พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยสุจริตแม้เป็นโมฆะ ก็มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรส ฯลฯ"ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส มรดก และการโอนทรัพย์สิน: สิทธิของทายาทและเจ้าของร่วม
การเป็นสามีภริยากันก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 และต่อมาแยกกันอยู่ภายหลังที่ใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แล้ว โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดจากกันตามนัยแห่งมาตรา 1497,1498 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ย่อมไม่ทำให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน
โจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ด้วย โดยเข้าทำกินในที่พิพาทแล้วให้เงินแก่จำเลยที่ 1 ทายาทผู้รับมรดกอีกผู้หนึ่งเป็นรายปีทุกปีตลอดมายังมิได้แบ่งปันกันต้องถือว่าต่างเป็นเจ้าของร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนี้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปทั้งแปลง จึงผูกพันได้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนในส่วนของตนที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอน กลับคืนมาได้
โจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ด้วย โดยเข้าทำกินในที่พิพาทแล้วให้เงินแก่จำเลยที่ 1 ทายาทผู้รับมรดกอีกผู้หนึ่งเป็นรายปีทุกปีตลอดมายังมิได้แบ่งปันกันต้องถือว่าต่างเป็นเจ้าของร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนี้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปทั้งแปลง จึงผูกพันได้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนในส่วนของตนที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอน กลับคืนมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างร้าง: การแยกกันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ ไม่ถือเป็นสินสมรส
สามีภริยาก่อนใช้บรรพ 5 พ.ศ.2477 ภริยาแยกไปอยู่ต่างหากจากสามี ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกันอีกเลยจนสามีตาย กำหนดเวลาทิ้งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียในขณะนั้นอย่างมากเพียง 1 ปี 4 เดือน จึงถือเป็นการร้างกันแล้ว ทรัพย์สินที่เกิดในระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส สามีตายภริยาร้าง ไม่มีส่วนแบ่งสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบิดามารดาและการรับบุตรตามกฎหมาย: ผลกระทบของบทบัญญัติใหม่ต่อคดีที่ฟ้องร้องก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้
โจทก์ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรไว้ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับคดีโจทก์จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 1529 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับเดิม เพราะการเป็นบิดามารดากับบุตรในคดีโจทก์ได้มีอยู่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ จะนำ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1555 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาชอบด้วยกฎหมายและสิทธิในสินสมรส: การพิสูจน์การขาดจากความเป็นสามีภริยา
โจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบตามข้อต่อสู้ว่าโจทก์ได้ขาดจากการเป็นสามีภริยากับเจ้ามรดกแล้ว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าเจ้ามรดกขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 อันเป็นวันที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 5 และเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 5 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้ามรดกทำหนังสือยินยอมหย่ากัน หรือศาลพิพากษาให้หย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497,1498 จึงต้องถือว่าโจทก์กับเจ้ามรดกยังคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายตลอดมา
ในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กะประเด็นเรื่องภริยาร้างไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งถือได้ว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น จำเลยฎีกาว่าโจทก์เป็นภริยาร้างศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กะประเด็นเรื่องภริยาร้างไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งถือได้ว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น จำเลยฎีกาว่าโจทก์เป็นภริยาร้างศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะภริยาชอบด้วยกฎหมายและสิทธิในสินสมรสเมื่อขาดหลักฐานการขาดจากความเป็นสามีภริยา
โจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบตามข้อต่อสู้ว่าโจทก์ได้ขาดจากการเป็นสามีภริยากับเจ้ามรดกแล้ว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าเจ้ามรดกขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 อันเป็นวันที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 5 และเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 5 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้ามรดกทำหนังสือยินยอมหย่ากัน หรือศาลพิพากษาให้หย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497, 1498 จึงต้องถือว่าโจทก์กับเจ้ามรดกยังคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายตลอดมา
ในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กะประเด็นเรื่องภริยาร้างไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือได้ว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น จำเลยฎีกาว่าโจทก์เป็นภริยาร้าง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กะประเด็นเรื่องภริยาร้างไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือได้ว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น จำเลยฎีกาว่าโจทก์เป็นภริยาร้าง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ จดทะเบียนซ้ำเป็นโมฆะ สิทธิเพิกถอนไม่มีอายุความ
ชายหญิงอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ถือว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใช้บรรพ 5 แล้วชายจดทะเบียนกับหญิงอีกคนหนึ่ง โดยยังอยู่กับภริยาเดิมเป็นปกติการสมรสเป็นโมฆะ ภริยาเดิมฟ้องให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ไม่มีอายุความ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ผลผูกพันจากคำพิพากษาเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และความยินยอมในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแยกสินบริคณห์: ผู้รับตามพินัยกรรมมีสิทธิ แม้ภริยาไม่บอกล้างหลังสามีเสียชีวิต
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 ตกลงกันทำพินัยกรรมคนละฉบับแยกให้ทรัพย์แก่บุคคล 2 คน ต่างหากจากกัน ดังนี้ เป็นการแยกสินบริคณห์กัน เมื่อสามีตายเกิน 1 ปี ภริยาไม่ได้บอกล้าง ทรัพย์ตกเป็นของผู้รับตามพินัยกรรมของสามี