พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10385/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษและระยะเวลาฝึกอบรมเยาวชนในคดีอาญา: อำนาจศาลในการแก้ไขโทษและปรับบทกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมโดยกำหนดระยะเวลาให้อบรมในเวลาขั้นต่ำไม่น้อยกว่ากี่ปี และขั้นสูงไม่เกินกว่ากี่ปีนับแต่วันพิพากษานั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาตามที่ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) ประกอบมาตรา 143 ให้อำนาจไว้เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงความประพฤติของจำเลย แต่การจะส่งจำเลยไปจำคุกหลังจากอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 142 วรรคท้าย มิใช่เป็นกำหนดระยะเวลาของการฝึกอบรม จึงกำหนดระยะเวลาเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงอย่างเดียวกับการฝึกอบรมไม่ได้ เพราะจะเป็นการกำหนดเวลาที่ไม่ชัดเจนแน่นอน เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
การที่จำเลยแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบา หากมีโทษจำคุกก็ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจะขอมาในรูปของคำแก้ฎีกาไม่ได้
การที่จำเลยแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบา หากมีโทษจำคุกก็ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจะขอมาในรูปของคำแก้ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในชั้นศาลและการโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ว่ากันมาแล้ว เป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดซึ่งมิใช่เป็นคดีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ผู้เสียหายทั้งสองมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้เสียหายทั้งสองขอชำระหนี้รายนี้ได้อีกก็มิได้หมายความว่าผู้เสียหายทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามเช็คได้ระงับและสิ้นผลผูกพัน จึงหาได้ทำให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นอันเลิกกัน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ผู้เสียหายทั้งสองมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้เสียหายทั้งสองขอชำระหนี้รายนี้ได้อีกก็มิได้หมายความว่าผู้เสียหายทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามเช็คได้ระงับและสิ้นผลผูกพัน จึงหาได้ทำให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นอันเลิกกัน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินด้วยบัตร ATM ที่ผิดพลาด: จำเลยครอบครองเงินโดยไม่เจตนา ทำให้เป็นการรับของโจร ไม่ใช่ลักทรัพย์
เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มดังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด ข้อเท็จจริงตามฟ้องที่โจทก์บรรยายมาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตร ATM ของผู้อื่นเบิกถอนเงินโดยผิดพลาด ศาลปรับบทเป็นรับของโจรแทนลักทรัพย์
เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มอังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด เพราะมิฉะนั้นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมไม่สามารถใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนออกไปได้ ข้อเท็จจริงตามฟ้องตามที่โจทก์ได้บรรยายมาดังกล่าวนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนไปนั้น จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เมื่อศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองใหม่แล้ว ก็ต้องกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เหมาะสมกับความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจากคำรับสารภาพและการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม
คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์มิได้สืบพยาน ย่อมไม่อาจกล่าวได้ว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเป็นอย่างไร และจำเลยจำนนต่อพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ดังนั้นคำรับสารภาพของจำเลยย่อมเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 สมควรลดโทษให้แก่จำเลย แม้ปัญหาข้อนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กโดยใช้อาวุธ: ศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษฐานใช้อาวุธ
ก่อนจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยนำอาวุธมีดที่ติดตัวออกมาวางบริเวณเสื่อที่จัดเตรียมไว้แล้วจึงกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายมิได้ยืนยันว่าจำเลยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเรา เมื่อจำเลยสำเร็จความใคร่แล้ว จำเลยนำอาวุธมีดมาถือไว้และข่มขู่ผู้เสียหายมิให้บอกแก่ผู้อื่นว่าถูกจำเลยกระทำชำเรา ซึ่งเป็นการใช้อาวุธมีดหลังจากที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยยังไม่อาจรับฟังให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้อาวุธ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม คงรับฟังให้เป็นยุติได้แต่เพียงว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน ตัดโค่นไม้-ครอบครองของป่าหวงห้าม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
ความผิดฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้ามเป็นการกระทำที่สามารถแยกเจตนาของจำเลยทั้งหกออกจากความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อจำเลยทั้งหกร่วมกันตัด โค่น ทำลายต้นไม้และเก็บหาของป่าหวงห้ามแล้วย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งหกจะได้ครอบครองของป่าหวงห้ามหรือไม่ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7384/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษเดิมและรอการลงโทษได้
แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อคดีของจำเลยที่ 1 ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา หากศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่เหมาะสม ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ให้เหมาะสมแก่ความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 โดยรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถจักรยานยนต์ ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณารอการลงโทษจำคุกจากเหตุผลหลายประการ
นอกจากจำเลยทั้งสองจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงลงจากสะพานแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขับรถโดยฝ่าฝืนกฎจราจรอื่น หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ร่วมใช้เส้นทางในการประการอื่นอีก ทั้งจุดที่เกิดการชนกันก็เป็นบริเวณช่องเดินรถตามปกติของจำเลยทั้งสองและเกิดขึ้นขณะที่ผู้ตายกำลังข้ามถนนในช่วงที่รถยนต์กำลังแล่นอยู่ ประกอบกับบริเวณที่เกิดเหตุแม้จะมีไฟฟ้าสาธารณะแต่ก็มีแสงสว่างค่อนข้างสลัว ดังนั้นแม้จะเกิดเหตุด้วยความประมาทของจำเลยทั้งสอง แต่ก็เป็นความประมาทที่ไม่ร้ายแรงนัก ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้พยายามบรรเทาความเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายด้วยการชดใช้เงินให้บางส่วนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน กรณีจึงมีเหตุสมควรปราณีโดยการรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง เป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้เงินแก่ฝ่ายผู้เสียหายจำนวน 30,000 บาท และจำเลยที่ 1 มีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง กับมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาโดยให้รอการลงโทษไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์: แม้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะประเด็นรอการลงโทษ ศาลก็แก้ไขโทษได้หากเห็นว่าหนักเกินไป
การที่โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ และศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าวก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดมานั้นยังหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215