คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส จำเลยมีสิทธิยกให้ได้หากหามาได้เอง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาร้างกัน แต่ยังมิได้หย่าขาดจากกัน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันและแม้ยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายก็ไม่เป็นสินสมรส เพราะเหตุว่าทรัพย์สินมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว (อ้างฎีกาที่ 1235/2494, 991/2501) เมื่อไม่เป็นสินสมรส จำเลยก็มีสิทธิยกให้โดยเสน่หาได้ โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาก่อน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน แต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้ เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้อยู่กินร่วมกัน และการฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้ความสัมพันธ์เดิมเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยา แม้การสมรสจะโมฆะ และมีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น. ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย. แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด.
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้ว.แม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส.
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม. คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้. แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องมรดกทั้งฐานะบุตรบุญธรรมและทายาทตามบัญชีเครือญาติ: ศาลต้องพิจารณาประเด็นทั้งสอง
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ พ. โดยอ้างว่าเป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ประการหนึ่งกับอ้างว่าเป็นทายาทของ พ. ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องด้วยอีกประการหนึ่ง ตามบัญชีเครือญาติโจทก์แสดงว่า พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคนรวมทั้ง ว. บิดาโจทก์ ว. ตายไปแล้ว ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจถึงการเป็นทายาทของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดก ของ พ. แทนที่ ว. ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพการเป็นทายาท ของโจทก์ว่าเป็นมาโดยลำดับอย่างไรไว้ในคำฟ้องแล้วเพราะบัญชีเครือญาติ ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรมแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับมรดกตามบัญชีเครือญาติ แม้ไม่มีสถานะบุตรบุญธรรม ศาลต้องพิจารณาประเด็นการเป็นทายาท
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ พ. โดยอ้างว่าเป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ประการหนึ่ง กับอ้างว่าเป็นทายาทของ พ. ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องด้วยอีกประการหนึ่ง ตามบัญชีเครือญาติ โจทก์แสดงว่า พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคนรวมทั้ง ว. บิดาโจทก์ ว. ตายไปแล้ว ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจถึงการเป็นทายาทของโจทก์ ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกของ พ. แทนที่ ว. ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพการเป็นทายาทของโจทก์ว่าเป็นมาโดยลำดับอย่างไรไว้ในคำฟ้องแล้ว เพราะบัญชีเครือญาติก็เป็นส่วนหนึ่งขอคำฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างคู่สมรสที่เลิกร้างกัน ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสของสามีโจทก์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก และจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของสามีโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ให้ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว็้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นผู้จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทโดยตรง ทั้งถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทรัพย์ที่สามีได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส (อ้างฎีกาที่ 84/2497 และฎีกาที่ 991/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างคู่สมรสที่เลิกร้างกัน: ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสของสามีโจทก์ จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก และจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของสามีโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ให้ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นผู้จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทโดยตรง ทั้งถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทรัพย์ที่สามีได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส(อ้างฎีกาที่ 84/2497 และฎีกาที่ 991/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดจากการสมรสหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ บรรพ 5 จำเลยต้องพิสูจน์การขาดจากกันตามกฎหมาย
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ถ้าจะขาดจากการสมรสภายหลังที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กรณีเรื่องขาดจากการสมรสไม่ใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดจากการสมรสตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 แต่เป็นกรณีที่จะสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของภรรยาต่อหนี้ที่สามีก่อขึ้นระหว่างสมรส: พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีไปก่อหนี้ขึ้นระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาและภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแต่ไหน เพียงใดนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 มาตรา 4 แต่เป็นปัญหาที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกับสามีต่างหาก จะเทียบกับเรื่องแบ่งสินสมรสก็ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวข้องถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่า สามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว การที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่า เป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
of 6