พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ทุกประเด็น การไม่วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 6 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษา ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่อุทธรณ์ของจำเลย ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6), (8) ให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวนี้ต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่มีการอุทธรณ์จากคู่ความ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 (ก) ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 50 ฟ้องข้อ 2 (ข) ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 และ พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) ฟ้องข้อ 2 (ค) ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (3) โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตามกฎหมายและบทมาตราดังกล่าวด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทุกข้อหา แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 เท่านั้น จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาปรับบทลงโทษครบถ้วนและถูกต้องโดยมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุน้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษที่ไม่เหมาะสมตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เหมาะสม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ได้จากการถูกข่มขู่ ไม่เป็นประโยชน์ในการลดโทษ
แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมว่าได้ฆ่าผู้ตาย แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบว่าคำให้การรับสารภาพดังกล่าวเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจข่มขู่ ซึ่งหมายความว่าจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจหรือตามความเป็นจริง กรณีจึงถือว่าไม่มีคำรับของจำเลยในชั้นจับกุมอันจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ที่จะเป็นเหตุบรรเทาโทษเพื่อยกขึ้นเป็นข้ออ้างสำหรับลดโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงคดีอาญา, การนอกฟ้อง, และข้อจำกัดการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมิใช่เป็นบทกำหนดโทษปรับเกินกว่า 60,000 บาท แม้โทษปรับรายวันเมื่อรวมกันแล้วจะเกิน 60,000 บาท ศาลแขวงก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ดังนั้นที่ศาลพิพากษาให้ปรับรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมค่าปรับทั้งหมดแล้วจะเกิน 60,000 บาทหรือไม่ จึงชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาแก้โทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายได้แม้จะเป็นการเพิ่มโทษก็หามีบทกฎหมายห้ามไว้ไม่ ฟ้องโจทก์มุ่งหมายจะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เฉพาะความผิดฐานชัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 เท่านั้นหาได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 21 ด้วยไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ เพราะเป็นการนอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาว่า จำเลยเข้าครอบครองที่สาธารณะโดยการปลูกสร้างอาคารก่อนที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522จะใช้บังคับ กรณีต้องด้วยมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องกำหนดเวลารื้อถอนให้จำเลยไม่น้อยกว่า6 เดือน เช่นนี้ข้อฎีกาของจำเลยเป็นการเถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้คู่ความต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาจากความขัดแย้งเรื่องค่าอาหาร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมไม่ลดโทษ
จำเลยที่ 1 อายุ 19 ปี จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนช่างกลแห่งหนึ่ง เลิกเรียนแล้วได้ไปดื่มสุราที่ร้านอาหารที่มีการแสดงดนตรีจนดึกเกือบ 24 นาฬิกา แล้วแสดงความประพฤติไม่ดีจะไม่จ่ายค่าอาหาร ครั้นถูกติดตามทวงค่าอาหารก็เกิดความไม่พอใจและไปพาพวกมายิงพนักงานร้านอาหารนั้นจนถึงแก่ความตาย แสดงว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 รู้สึกผิดชอบเป็นผู้ใหญ่และประพฤติตนเป็นอาชญากรเหี้ยมโหดถึงกับฆ่าผู้ประกอบกิจการงานโดยสุจริต เป็นภัยแก่สังคมอย่างยิ่ง ไม่สมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษลงอีก หรือดำเนินการตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงป้องกันตัวที่ไม่สมเหตุสมผลและการพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์เหตุแห่งการกระทำ
ในฎีกาของจำเลยยอมรับเป็นปริยายว่า นาง ว.และนางร. อยู่ที่บ้านของ ท.โดยอ้างคำเบิกความของนางว.ในข้อที่ว่าถูกท.เอาปืนจี้ห้ามมิให้ขานรับคำร้องเรียกของ ส. ด้วยเกรงว่าหญิงทั้งสองจะเป็นหน้าม้าให้คนร้ายมาปล้นทรัพย์ อันเป็นการอ้างเอาคำเบิกความของนาง ว. เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนว่ามีความระแวงว่าจะมีคนร้ายมาปล้นแต่แรก ดังนี้คำเบิกความของนาง ว.และนางร. พยานโจทก์รับฟังได้
การที่ จ. ผู้ตายถูกกระสุนปืนที่ขมับขวาจนมันสมองไหล และ อ.ผู้ตายถูกกระสุนปืนกลางศีรษะกระสุนทะลุกระโหลกศีรษะเป็นแผลฉกรรจ์มาก ผู้ตายทั้งสองน่าจะสิ้นสติฟุบอยู่กับที่คือในเรือตรงที่พบศพผู้ตาย ไม่มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าผู้ตายทั้งสองขึ้นมาบนฝั่ง เมื่อถูกยิงแล้วจึงกระโดดกลับลงไปในเรือ กรณีน่าจะเป็นว่าผู้ตายทั้งสองถูกยิงขณะเรือลอยลำอยู่ภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยซึ่งอยู่ที่บ้านบนฝั่งและเกรงว่าฝ่ายผู้ตายจะมาปล้นทรัพย์จึงหามีไม่ การยิงของจำเลยจึงไม่ใช่การป้องกันตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ท้องที่ที่เกิดเหตุจะมีการปล้นทรัพย์ชิงทรัพย์กันบ่อยก็ตามอย่างไรก็ดีพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวศาลย่อมลงโทษจำเลยขั้นต่ำสุดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้
เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 กรณีจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำไปด้วยความตื่นเต้น ตกใจหรือกลัวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา69 หรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ จ. ผู้ตายถูกกระสุนปืนที่ขมับขวาจนมันสมองไหล และ อ.ผู้ตายถูกกระสุนปืนกลางศีรษะกระสุนทะลุกระโหลกศีรษะเป็นแผลฉกรรจ์มาก ผู้ตายทั้งสองน่าจะสิ้นสติฟุบอยู่กับที่คือในเรือตรงที่พบศพผู้ตาย ไม่มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าผู้ตายทั้งสองขึ้นมาบนฝั่ง เมื่อถูกยิงแล้วจึงกระโดดกลับลงไปในเรือ กรณีน่าจะเป็นว่าผู้ตายทั้งสองถูกยิงขณะเรือลอยลำอยู่ภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยซึ่งอยู่ที่บ้านบนฝั่งและเกรงว่าฝ่ายผู้ตายจะมาปล้นทรัพย์จึงหามีไม่ การยิงของจำเลยจึงไม่ใช่การป้องกันตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ท้องที่ที่เกิดเหตุจะมีการปล้นทรัพย์ชิงทรัพย์กันบ่อยก็ตามอย่างไรก็ดีพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวศาลย่อมลงโทษจำเลยขั้นต่ำสุดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้
เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 กรณีจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำไปด้วยความตื่นเต้น ตกใจหรือกลัวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา69 หรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดียาเสพติดต้องคำนึงถึงปริมาณยาเสพติดและอัตราโทษตามกฎหมาย
การกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในคดีอาญาต้องคำนึงถึงอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายด้วย โทษฐานมียาเสพติดประเภท 1(เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้นถือเอาปริมาณยาเสพติดที่มีไว้ในครอบครองเป็นเกณฑ์กล่าวคือ ถ้าปริมาณไม่เกิน 100กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท แต่ถ้าปริมาณเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต. จำเลยมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 58.255 กรัม. คือปริมาณกึ่งหนึ่งของเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยถึง 40 ปี ซึ่งเกือบจะเท่าโทษสูงสุดที่กฎหมายกำหนด นับได้ว่าเป็นการกำหนดโทษที่ค่อนข้างจะสูงเกินไป เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้และลดโทษให้จำเลย เหลือโทษจำคุก 15 ปี จึงเป็นกำหนดโทษที่เหมาะสม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมพิจารณาคดีอาญาเด็กและวิธีการลงโทษแบบไม่ลงโทษ (ส่งสถานพินิจ) การรวมโทษและอำนาจศาล
จำเลยกระทำความผิด 2 กรรม โจทก์ฟ้องเป็น 2 สำนวนเมื่อจะเป็นการสะดวกหากพิจารณารวมกัน ศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้พิจารณารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28การพิพากษาความผิดของจำเลยจะต้องพิพากษาทุกกรรม ส่วนวิธีการลงโทษต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แต่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี และศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษ จึงพิพากษาให้ส่งตัวไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจฯ ดังนี้ ไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 91 เพราะไม่ใช่การลงโทษ จึงรวมกำหนดระยะเวลาการส่งตัวไปรับการฝึกอบรมทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้ ไม่จำต้องกำหนดว่าสำนวนละเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการลงโทษอาญา: การเทียบเคียงสำนวนคดีอื่นเพื่อกำหนดโทษที่เหมาะสม
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 581 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะอัตราโทษ เป็นจำคุก 3 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ภายในกำหนด 2 ปี เป็นการแก้ไขมาก โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้
การใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ศาลอาจจะพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ศาลเคยถือกำหนดในการวางโทษเพื่อเทียบเคียงหยั่งความหนักเบาของโทษได้ ศาลจึงย่อมจะนำสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร
การใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ศาลอาจจะพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ศาลเคยถือกำหนดในการวางโทษเพื่อเทียบเคียงหยั่งความหนักเบาของโทษได้ ศาลจึงย่อมจะนำสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร