พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินของภริยาในกรณีมีภริยาหลายคน และรูปแบบพินัยกรรมลับ
ภริยา 2 คนก่อนบรรพ 5 ซึ่งสามียกย่องเป็นภรรยาเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ยกใครเป็นภรรยาหลวง ทั้ง 2 คนมีส่วนได้ทรัพย์สินบริคณห์และมรดกในฐานะภริยาเท่ากัน คือคนละครึ่งในหนึ่งในสามของสินสมรสซึ่งเป็นส่วนของภริยา
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแยกกันอยู่, และการโอนทรัพย์สินโดยเสน่หา
ที่ดินซึ่งภริยาก่อนบรรพ 5 มีอยู่ก่อนสมรสและอาจนำมาใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอามาระคนปนกับสินเดิมของสามีก็ถือเป็นสินเดิมของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นสามีภริยาและสิทธิในมรดกก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง - กฎหมายลักษณะผัวเมีย
ได้เสียเป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และบรรพ 6 ความเป็นสามีภริยาและบุตรต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อได้ความว่าชายหญิงได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นสามีภริยากัน ก็ถือได้ว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยมีประเด็นเรื่องการครอบครองและการต่อสู้เรื่องการยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ค. ค.ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่ โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ค. ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ ค. ต่อมา ค. ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ค. เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ ค. ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ค. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ ค. ค.ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาหกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป้นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง 11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754.
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป้นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง 11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินมรดก การแบ่งสินสมรส และอายุความคดีครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ด. ด. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ด.ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ด. ต่อมาด.ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ด.เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ด.ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ด. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ด. ด. ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาปกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ศาลอุทธรณ์พิพากษาผิดพลาด
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เมื่อแบ่งสินสมรสกันต่างมีสินเดิมด้วยกัน ต้องแบ่งตามกฎหมายเก่าฝ่ายชายควรได้ 2 ใน 3 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ใน 3 ส่วน
ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งสินสมรสที่สวนและที่นา(เฉพาะหมายสีแดง) ให้คนละครึ่ง ซึ่งเป็นผลให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งน้อยกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งและน้อยกว่าส่วนที่จำเลยมีสิทธิได้รับหนึ่งในสามของสินสมรสที่สวนและที่นาทั้งหมด (หมายสีเขียวซึ่งรวมทั้งสีแดง) เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขส่วนแบ่งนี้ได้
ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งสินสมรสที่สวนและที่นา(เฉพาะหมายสีแดง) ให้คนละครึ่ง ซึ่งเป็นผลให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งน้อยกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งและน้อยกว่าส่วนที่จำเลยมีสิทธิได้รับหนึ่งในสามของสินสมรสที่สวนและที่นาทั้งหมด (หมายสีเขียวซึ่งรวมทั้งสีแดง) เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขส่วนแบ่งนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสิทธิรับมรดก
บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ไม่มีสิทธิรับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภรรยาต่อหนี้สามีหลังใช้พ.ร.บ.บรรพ 5: พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีไปก่อหนี้ขึ้นระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาและภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแค่ไหนเพียงใดนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 4 แต่เป็นปัญหาที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกับสามีต่างหาก จะเทียบกับเรื่องแบ่งสินสมรสก็ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวข้องถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่าสามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้วการที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่าสามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้วการที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือหย่าตาม ป.พ.พ. บรรพ 5: การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันภายหลังใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ต่อมาได้ตกลงทำหนังสือหย่ากันไว้โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนถูกต้องตาม ม.1498 วรรค 2 แต่จำเลยบิดพริ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่า ตาม ม.1499 โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่าเพื่อความสมบูรณ์ตาม ม.1499 ได้ และถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ.มาตรา 213
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การสมรสหลังใช้กฎหมายใหม่และการบังคับจดทะเบียน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันภายหลังใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาได้ตกลงทำหนังสือหย่ากันไว้โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนถูกต้องตาม มาตรา 1498 วรรคสอง แต่จำเลยบิดพริ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่าตามมาตรา 1499 โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่าเพื่อความสมบูรณ์ตาม มาตรา 1499 ได้ และถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)