ขณะสมรสมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อน เว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน. ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย. ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย. ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์ หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนเว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย.ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย.ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดแม้แยกกันอยู่ และผลของการจดทะเบียนสมรสใหม่
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แยกกันอยู่โดย ไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดตามกฎหมาย แม้แยกกันอยู่ และสิทธิในสินสมรสของภริยาหลวง
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5แยกกันอยู่โดยไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้นภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภรรยาน้อยไร้สินเดิม ไม่มีสิทธิแบ่งสินสมรสจากกองมรดก แม้สามีมีพินัยกรรม
โจทก์เป็นภรรยาน้อยของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากกองมรดกของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมติดตัวมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะขอแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 (อ้างฎีกาที่ 821/2463)
เมื่อปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นขอแบ่งสินสมรสโดยอ้างว่าทุกฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกันมิได้ตั้งประเด็นเป็นเรื่องมรดกศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ ในเรื่องขอให้แบ่งสินสมรสภาคมรดก
of 6