พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวของคู่สมรสที่ทำไปโดยความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา1462 1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา1462 1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายสินสมรสและสินส่วนตัวที่ทำไปโดยไม่สุจริต และการให้โดยเสน่หาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่1ขณะที่ พ. มีโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 อยู่แล้ว เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสและเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ 1496 โจทก์คงเป็นภริยาของ พ. แต่ผู้เดียวเดิมที่พิพาทมีชื่อพ. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาก่อนสมรสกับโจทก์จึงเป็นสินเดิมของ พ. กึ่งหนึ่ง ซึ่งตกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ อีกกึ่งหนึ่ง พ. ได้รับมรดกของบิดาหลังสมรส จึงตกเป็นสินสมรสของโจทก์และ พ. สามีเมื่อที่พิพาทเป็นสินสมรสและสินส่วนตัวจึงเป็นสินบริคณห์ตาม มาตรา1462 เดิม สิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบ พ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยทั้งห้า ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดกและสินสมรส: การครอบครองและฟ้องคดีจัดการสินสมรส
ที่พิพาทสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1462 เดิมสามีย่อมมีสิทธิจัดการสินบริคณห์รวมทั้งฟ้องคดีด้วย ตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากภรรยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการตายของคู่สมรสกรณีไม่มีสินเดิมและก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล. ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน ล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยภริยาไม่มีสินเดิม และก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล.ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วนล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกองมรดกของบุตรบุญธรรมที่มิได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนตามบรรพ 5มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม จึงไม่ใช่ทายาท และไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งและถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ได้ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นสินเดิมและเป็นเจ้าของรวม
บิดาจำเลยยกที่พิพาทให้โจทก์จำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำกินเมื่อแต่งงานกันก่อนจดทะเบียนสมรส ก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์จำเลยคนละครึ่งครั้นโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่ายและเป็นสินส่วนตัวตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมก่อน บรรพ 5 ไม่มีสิทธิมรดก หากมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
บุตรบุญธรรมก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่มิได้ จดทะเบียนตามบรรพ 5 มิได้มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าขาดจากกัน ภรรยามีสิทธิได้ส่วนแบ่ง
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บรรพ 5 เมื่อหย่าขาดจากกัน โจทก์ในฐานะภรรยาย่อมมีสิทธิที่จะได้แบ่งสินสมรสหนึ่งในสามตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ฎีกาของจำเลยในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านหลังจดทะเบียนสมรส: การโอนก่อนใช้ พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินและบ้านพิพาทสินสมรสสามีจดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์ก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ ภริยาไม่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่เป็นสินสมรสต่อไป จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท กรณีต้องบังคับตามบรรพ 5 เดิม