พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ข้อกำหนดเบี้ยปรับที่เป็นไปไม่ได้และผลกระทบต่อการชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินมีโฉนดสองแปลงให้แก่จำเลยมีสาระสำคัญว่าโจทก์ผู้ขายจะมอบใบอนุญาตให้ทำการก่อสร้างสถานีขนส่งของบริษัทขนส่ง จำกัดและจะมอบใบอนุญาตให้ทำถนนเชื่อมกับทางหลวงสายเอเซียตลอดแนวด้านหน้าของที่ดินหากผู้ขายไม่สามารถนำใบอนุญาตและทำการโอนชื่อให้ผู้ซื้อตามรายการดังกล่าวภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2521ผู้ขายยินยอมให้ปรับโดยยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือ เมื่อได้ความว่าการก่อสร้างสถานีขนส่งนั้นความจริงเป็นการก่อสร้างสถานีเดินรถซึ่งบริษัทขนส่ง จำกัด ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ข้อกำหนดเบี้ยปรับในกรณีนี้จึงมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัย เป็นโมฆะกรรม ไม่มีผลบังคับ ส่วนเรื่องใบอนุญาตให้ก่อสร้างถนนจากที่ดินเชื่อมกับทางหลวงสายเอเซียนั้น ได้ความว่าให้ขออนุญาตเมื่อสร้างสถานีเดินรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่แม้กำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องมอบใบอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีเดินรถขึ้น ย่อมเป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะขอใบอนุญาตมามอบให้จำเลยที่ 1 ในเวลาที่กำหนดในสัญญา การที่โจทก์จะชำระหนี้ในเรื่องนี้จึงเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาและจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระราคาที่ดินตามฟ้อง
ความรับผิดของจำเลยเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 โจทก์ยังไม่ได้โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในเรื่องนี้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยผิดนัดแล้วมิได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ย
เมื่อให้จำเลยชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้โจทก์โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายแปลงที่ยังไม่ได้โอนได้เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)
ความรับผิดของจำเลยเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 โจทก์ยังไม่ได้โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในเรื่องนี้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยผิดนัดแล้วมิได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ย
เมื่อให้จำเลยชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้โจทก์โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายแปลงที่ยังไม่ได้โอนได้เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การพ้นวิสัยของหนี้จากการก่อสร้างสถานีขนส่ง และผลของการไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินมีโฉนดสองแปลงให้แก่จำเลย มีสาระสำคัญว่าโจทก์ผู้ขายจะมอบใบอนุญาตให้ทำการก่อสร้างสถานีขนส่งของบริษัทขนส่ง จำกัด และจะมอบใบอนุญาตให้ทำถนนเชื่อมกับทางหลวงสายเอเซียตลอดแนวด้านหน้าของที่ดิน หากผู้ขายไม่สามารถนำใบอนุญาตและทำการโอนชื่อให้ผู้ซื้อตามรายการดังกล่าวภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2521 ผู้ขายยินยอมให้ปรับโดยยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือ เมื่อได้ความว่าการก่อสร้างสถานีขนส่งนั้นความจริงเป็นการก่อสร้างสถานีเดินรถซึ่งบริษัทขนส่ง จำกัด ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ข้อกำหนดเบี้ยปรับในกรณีนี้จึงมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัย เป็นโมฆะกรรม ไม่มีผลบังคับ ส่วนเรื่องใบอนุญาตให้ก่อสร้างถนนจากที่ดินเชื่อมกับทางหลวงสายเอเซียนั้น ได้ความว่าให้ขออนุญาตเมื่อสร้างสถานีเดินรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่แม้กำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องมอบใบอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีเดินรถขึ้น ย่อมเป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะขอใบอนุญาตมามอบให้จำเลยที่ 1 ในเวลาที่กำหนดในสัญญา การที่โจทก์จะชำระหนี้ในเรื่องนี้จึงเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบโจทก์จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาและจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระราคาที่ดินตามฟ้อง
ความรับผิดของจำเลยเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 โจทก์ยังไม่ได้โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในเรื่องนี้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยผิดนัดแล้วมิได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ย
เมื่อให้จำเลยชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้โจทก์โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายแปลงที่ยังไม่ได้โอนได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)
ความรับผิดของจำเลยเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 โจทก์ยังไม่ได้โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในเรื่องนี้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยผิดนัดแล้วมิได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ย
เมื่อให้จำเลยชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้โจทก์โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายแปลงที่ยังไม่ได้โอนได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา: โมฆะเฉพาะดอกเบี้ย, ชำระหนี้ตามอำเภอใจไม่อ้างอิงได้, ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 329
การกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น ต้นเงินหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่จำนวนใดเป็นดอกเบี้ยและจำนวนใดเป็นต้นเงินกู้ ก็ต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ว่าเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปแล้วจำนวนหนึ่งนั้นต้องเอาใช้เป็นดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่ยังค้างชำระ
เมื่อถือว่าจำเลยได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้ว แม้จะฟังว่าเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ก็เท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้คดีให้หลุดพ้นความรับผิดไปได้
เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่จำนวนใดเป็นดอกเบี้ยและจำนวนใดเป็นต้นเงินกู้ ก็ต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ว่าเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปแล้วจำนวนหนึ่งนั้นต้องเอาใช้เป็นดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่ยังค้างชำระ
เมื่อถือว่าจำเลยได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้ว แม้จะฟังว่าเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ก็เท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้คดีให้หลุดพ้นความรับผิดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ราคาสินไถ่เป็นโมฆะตามไปด้วย ผู้รับซื้อฝากต้องคืนเงินสินไถ่ที่รับไว้
สัญญาขายฝากฉบับที่ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ราคาสินไถ่ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ และทำให้รายการผ่อนชำระราคาสินไถ่ตามสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะไปด้วย ทั้งไม่สามารถแยกออกต่างหาก ให้เป็นส่วนที่สมบูรณ์ได้ส่วนเงินสินไถ่บางส่วนที่จำเลยรับไว้ก็เพื่อผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ขายฝากตามสัญญาฉบับที่จดทะเบียนนั้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถจะไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนเพราะเกินกำหนดเวลาไถ่จำเลยผู้รับซื้อฝากต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวและการบังคับใช้สัญญาประกัน
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยกำหนดจำนวนเงินให้นายประกันต้องรับผิดชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) นั้นเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจพนักงานสอบสวน ใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือตามจำนวนเงินในเช็คไม่ทำให้สัญญาประกันมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวเกินจำนวนเงินเช็ค: อำนาจจำกัดของพนักงานสอบสวนและผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยกำหนดจำนวนเงินให้นายประกันต้องรับผิดชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 (2) นั้น เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจพนักงานสอบสวน ใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือตามจำนวนเงินในเช็ค ไม่ทำให้สัญญาประกันมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ช.โดยโจทก์จำเลยที่1ที่2และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และ ช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และช. โดยโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ถูกข่มขู่ & ดอกเบี้ยเกินอัตรา สัญญาไม่สมบูรณ์ ศาลคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ทำสัญญากู้ใหม่รวมดอกเบี้ยที่ค้างมาก่อนรวมเข้าด้วยเป็นดอกเบี้ยเกินอัตรา สัญญากู้นี้เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยศาลให้เสียดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปีในต้นเงินตั้งแต่วันฟ้อง
ขู่ให้ทำสัญญาค้ำประกันโดยกล่าวว่า ถ้าไม่ทำจะฟ้องริบทรัพย์สมบัติให้หมด เป็นการบอกว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ทำให้สัญญา ไม่สมบูรณ์
คำให้การว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ทราบจำนวนเงินที่โจทก์กรอกลงเกินจำนวน 5,000 บาท ที่ค้างจริง เป็นการต่อสู้ว่าการกู้และค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แม้ในสัญญากู้ระบุว่ารับเงินไป 13,500 บาทจำเลยก็นำสืบหักล้างเอกสารได้
ขู่ให้ทำสัญญาค้ำประกันโดยกล่าวว่า ถ้าไม่ทำจะฟ้องริบทรัพย์สมบัติให้หมด เป็นการบอกว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ทำให้สัญญา ไม่สมบูรณ์
คำให้การว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ทราบจำนวนเงินที่โจทก์กรอกลงเกินจำนวน 5,000 บาท ที่ค้างจริง เป็นการต่อสู้ว่าการกู้และค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แม้ในสัญญากู้ระบุว่ารับเงินไป 13,500 บาทจำเลยก็นำสืบหักล้างเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดิน การซื้อขายเฉพาะส่วนสมบูรณ์ได้
โจทก์จำเลยเจตนาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนจำนวนเนื้อที่35 ตารางวา ครึ่ง ต่อกัน แต่โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายที่ดินให้จำเลยไป 88 ตารางวา ครึ่ง โดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ปฏิบัติไปถูกต้องแล้ว ถือว่าเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งนิติกรรมนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งกรณีเห็นได้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินจำนวนเนื้อที่ 35 ตารางวา ครึ่ง การซื้อขายที่ดินในส่วนนี้จึงสมบูรณ์ แยกออกหากจากที่ดินจำนวนเนื้อที่ 53 ตารางวาของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้