คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 135

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และขอบเขตของความโมฆะ
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับและในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และการบังคับคดี
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ และในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับแม้ส่วนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องเห็นได้ว่ามีสองส่วน คือส่วนการกู้เงินกับส่วนการเรียกดอกเบี้ย ส่วนการกู้เงินไม่ผิดกฎหมายแต่ส่วนการเรียกดอกเบี้ยโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ สองส่วนนี้แยกต่างหากจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ดังนั้น ต้นเงินจึงไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนที่สมบูรณ์แยกต่างหากจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยได้เสมอไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ดอกเบี้ยกันหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมายเมื่อสัญญากู้ถึงกำหนดชำระคืนในวันที่ 8 มีนาคม 2529 จำเลยไม่ชำระย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินสาธารณะและการตกเป็นโมฆะของการขายรวม
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยจำนวน 7 แปลงในคราวเดียวกัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ทั้ง 7 แปลงต่อมาปรากฏว่าที่ดิน 2 แปลงที่ประกาศขายนั้นเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งจะโอนขายให้แก่กันมิได้ การขายที่ดินสองแปลงนี้จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามโอนขายตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ส่วนที่ดินอีก 5 แปลง ซึ่งขายมาในคราวเดียวกันโดยไม่สามารถแยกออกได้ว่าที่ดินแปลงใดมีราคาเท่าใด และตามพฤติการณ์ก็ไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีประสงค์จะให้การขายที่ดินทั้ง 5 แปลงนี้ให้สมบูรณ์แยกต่างหากออกมาได้ การขายที่ดิน5 แปลงนี้จึงตกเป็นโมฆะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่มีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ หากแยกต้นเงินออกจากดอกเบี้ยได้
จำเลยรู้เห็นยินยอมให้โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมกับต้นเงินกรอกลงในสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยเป็นความผิดตามกฎหมายต่างหาก ซึ่งแยกออกจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ต้นเงินเป็นส่วนที่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ น.ส.3 ที่จำเลยมอบให้โจทก์ไว้เป็นประกันการกู้ยืม ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเพราะไม่ใช่เอกสารที่แสดงในตัวเองว่ามีการกู้ยืมเงินกัน การที่โจทก์คืน น.ส.3 ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการเวนคืนหลักฐานแห่งการกู้ยืม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นกฎหมายดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันมีผลใช้ได้เมื่อหนี้สมบูรณ์
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา หรือการคิดดอกเบี้ย ทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลง ยกเว้นหาได้ไม่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "ลูกค้าขอให้สัญญาว่าเมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้ เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับชำระดอกเบี้ย ทบต้นตาม จำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร... และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย" เป็นข้อสัญญาที่ตกลง ยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตก เป็นโมฆะไม่มีผลใช้ บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อ กันธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ย ธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลง กันไว้ก็ได้ สุดแต่ ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควร ไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้ บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้ บังคับได้ เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้ เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้อง ผูกพันตาม สัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้อง รับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึง จำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบธรรมดาตกเติมข้อความไม่สมบูรณ์เฉพาะข้อความที่ตกเติม มิได้ทำให้พินัยกรรมทั้งฉบับเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมมิได้เขียนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลาย มือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งนี้ตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว เมื่อการตกเติมข้อความในพินัยกรรมไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลให้ข้อความที่ตกเติมเท่านั้นไม่ สมบูรณ์ ส่วนข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ไม่ตกเป็นโมฆะ ไม่ว่าข้อความที่ตกเติมจะเป็นข้อสาระสำคัญหรือไม่ก็มีผลเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225-1235/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ศาลฎีกาตัดสินว่าข้อตกลงสละค่าชดเชยเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานจังหวัดเพื่อขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยขอให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย ต่อมาโจทก์จำเลยทำบันทึกตกลงว่าโจทก์จะขอรับเพียงเงินค่าจ้างที่ตกค้าง และจะไม่ติดใจเอาความแต่อย่างใดอีกนั้น บันทึกข้อตกลงนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลบังคับเพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าล่วงเวลาเท่านั้น ส่วนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันไม่อาจตกลงแก้ไขให้ผิดแผกแตกต่างเป็นประการอื่นได้ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลยได้นั้น จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 135.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้คิดดอกเบี้ยทบต้นขัดต่อกฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดาโดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เงินที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อนข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดา โดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใด กับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้
of 8