คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 98

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็น และการพิพากษาตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้ยืม จำเลยให้การต่อสู้ คดีว่าโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธินำสืบว่า พยานในแบบพิมพ์ดังกล่าวยังไม่มี ก. พยานโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อและมิได้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งศาลกำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนจำเลยจึงไม่อาจถามค้านโจทก์ไว้ก่อนได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ เป็นการนำสืบนอกคำคู่ความและนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ 14,000 บาท ได้ความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,532.25 บาท ดังนี้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตาม ที่ได้ความได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้: ผลตรวจผู้เชี่ยวชาญเพียงพอต่อการวินิจฉัยคดี
โจทก์จำเลยท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญาว่าเป็นลายมือของจำเลยหรือไม่ ถ้าเป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยยอมแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจำเลยและลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้แล้วมีความเห็นว่าน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลเดียวกัน ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญมี ความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตาม คำท้าอันเป็นเหตุให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วหาจำต้องเอาข้อเท็จจริง อื่นมาฟังประกอบอีกไม่ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าศาลอุทธรณ์นำคำรับ ในคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยร่วมกับผลการตรวจพิสูจน์ของ ผู้เชี่ยวชาญให้จำเลยแพ้คดีเป็นการชอบหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต่อ รูปคดีที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดความเสียหายจากการขนส่ง และขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดในความเสียหายอันเนื่องจากการขนส่งสินค้าของบริษัท ท. ที่ได้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ท. แล้ว จึงได้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เรียกร้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีตอนหนึ่งว่าจำเลยรับจ้าง ต. ขนสินค้าไปส่งให้แก่บริษัท ท. จำเลยไม่มีความผิดต่อบริษัทดังกล่าว แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิมาก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยรับจ้างขนสินค้าให้แก่บริษัท ท. หรือ ต.
ฟ้องของโจทก์มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือให้จำเลยทั้งหกในฐานะผู้ขนส่งร่วมกันรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากการขนส่งสินค้า กับระบุว่าจำเลยทั้งหกเป็นผู้ว่าจ้างและรับจ้างทำการในหน้าที่รับขนส่งสินค้าและดำเนินงานร่วมกันในทางการที่ว่าจ้างให้ลุประสงค์ในการนำส่งสินค้าให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยทั้งหกมีหน้าที่ร่วมกันในการจัดการและการรับขนส่งอันเป็นการที่จะให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามสัญญารับขนส่ง แม้จะระบุด้วยว่าจำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่าจะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง. และการที่โจทก์อ้างถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยมาด้วยก็เพื่อจะให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามสัญญารับขนส่ง มิใช่ให้รับผิดในฐานะละเมิด. ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ขึ้นมาปรับแก่คดีของจำเลยที่ 3 จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
การรับประกันภัยสินค้ารายนี้แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุว่าเป็นการรับประกันจากเมืองแชมเปอริโก ประเทศกัวเตมาลา ถึงกรุงเทพมหานคร แต่ก็มีเงื่อนไขให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ด้านหลังของสัญญาหรือกรมธรรม์ประกันภัยด้วย เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวระบุว่าการประกันภัยนี้ใช้บังคับเริ่มจากเวลาที่สินค้าออกจากคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้าเพื่อเริ่มการขนส่ง และสืบเนื่องต่อไประหว่างสายการขนส่งตามปกติ และสิ้นสุดลงเมื่อได้ส่งมอบถึงคลังสินค้าของผู้รับ ณ ปลายทางที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เช่นนี้ความรับผิดของโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อได้ส่งมอบสินค้าถึงคลังสินค้าของบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้รับแล้ว
แม้บริษัท น.จะมิใช่ผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่ก็ได้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าทั่วไปที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากภัยทางทะเล ป.เจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้สำรวจความเสียหายและทำรายงานโดยให้กรรมการผู้จัดการของบริษัทลงลายมือชื่อกำกับไว้ได้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายมาเป็นเวลา 11 ปีแล้ว ศาลรับฟังรายงานดังกล่าวประกอบคำเบิกความของ ป.เพื่อคำนวณความเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัย กรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง การรับช่วงสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดในความเสียหายอันเนื่องจากการขนส่งสินค้าของบริษัท ท. ที่ได้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ท. แล้ว จึงได้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เรียกร้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีตอนหนึ่งว่าจำเลยรับจ้าง ต. ขนสินค้าไปส่งให้แก่บริษัท ท. จำเลยไม่มีความผิดต่อบริษัทดังกล่าว แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิมาก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยรับจ้างขนสินค้าให้แก่บริษัท ท. หรือ ต.
ฟ้องของโจทก์มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือให้จำเลยทั้งหกในฐานะผู้ขนส่งร่วมกันรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากการขนส่งสินค้า กับระบุว่าจำเลยทั้งหกเป็นผู้ว่าจ้างและรับจ้างทำการในหน้าที่รับขนส่งสินค้าและดำเนินงานร่วมกันในทางการที่ว่าจ้างให้ลุประสงค์ในการนำส่งสินค้าให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยทั้งหกมีหน้าที่ร่วมกันในการจัดการและการรับขนส่งอันเป็นการที่จะให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามสัญญารับขนส่ง แม้จะระบุด้วยว่าจำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่าจะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง. และการที่โจทก์อ้างถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยมาด้วยก็เพื่อจะให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามสัญญารับขนส่ง มิใช่ให้รับผิดในฐานะละเมิด. ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ขึ้นมาปรับแก่คดีของจำเลยที่ 3 จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
การรับประกันภัยสินค้ารายนี้แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุว่าเป็นการรับประกันจากเมืองแชมเปอริโก ประเทศกัวเตมาลา ถึงกรุงเทพมหานคร แต่ก็มีเงื่อนไขให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ด้านหลังของสัญญาหรือกรมธรรม์ประกันภัยด้วยเมื่อข้อกำหนดดังกล่าวระบุว่า การประกันภัยนี้ใช้บังคับเริ่มจากเวลาที่สินค้าออกจากคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้าเพื่อเริ่มการขนส่ง และสืบเนื่องต่อไประหว่างสายการขนส่งตามปกติ และสิ้นสุดลงเมื่อได้ส่งมอบถึงคลังสินค้าของผู้รับ ณ ปลายทางที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เช่นนี้ ความรับผิดของโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อได้ส่งมอบสินค้าถึงคลังสินค้าของบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้รับแล้ว
แม้บริษัท น.จะมิใช่ผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่ก็ได้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าทั่วไปที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากภัยทางทะเล ป.เจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้สำรวจความเสียหายและทำรายงานโดยให้กรรมการผู้จัดการของบริษัทลงลายมือชื่อกำกับไว้ได้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายมาเป็นเวลา 11 ปีแล้ว ศาลรับฟังรายงานดังกล่าวประกอบคำเบิกความของ ป.เพื่อคำนวณความเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292-1293/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือ, ฟ้องเคลือบคลุม, การแก้ไขฟ้อง, บัญชีทรัพย์มรดก, ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้ง
การส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจพิสูจน์ลายมือนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญคนใดของกองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ได้ผลประการใดและทำรายงานความเห็นส่งมายังศาลแล้ว ก็เป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ และไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราวคราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปีใด เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564วรรค 1 ซึ่งนำมาใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730 ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญนั้นได้ โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292-1293/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจลายมือเอกสาร, การแก้ไขฟ้อง, บัญชีทรัพย์มรดก, และการรับฟังรายงานผู้เชี่ยวชาญ
การส่งเอกสารไปให้ผู้เชียวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจพิสูจน์ลายมือนั้น เมื่อผู้เชียวชาญคนใดของกองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ได้ผลประการใดและทำรายงานความเห็นส่งมายังศาลแล้ว ก็เป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำและไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราว คราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปี เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรค 1 ซึ่งนำมารใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730 ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้น โดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชียวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชียวชาญนั้นได้ โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292-1293/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์เอกสาร, ฟ้องเคลือบคลุม, การแก้ไขฟ้อง, บัญชีทรัพย์มรดก, และการรับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
การส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจพิสูจน์ลายมือนั้น. เมื่อผู้เชี่ยวชาญคนใดของกองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ได้ผลประการใดและทำรายงานความเห็นส่งมายังศาลแล้ว ก็เป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน. ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่. เพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ.และไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม.
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง. ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราวคราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปีใด. เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ.
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้.
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564วรรค 1 ซึ่งนำมาใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730.ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว. หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่.
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว. ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญนั้นได้. โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์: เลือกใช้บทลงโทษเบากว่าเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คน สมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา ม.335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 294 (4) ไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ 535/2500)
แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2ประการคือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งประมวลกฎหมาย ม. 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญา ม.335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 (1) และ (11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์: การปรับบทลงโทษเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือว่าการลักของใช้ราชการเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คนสมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294(4) ไม่ได้(เทียบฎีกาที่ 535/2500) แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2 ประการ คือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 293(1) และ(11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานทีศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
of 3