คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1600

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 415 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชดเชย, เงินกองทุนเลี้ยงชีพ, เงินเพื่อนช่วยเพื่อน และเงินประกันชีวิตหลังการเสียชีวิต ไม่เป็นสินสมรสหรือมรดกที่โจทก์มีสิทธิ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เป็นมรดกของผู้ตายนั้น ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านี้ต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นสิทธิที่เกิดขึ้น เนื่องจากความตายของ ณ. มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตาย กับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในเงินกองทุนเลี้ยงชีพ สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้ว ในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาจาก ณ. จะต้องเคยชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานของจำเลยคนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่กรรมรายก่อน ๆ ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์สืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมที่โจทก์จะใช้สิทธิแบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่สมบูรณ์หากไม่ได้จดทะเบียน & ทางสาธารณะยังคงสภาพ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์
แม้ ท. เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณี ที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อ ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อม ไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งและคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วยเมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มี ผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท แก่โจทก์ การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะ เมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าว กีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎร ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้ คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะ อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่สมบูรณ์หากมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นต้องมีข้อจำกัด
แม้ ท.เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท.ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภาระจำยอมหรือเปิดทางพิพาทแก่โจทก์
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบัญชีเงินฝากร่วม และหน้าที่ของทายาทในการยินยอมเบิกถอนเงินหลังเจ้าของบัญชีเสียชีวิต
โจทก์และ พ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารคนละกึ่งหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าคนใดคนหนึ่งมีสิทธิเบิกถอนเงินได้ หากคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมต้องให้ทายาทของคนนั้นให้ความยินยอมแทนจึงจะเบิกได้ เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ พ. ย่อมเข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินบัญชีดังกล่าวคนละครึ่งกับโจทก์แทน พ. จำเลยทั้งสี่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 และมีหน้าที่ต้องให้ ความยินยอมในการที่โจทก์ขอถอนเงินส่วนของโจทก์จากบัญชีดังกล่าวเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์จะถอนเงิน ส่วนของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 และหากจำเลยทั้งสี่ ไม่ยินยอม ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแสดงต่อธนาคารแทนการให้ความยินยอมของจำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำหลังเจ้าหนี้และผู้จำนำถึงแก่ความตาย การตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข.เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ. สิทธิและหน้าที่ของ ซ.ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาท กองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทของ ข. ดังนี้ ทายาทของ ซ. ผู้จำนำจึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้น และตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำจากกองมรดกของ ข.จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข.มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งมีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข.ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำที่ดินเมื่อผู้จำนำและผู้รับจำนำถึงแก่ความตาย และการขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ. 118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายลัทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ.สิทธิและหน้าที่ของซ. ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาทกองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาท ของ ข.ดังนี้ ทายาทของ ซ.ผู้จำนำ จึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้นและตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำ จากกองมรดกของ ข. จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข. มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่ง มีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินเมื่อผู้ให้เสียชีวิต
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่งต.ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ไม่ใช่การมรดก ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลพ.ศ. 2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียก่อน คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ถือเป็นการยักยอกมรดก เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารโดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวนในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคาร ผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจาก บัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายเงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่ วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดก ของ ม. ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของ จำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
of 42