คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1600

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 415 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับมรดกความในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีสืบเนื่องมาจากศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ถนนในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลย และโจทก์ทั้งสองยินยอมชำระค่าใช้ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธิการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยและดำเนินการบังคับแก่โจทก์ทั้งสองได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม กรณีนี้หาใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5153/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิของคู่ความเมื่อถึงแก่ความตาย และการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ตามคำสั่งศาล ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลง หาได้ตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ไม่ ส. เป็นเพียงทายาทของโจทก์เท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้ปกครองที่พิพาทหรือมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แต่อย่างใด ส. ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ ส. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรส, การจัดการมรดก, สัญญาจะซื้อจะขาย, การบังคับคดี: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำสัญญาและโอนทรัพย์สินได้
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย โดยจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2478 หลังจากนั้นปี 2490 ผู้ร้องและผู้ตายร่วมกันซื้อและจับจองที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว โดยผู้ร้องมีสินเดิมแต่ผู้ตายไม่มีสินเดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของผู้ร้องสองในสามส่วน อันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1462 วรรคสอง และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องกับผู้ตายได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณห์หรือให้จัดการร่วมกับผู้ตาย ที่ดินพิพาทจึงมิใช่สินเดิมของผู้ร้องหรือสินสมรสที่ผู้ร้องได้มาโดยทางยกให้หรือพินัยกรรมและการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา ผู้ตายจึงมีอำนาจจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 และ 1473 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ก็ระบุให้กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อผู้ตายทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในปี 2515 และผู้ตายถึงแก่ความตายปี 2521 สิทธิในการรับชำระเงินและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาที่ผู้ตายทำไว้ก่อนตายจึงเป็นกองมรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ตายผิดสัญญาไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทและรับค่าที่ดินไปจากโจทก์ จึงเป็นการเรียกร้องสิทธิในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของผู้ตายเพื่อบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญา และการที่จำเลยต่อสู้คดีแต่ในที่สุดก็ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก็เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อชำระหนี้ของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาแบ่งปันแก่ทายาทผู้ตายอันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีให้จำเลยดำเนินการโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ และแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทสองในสามส่วนก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องเรียกร้องหรือว่ากล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้นำค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระตามคำพิพากษาตามยอมมาแบ่งแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่มีอยู่ก่อนการแบ่งปันมรดกแก่ทายาท ผู้ร้องไม่อาจขอกันส่วนในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้กองมรดก: การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทายาทร้องขอ
เจ้าหนี้กองมรดกที่จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 นั้น ต้องเป็นกรณีที่กองมรดกไม่มีทายาทและผู้จัดการมรดก เพราะหากไม่มีทายาทหรือผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใดเจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้เลย แต่เมื่อกองมรดกมีทายาทร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้วก็มีตัวทายาทที่จะต้องรับผิดชำระหนี้จากกองมรดกให้แก่เจ้าหนี้ได้ ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงมีผู้รับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ไม่กระทบถึงส่วนได้เสียของผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก และการคิดดอกเบี้ยจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระค่าปรับตามสัญญารับรองการขออนุญาตเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2537 ผ. เพิกเฉยไม่ชำระถือว่า ผ. เป็นฝ่ายผิดนัดตั้งแต่วันที่ 31มีนาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดโดยเป็นผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวสงวนสิทธิไว้ในหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระเงินแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ ผ. จึงเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ผ. ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินของ ผ. ทุกชนิด ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกันกับ ผ. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกในฐานะทายาทโดยธรรม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ ผ. ต้องรับผิดใช้ให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามที่โจทก์แจ้งจึงไม่ชอบ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้องรับผิดเป็นส่วนตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น: สิทธิในทรัพย์สินของบริษัทไม่ใช่สินสมรสหรือมรดก
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1 และบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 การที่ ต. และผู้ร้องสอดที่ 1เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทโจทก์รวมทั้งเคยเป็นกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นของโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งเท่านั้นการที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลยหากโจทก์ชนะคดี เงินค่าสินค้าที่จำเลยต้องชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. หาได้มีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่เป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์มรดกของ ต. จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้อง ที่จะขอให้ศาลให้ความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต ทายาทรับผิดชอบหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถส่งมอบให้ได้ ให้จำเลยใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการบังคับคดีหน้าที่และความรับผิด ย่อมตกทอดแก่ทายาทเพื่อให้การบังคับคดีเสร็จสิ้นไปเท่านั้น กรณีไม่ใช่เรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 44 เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินคดีโดยแต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีมาแต่ต้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง แม้คดีขาดอายุความ
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน 1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และ ท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองแม้คดีขาดอายุความ และการรับผิดของทายาท
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326-9327/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมือเปล่า การซื้อขาย และการยกให้ที่ดิน ไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน
น. นำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยทั้งสามไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในนามของ น. เป็นเพียงการมีชื่อถือสิทธิครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แทนจำเลยทั้งสามเท่านั้น เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ส. สามีของโจทก์ลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในฐานะที่ ส. เป็นทายาทของ น. โดยที่ ส. ไม่มีสิทธิ ก็ไม่ทำให้ ส. ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสามตลอดมา แม้ต่อมาจำเลยทั้งสามทำหนังสือสัญญาตกลงแบ่งแยกที่ดิน ด้านทิศตะวันออกของถนนขอนแก่น - มัญจาคีรี ให้เป็นของจำเลยที่ 2 กับ ส. สามีของโจทก์ร่วมกัน สัญญาดังกล่าว ก็มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะ ส. สามีของโจทก์กับจำเลยทั้งสามมิได้มีข้อพิพาทกัน เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ น. ในขณะทำสัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้า หากแต่เป็นสัญญาให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มิได้มีการส่งมอบการครอบครอง แม้จำเลยทั้งสามจะทำเป็นหนังสือสัญญาตกลงแบ่งแยกที่ดินไว้ แต่ก็มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้จึงไม่สมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสาม
of 42