คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 131

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความผิดของตำรวจนอกหน้าที่: การตรวจค้นและการไม่ส่งของกลาง
ตำรวจที่ลาราชการไปธุระต่างท้องที่นั้น คงเป็นตำรวจอยู่นั่นเอง เมื่อไปทำการตรวจค้น บุคคลใดในที่สาธารณะสถานย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 93.
จำเลยเป็นตำรวจ ได้ลาราชการมา และได้ทำการตรวจค้นผู้พกสนับมือ แล้วไม่นำสนับมือกับผู้นั้นส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 131,142.
(อ้างฎีกา 140/2490)
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือนตามมาตรา 127,128,293 ศาลอุทธรณ์แก้ว่าจำเลยมีผิดตามมาตรา 293 กะทงเดียว กำหนดโทษยืนตามนั้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามมาตรา ป.ม.วิ.อาญามาตรา 218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ กรณีภารโรงผู้ดูแลทรัพย์สินของราชการนำไปใช้ส่วนตัว
จำเลยรับราชการเป็นภารโรงในกองหนังสือสำคัญกรมที่ดินมีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาด ปิดเปิดประตูหน้าต่างดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของทางราชการโดยทั่วไปในกองหนังสือสำคัญ จำเลยเลื่อนขึ้นรับเงินเดือนตำแหน่งเสมียน แต่ยังคงทำงานในหน้าที่ภารโรงตามเดิม จำเลยเป็นผู้ถือลูกกุญแจตู้ที่เก็บของ และถือลูกกุญแจห้องที่ไขตู้ด้วย เสมียนในกองหนังสือสำคัญเป็นผู้มอบทรัพย์ให้จำเลยดูแลรักษาตามคำสั่งหัวหน้ากอง จำเลยได้เอาทรัพย์สิ่งของต่างๆ อันเป็นของใช้ในราชการกองหนังสือสำคัญ ซึ่งเก็บไว้ในตู้เก็บของไป ดังนี้ จำเลยย่อมมีผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจจริตต่อหน้าที่ แม้ตำแหน่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่โดยตรง แต่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของราชการ
จำเลยรับราชการเป็นภารโรงในกองหนังสือสำคัญกรมที่ดิน มีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาด ปิดเปิดประตูหน้าต่าง ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของทางราชการโดยทั่วไปกองหนังสือสำคัญ จำเลยเลื่อนขึ้นรับเงินเดือนตำแหน่งเสมียน แต่ยังคงทำงานในหน้าที่ภารโรงตามเดิม จำเลยเป็นผู้ถือลูกกุญแจตู้ที่เก็บของ และถือลูกกุญแจห้องที่ไขตู้ด้วย เสมียนในกองหนังสือสำคัญเป็นผู้มอบทรัพย์ให้จำเลยดูแลรักษาตามคำสั่งหัวหน้ากอง จำเลยได้เอาทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ อันเป็นของใช้ในราชการกองหนังสือสำคัญไป ดังนี้ จำเลยย่อมมีผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจจริตต่อหน้าที่ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 131.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารครอบคลุมนายทหารสัญญาบัตรทุกเหล่า รวมถึงทหารอากาศ แม้จะไม่ได้ระบุในกฎหมาย
นายทหารสัญญาบัตรประจำการตามพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 มาตรา 39 ไม่ได้เจาะจงว่า เป็นทหารแผนกใด เหล่าใด ดังนั้นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการทุกเหล่า ย่อมขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารในเวลาปกติทั้งนั้น
คำปรารภในการตราพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ไม่ได้กล่าวถึงทหารอากาศนั้น ก็เพราะขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งกองทัพอากาศแต่ก็มีกรมอากาศยานขึ้นอยู่กับกองทัพบก กรมอากาศยานนี้เอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมทหารอากาศ และในที่สุดตั้งเป็นกองทัพอากาศขึ้น เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร 2477ครอบถึงทหารอากาศด้วย การตั้งนายทหารอากาศเป็นกรรมการในศาลทหาร ย่อมเป็นการชอบตามความในพระธรรมนูญศาลทหารแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการและการยักยอกเงินหลวงของพนักงานคลังจังหวัด
จำเลยเป็นพนักงานดูเงินได้เพิ่มเติมตัวเลขและตัวหนังสือในฎีกาเบิกเงิน ย่อมเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือสำคัญในราชการตามมาตรา 225
พนักงานดูเงินของแผนกคลังจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่รับเงินจากผู้รักษาเงินเพื่อนำมาจ่ายให้แก่ผู้เบิก เมื่อยักยอกเงินที่รับมาเพื่อจ่ายแก่ผู้เบิกไป จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเงินอันอยู่ในหน้าที่ มีความผิดตามมาตรา 131

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาการกระทำผิดเป็นข้อสำคัญในฟ้อง หากต่างจากที่กล่าวอ้างในฟ้อง ต้องยกฟ้อง
รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดนั้นเป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เมื่อปรากฏจากคำพยานว่า จำเลยทำผิดวันอื่น ไม่ใช่วันที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนเพียงพอ และการพิสูจน์ความผิด
ฟ้องโจทก์กล่าวยืนยันว่าจำเลยมีหน้าที่ปกครองรักษาทรัพย์ของทางราชการ ทรัพย์นั้นหายไปโดยจำเลยยักยอกเองหรือยินยอมให้ผู้อื่นยักยอกโดยจำเลยรู้เห็นเป็นใจด้วยดั่งนี้ เป็นฟ้องที่บรรยายพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ยักยอกทรัพย์ของรัฐที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่
นายอำเภอได้ตั้งให้สัสดีอำเภอ และปลัดอำเภอเป็นกรรมการไปรับผ้าของกระทรวงพาณิชย์จากจังหวัด เพื่อนำส่งอำเภอจัดการปันส่วนให้แก่ชาวนานั้น เป็นการแต่งตั้งให้ไปทำงานโดยชอบตามหน้าที่ราชการ เมื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไปกระทำผิดในหน้าที่ ซึ่งตนได้รับมอบ คือยักยอกเอาผ้าที่ไปรับมาจำนวนหนึ่งไว้ เช่นนี้ต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 131
(อ้างฎีกาที่ 533/2485)
ศาลชั้นต้นลงโทษตาม ม.319(3) ให้จำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม ม.131 ให้จำคุก 5 ปี เป็นแก้มาก ฎีกาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐยักยอกของหลวงขณะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย มีความผิดตามมาตรา 131
นายอำเภอได้ตั้งให้สัสดีอำเภอและปลัดอำเภอเป็นกรรมการไปรับผ้าของกระทรวงพาณิชย์จากจังหวัด เพื่อนำส่งอำเภอจัดการปันส่วนให้แก่ชาวนานั้น เป็นการแต่งตั้งให้ไปทำงานโดยชอบตามหน้าที่ราชการเมื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไปกระทำผิดในหน้าที่ ซึ่งตนได้รับมอบ คือยักยอกเอาผ้าที่ไปรับมาจำนวนหนึ่งไว้ เช่นนี้ ต้องมีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 (อ้างฎีกาที่ 533/2485)
ศาลชั้นต้นลงโทษตาม มาตรา 319(3) ให้จำคุก 8 เดือนศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม ม.131 ให้จำคุก 5 ปีเป็นแก้มาก ฎีกาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตำรวจในการรักษาของกลาง ยักยอกเป็นความผิด
ตำรวจมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ย่อมมีหน้าที่รักษาของกลางที่ยึดได้ ก่อนที่จะนำส่งพนักงานสอบสวนด้วย ถ้ายักยอกของกลางนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวก็ต้องมีความผิด
(อ้างฎีกาที่ 282/2485)
of 34