คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1600

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 415 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิสั่งจ่ายเช็คหลังเสียชีวิต - สัญญาบุคคลสิทธิระงับ - ความรับผิดทางแพ่งจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร โดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวน ในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจากบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดกของ ม.ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของจำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การรู้ถึงความตายต้องชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม ที่ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น การรู้หรือควรได้รู้ดังกล่าว ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีมรดกหลังผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย: ผลกระทบต่อคำพิพากษาและฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านร่วมกับผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ด. ผู้ตาย กับให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้คัดค้านอุทธรณ์ และต่อมาผู้คัดค้านถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าผู้คัดค้านถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์เมื่อรูปคดีเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของด. ผู้ตายอยู่ก่อน อันเป็นสิทธิและหน้าที่เฉพาะตัวของผู้คัดค้านซึ่งไม่อาจรับมรดกความแทนที่กันได้ กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของผู้คัดค้านออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งได้อ่านภายหลังที่ผู้คัดค้านถึงแก่ความตายไปแล้วจึงไม่ชอบต้องยกเสีย และเป็นผลให้คดีไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะฎีกาศาลฎีกาไม่อาจรับไว้วินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท หลังตกลงขายฝากแล้วยกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช. เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้วกับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือ มอบอำนาจให้ ช. ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช. หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู่ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก แม้ ช. จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้แต่การที่ ช. เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้เขียนในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช. ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช.ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าช. หรือกองมรดกของช. มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช. ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช. ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช.เมื่อช. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช. คนใดก็ได้จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท กรณีตกลงขายฝากแล้วยกเลิกมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช.เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้ว กับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือมอบอำนาจให้ช.ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช.หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำ-ประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
แม้ ช.จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้ แต่การที่ ช.เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช.ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช. ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่า ช.หรือกองมรดกของ ช.มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช.ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช.ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 241
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช. เมื่อ ช.ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช.คนใดก็ได้ จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสาร-สิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดิน แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่าซื้อหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ทายาทสืบสิทธิได้ในฐานะผู้จัดการมรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าซื้อและการสืบสิทธิหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์มรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิ ที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปัน ให้ทายาทต่อไปได้ หลังจาก อ. ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ. ผู้ตายและ อ. มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกอ. เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ. อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่ออ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าอ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อมีการอายัดที่ดิน และความรับผิดของทายาทตามสัญญาของเจ้ามรดก
แม้ว่ามรดกนั้นมีเพียงหนี้สินที่เจ้ามรดกจะต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่มีทรัพย์สินอื่น ๆอีกก็ตาม แต่ทายาทก็ไม่อาจอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ หากมีการผิดสัญญาและเป็นกรณีที่ไม่เปิดช่องให้บังคับในการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญา ทายาทผู้รับมรดกก็ต้องรับผิดในส่วนที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหรือต้องชำระเบี้ยปรับตามที่กำหนดในสัญญาด้วย การที่เจ้าพนักงานที่ดินจะรับแจ้งอายัดที่ดินขึ้นอยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานว่าผู้แจ้งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินหรือไม่ เหตุที่เจ้าพนักงานที่ดินใช้ดุลพินิจรับแจ้งการอายัดของจำเลย เพราะเห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียแม้ว่าขณะนั้นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจะมิใช่ช.แต่ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยอาจบังคับให้ช.หรือทายาทต้องปฏิบัติตามสัญญาได้ อันจะส่งผลให้ต้องเพิกถอน การจดทะเบียนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด เมื่อ ไม่มีคำสั่งศาลให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้การอายัดมีผล ต่อไปจนกว่าศาลในคดีที่ผู้ขออายัดได้ยื่นฟ้องไว้จะสั่งให้ ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด จึงเป็น กรณีที่จำเลยใช้สิทธิที่มีอยู่ในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจาก ช.ก่อนที่ช. จะโอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่ จ. ผู้เป็นบุตร จำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ หากโจทก์จะ เสียหายอย่างไรชอบที่จะต้องว่ากล่าวเองกับผู้ที่ทำสัญญากับ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมิน ต้องมีอำนาจตามกฎหมายและชอบด้วยขั้นตอน
ในขณะที่โจทก์กำหนดรายรับขึ้นต่ำของ ผ.ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่1 มกราคม 2529 พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 25 ซึ่งให้เพิ่มมาตรา 86 เบญจที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดี กรมสรรพากรกำหนด และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่งประมวลรัษฎากร ยังไม่ได้ใช้บังคับ ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และมาตรา 87 ทวิ(7) บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือในเดือนภาษีที่ถึงกำหนดชำระไม่ถูกต้อง และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบในภายหลังเจ้าพนักงานจึงมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7)เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า ผ.แสดงรายรับและเสียภาษีการค้าต่ำกว่ารายรับและภาษีขั้นต่ำที่ฝ่ายสำรวจและกำหนดรายรับของโจทก์ได้กำหนดไว้มิใช่ ผง ไม่เคยแจ้งรายจ่ายตามแบบ ภ.ค.45 แก่เจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.โดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2 บวกอีกร้อยละ20 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มากำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3 ตามข้อ 4(1)(ก) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ แห่ง ประมวลรัษฎากร ทั้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ในครั้งที่ 3 ได้กำหนดโดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นฐานในการพิจารณาจึงต้องถือว่าการกำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3 เป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน การที่ผ.ได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าผ. ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผ. จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ ผ.ผู้ตายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย การกำหนดรายรับขั้นต่ำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่โจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ครั้งแรก เมื่อวันที่1 มกราคม 2528 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 25 ซึ่งให้เพิ่มมาตรา 86 เบญจ ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร ยังไม่ได้ใช้บังคับ ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 87 (2) และมาตรา 87 ทวิ (7) บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือในเดือนภาษีที่ถึงกำหนดชำระไม่ถูกต้อง และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบในภายหลังเจ้าพนักงานจึงมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ (7) เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า
ผ.แสดงรายรับและเสียภาษีการค้าต่ำกว่ารายรับและภาษีขั้นต่ำที่ฝ่ายสำรวจและกำหนดรายรับของโจทก์ได้กำหนดไว้ มิใช่ ผ.ไม่เคยแจ้งรายจ่ายตามแบบ ภ.ค.45 แก่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.โดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2บวกอีกร้อยละ 20 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มากำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3 ตามข้อ 4(1) (ก) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่ง ป.รัษฎากร ทั้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ในครั้งที่ 3 ได้กำหนดโดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นฐานในการพิจารณา จึงต้องถือว่าการกำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3เป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
การที่ ผ.ได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่า ผ.ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผ.จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ ผ.ผู้ตายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 42