คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสก่อนและหลังการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปรับปรุง
โจทก์กับป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับป. ได้มาเมื่อปี2491เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1468,1473และมาตรา1462อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมาที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1476จะบัญญัติว่านอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา1480วรรคสองบัญญัติว่าในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ป. สามีโจทก์จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519บัญญัติไว้และอำนาจจัดการนั้นมาตรา1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่าให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้วแม้ต่อมาโจทก์กับป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปี2522ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสก่อน/หลังการตรวจชำระใหม่ พ.ร.บ. 2519: สิทธิสามีในการจำหน่ายที่ดิน
โจทก์กับ ป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป. ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477มาตรา 1468,1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา 1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ป. สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสขัดต่อกฎหมาย และการแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรส
โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาคนแรกยังคงเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2464ก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตาย เมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาเดิมยังอยู่กินฉันสามีภริยาและไม่ถือว่าสิ้นสุด
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกันทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น3ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมืองเมียกลางนอกหรืออนุภรรยาและเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยาสำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึงหญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก2ประเภทก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยาแต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตามต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าบิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี2464ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง6คนและตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา5บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรสฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใดผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมาส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี2491ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน4คนแต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1452และมาตรา1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสโดยความยินยอมของคู่สมรส แม้ภายหลังจะมาฟ้องเพิกถอนมิได้ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อ. ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการรับมรดกระหว่างเป็นสามีโจทก์เมื่อปรากฏว่า อ. ได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาก่อนวันที่ 16 ตุลาคม2519 อันเป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับ ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466
แม้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ก็ตามเมื่อปรากฏว่าการที่ อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยด้วยนั้น โจทก์ซึ่งรู้เห็นอยู่แล้วไม่ได้คัดค้านหรือทักท้วงประการใดกลับปล่อยให้จำเลยดำเนินการไถ่ถอนการขายฝาก และจดทะเบียนโอนที่ดินยกให้เป็นของจำเลยแล้ว โจทก์จะมาใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายจากการอยู่กินฉันสามีภริยา และการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสินสมรสหลังการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากสัดส่วนสินสมรสและส่วนแบ่งทายาท
จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาระหว่างที่จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายม้วน เมื่อนายม้วนตายต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งจำเลยได้ 1 ส่วน นายม้วนได้ 2 ส่วน ส่วนของนายม้วนตกแก่ทายาททั้งหมดคือจำเลยในฐานะภริยาและทายาทอื่นรวมทั้งหมด 8 คน
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสที่ได้มาจากการยกทรัพย์สินให้ระหว่างสมรส และอำนาจทำพินัยกรรมในส่วนของสินสมรส
จำเลยเป็นภรรยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อพ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดเลขที่11878 ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471และมาตรา 1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิมก็ไม่ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1481
of 6