พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ขอเพิ่มโทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ทำคำพิพากษาไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบจึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้โทษคดีพรากเด็ก-กระทำชำเรา: ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษแม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามฎีกา
แม้ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะลงโทษจำเลยให้เหมาะสมตามความผิดและพฤติการณ์แห่งคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับควบคู่กับจำคุกในคดียาเสพติด ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษปรับตามกฎหมายยาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์จะไม่ได้ลงโทษปรับ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์กับส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ..." ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียงสถานเดียว โดยมิได้ลงโทษปรับจำเลยด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยครบถ้วน ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. ศาลฎีกายกคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย คงวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์ของโจทก์ ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) เห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11013/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิพากษาความผิดฐานทำลายป่าไม้ แม้ไม้ไม่ใช่ไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้ โดยตัดฟันต้นงิ้วภายในเขตป่าประดางและป่าวังเจ้า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และเลื่อยออกเป็นท่อนได้ไม้งิ้ว 105 ท่อน ปริมาตร 12.07 ลูกบาศก์เมตร แล้วร่วมกันใช้รถยนต์บรรทุกนำไม้ดังกล่าวออกจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ต้นไม้งิ้วที่จำเลยกับพวกร่วมกันตัดฟันและเลื่อยออกเป็นท่อนนั้น เป็นไม้หวงห้ามอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานทำไม้ ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ดังนั้น ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาด้วยและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานร่วมกันทำไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16397/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยนั้นต่อไป
คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 6 อุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 6 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 ถอนอุทธรณ์เฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยที่ 6 เท่านั้น แล้วพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต่อไป แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของจำเลยที่ 6 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่เพื่อประโยชน์แก่จำเลย
แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษและโจทก์อุทธรณ์เพียงข้อกฎหมายว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนั้นสูงเกินไป ก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 แต่อย่างใด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับไม้หวงห้าม เลื่อยโซ่ยนต์ และการนำเข้าหลีกเลี่ยงอากร ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดและแก้ไขโทษ
เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 83 แห่ง ป.อ. หาทำให้คำฟ้องบกพร่องจนศาลไม่อาจจะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ไม่ เพราะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด..." ซึ่ง ป.อ. มาตรา 83 มิใช่บทมาตราที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว แม้จะไม่ได้ระบุมาตรา 83 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งโจทก์และจำเลย การไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ถือเป็นข้อผิดพลาดทางกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่ลดโทษให้จำเลย ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษา ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลดโทษให้จำเลยหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์คงวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลย ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) ศาลฎีกามีอำนาจให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีชำเรา ความพิรุธของคำให้การ และหลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นความผิด 2 กระทง กระทงแรกกระทำในขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 13 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) กระทงที่ 2 กระทำผิดในขณะผู้เสียหายอายุเกิน 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้กระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จะต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาซึ่งครอบคลุมไปถึงความผิดดังกล่าว ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และ 225