คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการเป็นสามีภรรยาจากเจตนาสมัครใจแยกกันอยู่ และสิทธิในการรับมรดก
คดีมรดก จำเลยซึ่งเป็นภริยาเจ้ามรดกให้การว่าผู้ร้องสอดไม่ใช่ภริยาเจ้ามรดกผู้ตาย หากจะเป็นภริยาผู้ตายก็ได้ร้างหรือหย่าขาดจากกันก่อนแล้วดังนี้เป็นการปฏิเสธว่าผู้ร้องสอดไม่ใช่ภริยาอันควรได้รับมรดกของผู้ตาย
ไม่เคลือบคลุม
ภริยาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 จากสามีไปสามีได้ภริยาใหม่ภริยาก็ได้สามีใหม่ เป็นการสมัครใจหย่าขาดจากสามีภริยากันตั้งแต่วันที่จากกันไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสมรส: การขอลงชื่อร่วมในโฉนด แม้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 5)
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ก็ดีฝ่ายที่ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรส ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ลงชื่อร่วมกันในโฉนดที่ดินได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากมรดกและการแบ่งสินสมรสเมื่อสามีเสียชีวิต
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือน ก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยุ่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ป.ม.แพ่งฯบรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่า ๆกัน ถ้ามีภรรยา 2 คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียว และในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ภริยาหลวงได้ 2 ส่วน ภริยาน้อยได้1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ โดยใช้สัดส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียเดิม
เป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ ระหว่างอยู่กินด้วยกันได้ที่ดินเป็นสินสมรสขึ้น แม้ในโฉนดจะมีชื่อทั้ง 2 คนร่วมกันถือกรรมสิทธิ์ มิได้แสดงว่าเป็นส่วนของใครเท่าใดตาม ก.ม.ลักษณะผัวเมียฉะบับเก่า คือ ชายได้ 2 สวน หญิงได้ 1 ส่วน เพราะความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.ม.แพ่งฯบัญญัติว่า การสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.ม.กฎหมายบรรพนี้ แลัทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวเกิดแต่การสสรสานั้น ๆ บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาร้างไม่มีสิทธิในทรัพย์สินสมรสที่สามีได้มาช่วงแยกกันอยู่
สามีภริยาร้างกันอยู่ก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 ก็ยังคงเป็นภริยาร้างตามกฎหมายเก่า กฎหมายใหม่หาได้บัญญัติเปลี่ยนแปลงไม่ เพราะกฎหมายใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงการสัมพันธูในครอบครัว สิทธิและหน้าที่ในเรื่องนี้ยังคงเป็นอยู่ตามกฎหมายเดิม เช่น ในการแบ่งสินสมรส
ภริยาร้างไม่มีสิทธิจะขอแบ่งทรัพยสินสมรส ที่สามีได้มาในระหว่างร้างกัน เพราะเหตุว่าทรัพย์นั้นมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยอีกฝ่ายหนึ่ง หามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนหมายเรียกพนักงานสอบสวน: กฎหมายลักษณะพยานถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ.113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น ถือได้ว่าได้ถูกยกเลิกโดยพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477 มาตรา4 และมาตรา 3 กฎหมายอาญาแล้ว เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา334(2) กฎหมายอาญา
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมไปเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) (รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกกฎหมายเก่าเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียกพยาน และความผิดตามกฎหมายอาญา
พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น +ได้ว่าให้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวล ก.ม.พิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 3 +เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา 304(2) กฎหมายอาญา
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2)
(รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลามกับสิทธิในสินสมรส
โจทก์ฟ้องว่าศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลามเมื่อกฎหมายอิสลามไม่มีบัญญัติเรื่องสมรส โจทก์ไม่มีสิทธิได้แบ่งสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสมรสและมรดกของคู่สมรสที่สมรสก่อนและหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัพ 5
เปนสามีภรรยาก่อนไช้ป.พ.พ.บัพ 5 แต่ตายจากกันเมื่อไช้ ป.พ.พ.บัพ 5 แล้ว ต้องแบ่งสมรสตามจดหมายลักสนะผัวเมีย แต่แบ่งมรดกตาม ป.พ.พ.บัพ 6
ไนชั้นดีกาผู้ดีกาต้องเสียค่าขั้นสาลฉเพาะไนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องไนชั้นดีกา ไม่ต้องเสียไนทุนทรัพย์ที่สาลอุธรน์ตัดสินไห้โจทแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดกอิสลาม คู่ความไม่ต้องนำสืบ
คดีเกี่ยวกับมฤดกของคนถือสาสนาอิสลาม ต้องใช้กฎหมายอิสลามบังคับ พะยาน หน้าที่นำสืบ ข้อความที่ศาลรู้เอง คดีที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามบังคับนั้น เป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้ใช้กฎหมายบังคับแก่คู่ความ หาใช่เป็นหน้าที่ของคู่ความจะต้องนำสืบไม่
of 6